ภาษาไทย
English

 

อยากรู้ไหม? ว่าลูกน้อยคิดอะไรอยู่



       ทุกครั้งที่เห็นลูกยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ หรือทำท่าทางต่างๆ ที่บ่งบอกว่ามีพัฒนาการก้าวล้ำมาอีกขั้นแล้ว พ่อแม่ต่างก็ปลาบปลื้มใจ มองหน้ากันราวกับว่ามีปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น แต่ความรู้สึกที่ตามมาคือความสงสัยปนแปลกใจว่า สิ่งที่ลูกแสดงออกมาเมื่อเมื่อกี้นั้น มันหมายความว่าอะไรกันนะ แล้ว... เบบี๋น้อยๆ ของเราคิดอะไรอยู่... อยากรู้จริงๆ

แม่อยากรู้ว่าหนูคิดอะไร...

       นานมาแล้วนักจิตวิทยาได้อธิบายถึงกลไกการทำงานของสมองทารกว่า มีสัญญาณประสาทค่อนข้างสับสน แต่ทุกวันนี้ผู้เชี่ยวชาญกลับบอกว่าทารกนั้นมีการคิดอยู่ตลอดเวลา และพยายามที่จะเรียนรู้โลกรอบตัวตั้งแต่ที่คลอดออกมาจากครรภ์ของมารดา ดังนั้นทารกก็เหมือนนักทดลองตัวน้อย คอยสังเกตสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว โดยทารกน้อยมักจะคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองและแสดงปฏิกิริยาตอบกลับเช่นกัน

ท่าทางแบบนี้ เบบี๋คิดอะไรอยู่

1. ลูกหัวเราะ

       พ่อแม่เมื่อเห็นลูกหัวเราะก็มักจะคิดว่า ลูกกำลังสนุกสนานกับ การหยอกล้อหรือฟังสิ่งที่คุณพูดอยู่ แม้ทารกจะสามารถรับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้ แต่ก็เป็นเพียงแค่การรับรู้อารมณ์ที่แตกต่างออกไปได้เท่านั้น ทารกยังไม่สามารถที่จะรับรู้ต่อเรื่องตลกหรือคำพูดขบขันที่คุยกับเขาได้ นั่นหมายความว่าลูกอาจจะดูสีหน้าท่าทางคุณว่ากำลังเล่าเรื่องสนุก แต่ไม่รู้ว่าเรื่องที่เล่านั้นคืออะไร


2. ลูกสบตา

       พ่อแม่บางคนมองตาลูกเพื่อถ่ายทอดความรักที่มีให้ลูกได้รับรู้ และเมื่อลูกสบตากลับ พ่อแม่มักจะคิดว่าลูกรับรู้ได้และเข้าใจถึงการสบตา ความจริงแล้วทารกน้อยยังไม่มีประสบการณ์การรับรู้ที่เหมือนกับผู้ใหญ่ การสบตาบอกรักเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากสำหรับทารก หากอยากแสดงความรักควรแสดงออกด้วยกรกระทำ เช่น กอด ให้นม และอื่นๆ ลูกจะรับรู้ได้เร็วกว่า


3. ลูกอ้าปากกว้างทำเสียงสนุก

       นี่เป็นเพียงพัฒนาการด้านการส่งเสียงของทารกเท่านั้น เสียงที่ดูเหมือนสนุกสนานอาจจะไม่ได้หมายความว่าทารกกำลังสนุก อารมณ์ดี

4. ลูกหันตามเมื่อเรียกชื่อ

       พ่อแม่บางคนมักสงสัยหรือคิดไปเองเลยว่าลูกน้อยวัยแบเบาะของตัวเองนั้นจำชื่อตัวเองได้ และส่งสัญญาตอบกลับด้วยการหันมาตามเสียงคนที่เรียก ซึ่งในความเป็นจริงนั้นทารกจะยังไม่สามารถรู้ได้ว่าชื่อตัวเองคืออะไร การหันหน้าขานรับชื่อที่เรียกนั้นเป็นแค่เพียงการหันตามเสียงที่ได้ยิน


เวลานอนลูกจะฝันหวานหรือฝันร้ายบ้างหรือเปล่า

       ความฝันมักเกิดขึ้นกับใครก็ได้ในเวลาที่นอนหลับ ผู้ใหญ่บางคนฝันเป็นเรื่องราวทั้งร้ายและดี แม้จะมีเวลานอนหลับในแต่ละวันเพียงช่วงสั้นๆ ก็ตาม สำหรับเบบี๋ส่วนใหญ่แล้วใช้เวลาในการนอนเกือบตลอดทั้งวัน นักวิจัยที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการฝันให้ข้อมูลบนสมมติฐานที่น่าสนใจว่า ทารกเวลานอนหลับจะเคลิ้มฝันและมีการพัฒนาสมองไปด้วยในเวลาที่นอนหลับ


Good-to-Know

       ดร.โจนส์ อี. เดอร์แรนท์ นักจิตวิทยาคลินิกเด็ก เจ้าของหนังสือ Positive Discipline: What It Is And How To Do It ได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือว่า เด็กทารกในระยะแรกๆ นั้นจะยังไม่เข้าใจความรู้สึกของตนเองและก็ไม่รู้ด้วยว่าพ่อแม่รู้สึกอย่างไร เมื่อร้องไห้ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้พ่อแม่โมโห และยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไมต้องร้อง สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับพ่อแม่ที่จะทำได้ในระยะนี้คือการตอบสนองความต้องการของลูก และพยายามเดาให้ดีที่สุดว่าลูกต้องการอะไร

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : mothersdigest

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29