ภาษาไทย
English

ทำตามกิจวัตรประจำวันของเด็กแรกเกิด


ความต้องการของทารกแรกเกิด 

        การกินและนอนเป็นสองสิ่งที่สำคัญต่อลูกน้อยแรกเกิด และมักจะเกิดขึ้นตามลำดับนี้ ในฐานะคุณแม่มือใหม่ คุณจะใช้เวลาเกือบทั้งหมดตลอดช่วง 1-2 สัปดาห์แรกเพื่อพยายามปรับเรื่องการกินและนอนให้ลงตัว รวมถึงการหาคำตอบว่าลูกต้องการสิ่งใด และเมื่อคุณแม่คุ้นเคยกับชีวิตใหม่ที่มีสมาชิกตัวน้อยแล้ว ก็จะพบว่า การสร้างกิจวัตรประจำวันทั้งในเรื่องการกินและนอนจะทำให้ชีวิตต่อจากนี้อีกหลายๆ เดือนง่ายขึ้น 

กิจวัตรในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 

       ในช่วงเวลา 1-2 วันแรก คุณจะใช้เวลาให้นมลูกเสียเป็นส่วนใหญ่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นขั้นตอนการเรียนรู้สำหรับทุกคน และจะเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ วันพร้อมๆ กับการเจริญเติบโตของลูก คุณแม่ควรให้ลูกน้อยเป็นคนกำหนดเวลาการกินนม อย่างไรก็ตาม มีวิธีส่งเสริมการกินนมให้เป็นกิจวัตรอีกหลายวิธีที่เหมาะกับทั้งคุณแม่และลูก

 

  • วันที่ 1–ลูกน้อยอาจดูกระตือรือร้นที่จะกินนมหลังคลอดออกมาแล้ว 1-2 ชั่วโมง แล้วไม่ค่อยสนใจมากนักหลังจากนั้น แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องกระตุ้นให้เขาดูดนมหลายๆ ครั้งตลอดทั้งวัน
  • วันที่ 2 –ขอแนะนำให้ลูกดูดนมทุกๆ 1.5 ถึง 3 ชั่วโมง โดยดูดนม 8 ถึง 12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง แต่ไม่ต้องกังวลใจหากไม่สามารถทำตามข้างต้นได้
  • วันที่ 3-4–น้ำนมของคุณจะเริ่ม "ไหล" และคุณอาจรู้สึกว่าลูกพึงพอใจมากขึ้นหลังดูดนม นอกจากนี้ คุณอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างบริเวณผ้าอ้อมของลูกน้อยด้วย
  • วันที่ 5–28 – ตอนนี้ทั้งคุณและลูกน้อยจะพบว่าการดูดนมง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ขอแนะนำให้ลูกดูดนม 8 ถึง 12 ครั้งตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 10 - 30 นาทีจากเต้านมข้างแรกจะมีประโยชน์มาก

 

       ลองทำแผนภูมิด้วยการลงเวลาทุกชั่วโมงตั้งแต่เที่ยงคืนถึงห้าทุ่มไว้ในแนวดิ่งด้านหนึ่ง แล้วใส่วันในรอบหนึ่งสัปดาห์ในแนวขวางด้านบน ทำเครื่องหมายที่แผนภูมิตรงตำแหน่งวันเวลาที่คุณให้ลูกกินนม และคุณสามารถเพิ่มคอลัมน์สำหรับวันที่ลูกฉี่หรืออึด้วย หลังจากนั้นไม่นาน คุณจะเห็นรูปแบบพฤติกรรมการกินที่ช่วยให้คุณเข้าใจกิจวัตรของลูก


 ความต้องการนอนหลับพักผ่อนของเด็กแรกเกิด

       สำหรับผู้ใหญ่หลายคน การนอนหลับคือเวลาประมวลผลข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับทราบมาตลอดทั้งวัน ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่ลูกจะนอนเป็นช่วงๆ ตลอดทั้งวัน ภาวะเดี๋ยวหลับเดี๋ยวตื่นอาจทำให้ทั้งคุณและลูกน้อยเครียดได้ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะมีหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้เรื่องนี้ง่ายขึ้น

 

  • ลูกน้อยต้องการเวลานอนสั้นๆ ตลอดทั้งวัน แต่ไม่ควรปล่อยให้นอนหลับเกิน 2 ชั่วโมง และถ้าคุณใช้เวลาที่มีค่าระหว่างที่ลูกน้อยนอนหลับให้เกิดประโยชน์ที่สุด คุณก็จะได้นอนพักด้วย
  • คุณแม่สามารถกล่อมลูกน้อยให้หลับได้ในเวลาที่เหมาะสมหากเฝ้าสังเกตและจดจำสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเหน็ดเหนื่อยของลูกได้
  • เมื่อถึงเวลาเข้านอนตอนกลางคืน ให้ปิดผ้าม่าน และให้มีเสียงรบกวนน้อยที่สุดทั่วบริเวณบ้าน พยายามลดเสียงตื่นเต้นและเล่นให้น้อยที่สุด และเปิดไฟหัวเตียงแทนไฟกลางห้อง การมีกิจวัตรยามเข้านอน เช่นอาบน้ำแล้วเล่านิทานให้ฟัง จะช่วยให้ลูกน้อยจดจำว่าสิ้นสุดเวลากลางวันแล้ว และกำลังเริ่มต้นช่วงเวลากลางคืน
ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : dumex

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29