ภาษาไทย
English

เตรียมเต้าให้พร้อมก่อนให้นมลูก

เรามาเอาใจช่วยคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเต็มที่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กันคะ ก่อนอื่นต้องมองย้อนกลับไปว่าตอนนี้ทั้งร่างกาย และจิตใจพร้อมแล้วแค่ไหน คุณแม่บางท่านอาจจะกำลังย่างเข้าสู่ช่วงของการคลอด อาจทำให้มีความกังวลในเรื่องคลอดมากเป็นพิเศษกว่าเรื่องใด แต่หลังจากคลอดลูกแล้วไม่กี่ชั่วโมง ก็มีเรื่องหนึ่งที่ต้องให้คิดตามมานั่นคือเรื่องของน้ำนม ซึ่งถือเป็นอาหารมือแรกและมื้อพิเศษของลูกรักวัยแรกคลอด จึงมีคุณแม่หลายๆ คนที่ตั้งใจเต็มที่ว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง สุดท้ายก็ไม่สามารถให้ได้ เพราะน้ำนมไม่มี หรือมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก ทำให้คุณแม่มือถึงกับถอดใจกับการให้นมลูกกันเลยทีเดียว 

แต่ก็มีคุณแม่มือใหม่ไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จสามารถให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวจนอายุ 6 เดือน และยังให้ต่อได้อีกจนลูกอายุ 2 ขวบแล้วก็มี ตรงนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย การที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จนั้น  ส่วนหนึ่งคงต้องมาจากการเตรียมความพร้อมใส่ใจที่จะหาข้อมูลเบื้องต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของนมแม่ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งสำคัญของความสำเร็จในการให้นมลูกเพราะระหว่างการให้นมลูกคุณแม่อาจพบอุปสรรคเกิดขึ้นบ้าง เช่น หัวนมเป็นไตแข็ง หัวนมอักเสบ หัวนมแตก ฯลฯ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ล้วนนำมาซึ่งการหมดใจในการให้นมลูกได้ ซึ่งก็ต้องอาศัยคนในครอบครัวที่จะต้องคอยเป็นแรงกำลังใจ คอยสนับสนุนให้คุณแม่สามารถให้น้ำนมกับลูกต่อไปได้ ช่วงเวลาแบบนี้ไม่ควรปล่อยให้คุณแม่รู้สึกว่าอยู่ตัวคนเดียว เพราะความรู้สึกอ่อนไหวนี้อาจทำให้คุณแม่หมดแรง และหมดใจกับการให้นมลูกได้

เตรียมเต้า เตรียมพร้อมก่อนคลอดลูก

วิธี การดูแลเต้านมของคุณแม่ก่อนคลอดสามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยการใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งจับหัวนม ถ้าสามารถจับได้แสดงว่าปกติ แต่ถ้าเป็นหัวนมบอดเวลาจับหัวนมจะบุ๋มเข้าไปมากกว่าปกติ ซึ่งถ้าตรวจพบก่อนก็จะแก้ไขได้ ด้วยการนวดดึงหัวนม เป็นการนวดให้หัวนมคลายออกมา หรือที่เรียกว่า Hoffman’s Maneuver  โดย การวางปลายนิ้วโป้งลงที่ขอบลานนม ในทิศทางตรงกันข้ามกดลงแล้วยืดผิวหนังออกทางด้านข้างทั้งสองข้างพร้อมกัน แล้วปล่อยให้หัวนมคลายตัว ทำซ้ำสัก 4-5 ครั้ง หลังอาบน้ำเช้าเย็น

การ ตรวจสอบเต้านมในกรณีที่หัวนมอาจจะสั้น หรือบอดนั้น ให้คุณแม่ตรวจสอบด้วยการถอดเสื้อชั้นในออก แล้วกระตุ้นด้วยการสัมผัส หลังจากสัมผัสแล้วหัวนมจะต้องยื่นออกมา แต่หากกระตุ้นสัมผัสแล้วปรากฏว่าหัวนมไม่ยื่นออกมา ก็อาจเป็นไปได้ว่าหัวนมมีปัญหา คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอ หรือศูนย์ข้อมูลคลินิกนมแม่เพื่อเตรียมแก้ไขก่อนที่จะให้นมลูกหลังจากคลอด ออกมาแล้ว ข้อควรระวังคือคุณแม่ไม่ควรกระตุ้นหัวนมมากเกินหรือแรงไป เพราะจะมีผลทำให้ไปกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก ซึ่งอาจนำสู่การคลอดก่อนกำหนดได้

 

เรียบเรียงโดย : นิตยสารบันทึกคุณแม่

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : www.pregnancysquare.com

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29