ภาษาไทย
English

หลัง กินนมอิ่มแล้ว ลูกน้อยก็ทำการแหวะนมออกมา คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่เจออาการแบบนี้เข้าก็คงเป็นกังวลไม่น้อย ทั้งกลัวลูกน้อยจะกินไม่อิ่ม กลัวลูกจะน้ำหนักลดบ้าง น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์บ้าง และอีกต่างๆ นานาความกังวลตามประสาพ่อแม่มือใหม่กิ๊กนั่นแหละค่ะ

ทั้งที่จริงแล้วอาการแหวะนมในเด็กวัยเบบี๋นั้นเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป และส่วนใหญ่ก็ไม่มีอันตรายต่อลูกน้อย เพราะในช่วง 3 เดือน แรกของทารก เรียกได้ว่าเป็นช่วงของการปรับตัว ระบบต่างๆ ในร่างกายน้อยๆ นั้นยังทำงานได้ไม่เต็มที่ รวมทั้งหูรูดกระเพาะอาหารด้วย เมื่อได้รับนมเข้าไป หูรูดที่ยังไม่แข็งแรงพอก็อาจทำให้นมไหลกลับออกมาได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหูรูดนี้จะแข็งแรงเต็มที่เมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 1 ปีขึ้นไปแล้วค่ะ

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกแหวะนม

แม้ ว่าอาการแหวะนมในเด็กเล็กจะเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถป้องกันไม่ให้ลูกแหวะนมได้ในระดับหนึ่ง ด้วยวิธีต่างๆ ต่อไปนี้ค่ะ

  • ในการให้นมแต่ละครั้งควรใจเย็น ไม่ควรเร่งให้ลูกดูดนมเร็วๆ
  • ไม่ควรหยุดให้นมอย่างกะทันหัน และไม่ควรให้มีเสียงดังหรือแสงจ้ารวมถึงสิ่งต่างๆ ที่จะรบกวนลูกน้อย
  • ระหว่างที่ให้นมควรจับศีรษะของลูกให้ตั้งตรง
  • ระหว่างการให้นมคุณควรมีการหยุดพัก และอุ้มให้ลูกเรอประมาณ 2 ครั้ง คือให้ลูกกินนมครึ่งหนึ่งก่อนแล้วอุ้มลูกเรอ จากนั้นค่อยให้ลูกกินนมต่อจนอิ่มแล้วอุ้มให้ลูกเรออีกครั้ง วิธีนี้จะช่วยป้องกันการแหวะนมได้
  • หลัง จากให้นมแล้วควรอุ้มลูกให้อยู่ในท่านั่งก่อน และไม่ควรเล่นแรงๆ กับลูกหลังให้นมเสร็จ เช่น อุ้มเหวี่ยงไปมา หรืออุ้มจับลูกยกขึ้นสูง หรือจับลูกโยนสูงๆ เป็นต้น

แหวะนมแบบไหนไม่ปกติ

เจ้าตัวน้อยที่แหวะทุกครั้งหลังกินนมออกมาในปริมาณ 1 ช้อน โต๊ะ และอาจมีน้ำลายและเสมหะปนออกมาด้วย ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยจะเจ็บป่วยแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหากเจ้าตัวน้อยแหวะนมออกมา แต่ก็ยังอารมณ์ดี ไม่ร้องงอแง ดูดนมได้เป็นปกติ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวล แต่หากคุณพบว่าลูกแหวะนมออกมามาก หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นการอาเจียนมากกว่า และลูกน้อยก็ร้องโยเย ไม่สบายตัว เมื่อนั้นก็ถึงเวลาที่คุณควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ

นอก จากนี้การสะอึกก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยในเด็กเล็ก สาเหตุเนื่องจากการประสานงานของกล้ามเนื้อบริเวณกะบังลม การกลืน การหายใจยังพัฒนาไม่เต็มที่ แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง หากลูกน้อยสะอึกขณะให้นม ควรพักการดูดนมสักครู่แล้วจึงให้กินต่อ โดยทั่วไปอาการสะอึกมักจะหายไปเองและไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด


เรียบเรียงโดย : นิตยสารบันทึกคุณแม่

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : www.pregnancysquare.com

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29