ภาษาไทย
English

 

เมื่อลูกโดนไฟดูด


      จากการวิจัยพบว่าเด็กที่เสี่ยงต่อการโดนไฟดูดคือกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบและกลุ่มเด็กโต อายุ 10-14 ปี โดยในเด็กเล็กมักจะเกิดกรณีหยิบเอาของที่ตกตามพื้น เช่น กิ๊บติดผม ไม้แคะหู ตะปู หรือนิ้วมือแหย่เข้าไปในรูปลั๊กไฟ หรือคว้าสายไฟ ไปเคี้ยวเล่นด้วยความมันเขี้ยว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรป้องกันไว้ ดังนี้

            1. หาซื้อตัวครอบปลั๊กไฟหรือแผ่นเสียบรูปลั๊กไฟมาปิดรูปลั๊กที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านหรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่งั้นก็หาเทปพันสายไฟมาแปะปิดไว้ก่อนก็ได้

            2. ควรติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากพื้นราว 1.5 เมตร เพื่อกันการเล่นของเด็กเล็ก

            3. สำรวจอยู่เสมอว่ามีสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใดห้อยโตงเตงลงมาจากโต๊ะ หรือสายไฟที่เลื้อยอยู่ตามพื้น พร้อมที่จะให้เด็กเล็กกระชากสายไฟเล่นจนเกิดไฟช็อต หรือดึงสายไฟจนเครื่องใช้ไฟฟ้าตกลงมาใส่ตัว ดังนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่ใช้งานเสร็จแล้วจะต้องม้วนเก็บให้ดี

            4. การเสียบปลั๊กที่ไม่แน่น ไม่มิด เสี่ยงต่อการที่เจ้าตัวเล็กจะไปจับเล่นเข้าจนไฟดูด

      ส่วนเด็กโต (10-14 ปี) นั้น สาเหตุจากการโดนไฟดูด โดยมากเกิดจากการทำกิจกรรมหรือการเรียนที่เกี่ยวกับไฟฟ้า การซ่อมสร้างอุปกรณ์ไฟฟ้า การเดินสายไฟ แต่ที่พบเห็นกันอยู่เสมอก็คือ การดึง เกี่ยว หรือพยายามสอยว่าว หรือลูกโป่งที่ไปติดหรือเชือกไปพันอยู่บนสายไฟแรงสูง และสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างพวกเรา ควรหมั่นตรวจตราสิ่งแวดล้อมในบ้าน เพื่อความปลอดภัยจากไฟช็อตหรือไฟรั่วดังต่อไปนี้

            1. อย่าปล่อยให้สายไฟแม้แต่เส้นเดียวเปื่อยหรือชำรุด หากเจอเข้าต้องเปลี่ยนทันที

            2. หากบ้านใดใช้ปลั๊ก 3 ตา ควรไว้บนที่สูงเพื่อกันเด็กเล็กจับต้องหรือเล่นซนจนได้รับอันตราย

            3. เครื่องตัดไฟอัตโนมัติเป็นความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน แต่ก็อย่าลืมเปิดอ่านคู่มือการใช้ก่อนนะ

หากโดนไฟดูดจะทำอย่างไร

      กระแสไฟเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไหลผ่านจากทางเข้าลงสู่พื้นดิน หากรุนแรงจะเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นประสาทชาไปทั่วร่าง หมดสติ และหยุดหายใจกระแสไฟจะทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ ความร้อนจากไฟฟ้าจะทำลายอวัยวะภายใน และเสียชีวิตเพราะหัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลัน

      หากเด็กที่โดนไฟดูดยังติดอยู่กับสายไฟให้ถอดปลั๊กและยกคัทเอาท์ลง เพื่อเป็นการตัดแหล่งจ่ายไฟออกก่อน หรืออีกวิธีก็คือ ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า (ฉนวนไฟฟ้า) เช่น ไม้แห้ง เชือก สายยางพลาสติกแห้งๆหรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยหรือเกี่ยวสายไฟให้หลุดจากตัวคนโดนไฟดูด หากจะให้ดีคนที่ช่วยควรจะยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน เช่น ยืนอยู่บนกองหนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือรองเท้ายาง การใส่ถุงมือยาง การใช้หนังสือพิมพ์หนาหรือผ้าแห้งหนาห่อมือ แล้วผลักเด็กที่โดนไฟดูดให้หลุดออกมา

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : momypedia

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29