ภาษาไทย
English

ลูกตัวร้อน คุณแม่มือใหม่ดูแลได้ ลดไข้ ให้ถูกวิธี

 

อากาศบ้านเราปัจจุบันนี้ เอาแน่นอนไม่ได้ในแต่ละวัน ยิ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาวอย่างเดือนพฤศจิกายน พอเริ่มจะมีลมเย็นสัมผัสผิว ตกบ่ายแดดร้อนเปรี้ยงแบบไม่ทันตั้งตัว ผู้ใหญ่อย่างเรายังมีอาการฟืดฟาดคัดจมูก ส่วนเจ้าตัวเล็กก็ยังต้องระวังอีกหลายโรค ที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวแบบนี้  โดยเฉพาะเมื่อลูกเป็นหวัด มีน้ำมูกติดต่อกันนานหลายวัน  อาการส่วนใหญ่ที่มักจะตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ คือการมีไข้ จะด้วยสาเหตุที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อในช่องทางเดินหายใจ หรือมีอาการไข้จากโรคบางอย่าง คุณแม่ควรที่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับอาการตัวร้อนของลูกให้ถูกวิธี อย่ารอจนลูกไข้ขึ้นสูงแล้วจึงพาไปพบแพทย์ เพราะอาจทำให้ลูกมีอาการชักจากไข้สูงได้

เมื่อไหร่ที่ควรให้ยาลดไข้

คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกตั้งแต่เริ่มป่วย ในทุกระยะอย่างใกล้ชิด เมื่อวัดอุณหภูมิความร้อนในร่างกายได้ 38 องศา ถือว่าเป้นไข้ และอาจมีอุณภูมิสูงมากขึ้นจนเกิดอันตรายได้ คือ อุณหภูมิ 41.1 องศาขึ้นไป ดังนั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่ เห็นลูกมีอาการซึมมากกว่าปกติ รู้สึกงอแง หงุดหงิด หรือไม่สบายตัว จนนอนไม่หลับ ตื่นมาร้องกลางดึก ควรให้ยาลดไข้ที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างแพร่หลาย คือยาพาราเซตามอล ซึ่งมีความปลอดภัยถ้าให้ในขนาดที่เหมาะสม (ประมาณ 10-15 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อครั้ง)ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 5 ครั้งต่อวัน เป็นต้น

เช็ดตัวลดไข้ หลังจากรับประทานยา ลดไข้ 1 ชม.

การเช็ดตัว ลดไข้ ก็เป็นอีกวิธีที่มีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย เห็นผลในการรักษาอาการ และช่วยป้องกันอาการชักจากไข้ได้ ช่วยให้ลูกสบายตัวขึ้น  ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้ใช้ยา ลดไข้ รับประทานก่อน หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง เมื่อยาลดไข้ออกฤทธิ์ แล้วลูกยังมีอาการไม่สบายตัวจึงทำการเช็ดตัว เพราะการเช็ดตัวโดยไข้ยังขึ้นสูงอยู่นั้น จะทำให้เกิดอาการหนาวสั่น เพราะสมองยังสั่งให้ไข้ขึ้นเพื่อต่อต้านกับการพยายามที่จะทำให้ร่างกายเย็นลงเพียงชั่วคราว พอหยุดเช็ดร่างกายจะกลับร้อนขึ้นไปอีกและขณะเช็ดตัวลูก ควรปิดเครื่องปรับอากาศ ใช้น้ำที่อุณหภูมิห้อง เป็นน้ำอุ่นเล็กน้อยหรือน้ำธรรมดา และไม่ควรเช็ดนานเกินไปจนลูกหนาว เมื่อไหร่ที่เช็ดตัวแล้วลูกมีอาการสั่น นั่นหมายถึงสมองสั่งให้ร่างกายปรับอุณหภูมิให้ไข้ขึ้น ให้หยุดเช็ดไว้ก่อน เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวและไข้จะกลับสูงขึ้นกว่าเดิม
ตารางตัวอย่างการใช้ยาพาราเซตามอล 160 มิลลิกรัม ต่อ มิลลิลิตร

 ให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวและช่วงวัยต่างๆของลูกน้อย

อายุ น้ำหนักตัว(กก.) ปริมาณ(มิลลิลิตร)
2-3 ปี 11.0-15.9 5.0
4-5 ปี 16.0 – 21.9 7.5
6-8 ปี 22.0 – 26.9 10.0
9-10 ปี 27.0 – 31. 9 12.5
11 ปี 32.0 – 43.9 15.0

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : www.pregnancysquare.com

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29