ภาษาไทย
English

อาการแปลก ๆ ของเบบี๋ที่คุณอาจไม่เข้าใจ



        ขึ้นชื่อว่าทารก บางครั้งก็มีอาการแปลกๆ ที่คุณไม่เคยเห็นหรือไม่เคยรู้จัก ยิ่งถ้าคุณเป็นครอบครัวเดี๋ยวเลี้ยงลูกคนเดียวด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ระบุอาการได้ลำบาก ทั้งยังเป็นห่วงกลัวว่าลูกจะเป็นเพิ่มหรืออาการหนักกว่าเก่า ใจเย็นๆ ก่อนค่ะ แล้วค่อย ๆ ดูรายละเอียดของอาการต่าง ๆ กัน

ตัวเหลือง ทารกที่ได้รับนมแม่มีโอกาสเกิดตัวเหลืองได้ 2 ลักษณะด้วยกัน

        1. Breastfeeding Jaundice - มักพบใน 2-4 วันหลังคลอด เกิดจากการได้รับนมแม่ไม่พอ หรือร่วมกับการให้ดูดน้ำเปล่าหรือน้ำกลูโคส การป้องกันภาวะนี้คือ ให้ทารกอยู่กับมารดาตลอดเวลา ให้ดูดนมแม่บ่อย (มากกว่า 8 มื้อ / วัน) งดน้ำเปล่าหรือน้ำกลูโคส

        2. Breastmilk Jaundice - จะเริ่มปรากฏในช่วงปลายสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 2-3 หลังคลอด เมื่อให้นมแม่ ต่อไปจะค่อยๆ ลดความเหลืองลงจนปกติในช่วงอายุ 3-12 สัปดาห์ ทั้งนี้ กลไกลการเกิด Breastmilk Jaundice ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน อย่างไรก็ตามทารกตัวเหลืองทุกรายควรปรึกษากุมารแพทย์ และนำมาติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด

        ผิวหนังลอก ขบวนการสร้าง Keratin ของผิวหนังจะมีการลอกภายหลังอายุ 24-28 ชั่วโมง มักพบที่มือและเท้า ผิวหนังที่ลอก จะหายไปในเวลา 2-3 วัน โดยไม่ต้องให้การรักษาใดๆ แต่ในทารกเกิดก่อนกำหนดผิวหนังจะลอกช้ากว่า โดยจะปรากฏเมื่อ 2-3 สัปดาห์หลังคลอด

        ผิวหนังลายเหมือนร่างแห (Cutis marmorata) ผิวหนังมีลวดลายเหมือนร่างแห หรือลายหินอ่อน เพราะเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดฝอย พบในทารกแรกเกิดที่ปกติ หรือในทารกที่อาศัยในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเย็นหรือร้อนเกินไป

        ภาวะเขียวที่มือและเท้า ภาวะเขียวที่มือและที่เท้า พบได้บ่อยในทารก 24-48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เกิดจากการไหลเวียนเลือดที่มือและเท้าช้าลง หรืออยู่ในที่เย็นและหรือมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ

        ตุ่มขาว ภาวะนี้มีลักษณะเป็นตุ่มนูนจากพื้นผิว มีสีนวลหรือสีขาวขนาด 1 มิลลิเมตร พบที่แก้ม ดั้งจมูกหน้าผาก เพดานแข็ง เหงือก หัวนม และปลายอวัยวะเพศของทารกเพศชาย ภาวะนี้พบร้อยละ 40 ของทารกที่ครบกำหนด มักแตกและหายไปเมื่ออายุ 2-3 สัปดาห์ หรืออยู่ได้นานถึง 2 เดือน

        ริมฝีปากพองและลอกเป็นแผ่น เม็ดพองชนิดนี้มีชื่อว่า Sucking blister ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร อาจพบตลอดขอบริมฝีปากบนหรือล่าง หรือพบเฉพาะที่กลางริมฝีปากบน เม็ดนี้จะแห้งและลอกหลุดเป็นแผ่นแล้วขึ้นมาใหม่ เกิดขึ้นได้จากลูกสามารถดูดนมได้แรง

        ผื่นแดง (Erythema toxicum) ผื่นแดงที่ตรงกลางมีตุ่มนูนขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ซึ่งมีสีนวลหรือซีด บางครั้งอาจเป็นตุ่มน้ำหรือตุ่มหนอง อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกระจาย พบได้ตามผิวหนังทั่วไป ภาวะนี้พบร้อยละ 50-70 ของทารกครบกำหนด อาจพบหลังคลอดทันที พบบ่อยที่สุดอายุ 24-48 ชั่วโมง และอาจพบได้จนกว่าทารกมีอายุ 1-2 สัปดาห์ ในทารกบางรายอาจพบได้จนถึงอายุ 3 สัปดาห์

        นมเป็นเต้า สามารถพบได้ทั้งเพศหญิงและชาย บางครั้งอาจมีน้ำนมด้วย ภาวะนี้จะปรากฏจนอยู่หลายสัปดาห์ ในทารกเพศหญิงอาจปรากฏจนถึงขวบปีแรก ภาวะนี้เป็นลักษณะเฉพาะของทารกครบกำหนด ที่อาจเป็นผลของฮอร์โมนที่ผ่านรกมาสู่ทารก แพทย์แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบีบเค้น เพราะอาจทำให้เต้านมอักเสบได้

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : mothersdigest

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29