ภาษาไทย
English


อย่าถึงคราว...พ่อแม่รังแกฉัน



       ไม่ว่ายุคไหนคำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” ก็ยังมีให้เห็นและได้ยินอยู่เสมอๆ เราเข้าใจค่ะว่าลูกใครๆ ก็รักแต่ว่าคุณพ่อคุณแม่รักลูกถูกทางหรือเปล่านั่นอีกเรื่องหนึ่ง และแน่ใจไหมว่าสิ่งที่คุณเลือกและมอบให้ลูกนั้น เป็นสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ ไม่แน่นะคะ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ ‘หวังดี’ แต่สำหรับลูกมันอาจจะกลายเป็น ‘หวังร้าย’ ก็ได้ค่ะ เราลองมาดูพฤติกรรมที่เข้าข่ายพ่อแม่รังแกฉันที่คุณพ่อคุณแม่ควรพึงระวัง และวิธีฝึกฝนลูกน้อยให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ค่ะ

พ่อแม่รังแกหนูอีกแล้ว

       ตามใจลูกมากเกินไปหรือให้ทุกสิ่งที่ลูกต้องการเพื่อแลกกับการหยุดร้องไห้ จะทำให้ลูกติดเป็นนิสัย และคิดว่า “ถ้าฉันร้องไห้ ฉันก็จะได้ของนั้น” สุดท้ายจะทำให้ลูกติดนิสัยใจร้อน รอคอยไม่เป็น และเอาแต่ใจตัวเองในที่สุด โดยเฉพาะเมื่อลูกทำผิด เช่น รังแกเพื่อน แอบหยิบของโดยไม่บอก แล้วพ่อแม่ไม่ยอมลงโทษ หรือไม่ว่ากล่าวตักเตือนลูกให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด ลูกก็จะคิดว่าเขาไม่ได้ทำผิดอะไร และยังทำอีกจนติดเป็นนิสัยไปจนโต

       ในมุมกลับกันหากคุณผิดสัญญาที่ให้ไว้กับลูก เช่น หากเขาทานข้าวหมดจาน เขาก็จะได้กินไอศกรีมด้วย คุณควรทำตามสัญญานั้น เพราะสำหรับเด็กๆ แล้วเขาจะจริงจังและยึดมั่นในคำสัญญามาก หากเขาไม่ได้ในสิ่งที่คุณสัญญาไว้ เขาก็จะจำฝังใจและจะเป็นฝ่ายผิดสัญญาในครั้งต่อไปเอง

หนทางแก้ไข

       หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากทำให้ลูกมีนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ติดตัวเขาจนโตเป็นผู้ใหญ่แล้วล่ะก็ ควรฝึกนิสัยต่อไปนี้ให้ลูกตั้งแต่ยังเล็กๆ อยู่ เพราะเข้าทำนองไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยากค่ะ อันดับแรกฝึกให้ลูกเข้าใจอารมณ์ของตนเองและหัดยับยั้งอารมณ์ เช่น เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่ตรงกับสิ่งที่เขาคาดหวังไว้ เขาจะแสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์ออกมาทันที เช่น โกรธ น้อยใจ กลุ้มใจ หรือหงุดหงิด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกเข้าใจโดยเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก อย่างเช่น เมื่อคุณมีปัญหากับเพื่อนบ้านเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คุณควรควบคุมอารมณ์ตนเองและเมื่อสงบแล้วก็เล่าให้ลูกฟัง ลูกจะอินกับสภาพแวดล้อมและเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องโดยมีคุณเป็นแบบอย่างด้วย

       อันดับที่สองควรฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ และหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นต้องฝึกให้ลูกยอมรับความจริง เช่น ในการเล่นเป็นกลุ่ม ย่อมต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะ หรือสอนให้เขารู้ว่ามีสมหวังก็ย่อมมีความผิดหวัง ไม่มีใครได้ในสิ่งที่ต้องการทั้งหมด เพื่อให้ลูกยอมรับข้อผิดพลาด ความผิดหวังหรือเสียใจ เมื่อลูกยอมรับความจริงได้ เขาก็จะสามารถแก้ปัญหานั้นได้ด้วยตัวเองเวลาเจ้าหนูร้องไห้อาละวาดหรือเอาแต่ใจเพราะอยากได้สิ่งของที่ตนเองต้องการ ให้คุณอธิบายด้วยเหตุผลจนกว่าลูกจะหยุดไปเอง ห้ามใจอ่อนเด็ดขาด และไม่ควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมแบบนี้ด้วย แต่คอยให้กำลังใจและความสนใจเมื่อลูกพยายามควบคุมตนเอง ชมเชยหรือให้รางวัลแม้เพียงเล็กน้อยก็ตามค่ะ

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : momypedia

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29