ภาษาไทย
English



พัฒนาการทารกน้อยเดือนที่ 1



       ช่วงแรกนี้เป็นการทำความรู้จักกัน หลังจากที่ได้แต่ส่งใจถึงกันมานานตลอด 9 เดือน คุณแม่ต้องปรับตัว พยายามอ่านใจลูกว่าเขาเป็นอย่างไร ต้องการอะไร และลูกเองก็กำลังเรียนรู้ที่จะตอบสนองกับคุณเช่นกัน
การร้องไห้ เป็นวิธีเดียวที่ลูกน้อยพยายามสื่อสารกับคุณแม่ เพื่อที่จะบอกว่าเขากำลังต้องการอะไรบางอย่างจากคุณ อาจเป็นการป้อนนม การเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือการอุ้มเพื่อให้เขารู้สึกอบอุ่นสบายใจ ดีกว่าการที่จะปล่อยให้ลูกร้องไปจนกว่าจะเหนื่อยจนหยุดร้องไปเอง

       สะดือของเจ้าหนูจะเริ่มแห้ง และหลุดไปเองในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ไม่ควรโรยแป้งลงในหลุมสะดือ แต่ควรใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือเบตาดีนทำความสะอาดสะดือที่กำลังจะหลุด เช็ดลงไปให้ถึงฐานสะดือโดยรอบ วันละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหลุด การทำดังนี้จะไม่เกิดการเจ็บแสบและจะป้องกันการติดเชื้อได้ดี

       ขับถ่ายบ่อย ส่วนใหญ่เด็กจะตื่นมากินนมและถ่ายค่อนข้างบ่อย เขายังไม่รู้จักเวลาว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน และมักจะถ่ายหลังการกินนมแทบทุกมื้อ เนื่องจากเป็นรีเฟลกซ์ Reflex (การทำงานของระบบประสาทที่ไม่ต้องคอยคำสั่งจากสมอง) ของลำไส้จะเตรียมที่ไว้สำหรับรับนมที่เพิ่งทานเข้าไปในกระเพาะ

       รีเฟลกซ์ในทารกแรกเกิด ที่สังเกตกันได้ง่ายๆ คือ โมโรรีเฟลกซ์ (MORO Reflex) เมื่อเด็กร้องหรือตกใจจะดูเหมือนทำท่าผวา มือเท้าสั่น และรีเฟลกซ์การเข้าหาหัวนมและดูดนม (Rooting and sucking reflexes) เด็กบางคนจะยังมีรีเฟลกซ์การจาม (sneezing reflex) อยู่บ้าง และบางครั้งจะเห็นลูกนอนอยู่เฉยๆ แต่ก็ยิ้มอย่างน่ารักได้ที่ผู้ใหญ่เรียกว่า “ยิ้มกับแม่ซื้อ” ซึ่งก็เป็นรีเฟลกซ์อีกอย่างหนึ่งนั่นเอง

       ลืมตามองมากขึ้น เด็กทารกจะมองเห็นได้ดีในช่วงระยะประมาณ 1 ฟุตซึ่งก็คือ ระยะที่ลูกจะเห็นหน้าคุณแม่ในขณะป้อนนมนั่นเอง แต่การแปลผลภาพนั้นยังต้องใช้การทำงานของสมองส่วนต่างๆ อีกหลายระดับ แต่ลูกจะมีสัญชาตญาณรู้ว่าคุณคือคุณแม่ จากประสาทสัมผัสพิเศษอื่นๆ อีกคือ การได้กลิ่นกาย เสียง การสัมผัส เป็นต้น

พัฒนาการเดือนที่ 1


    ร่างกาย

       • ได้ยินชัดเจน

       • ผงกศีรษะ หันหน้าซ้ายขวาขณะนอนหงาย

       • 6 วันหลังคลอด มองเห็นแสงสว่างไม่เกิน 45 วัตต์ และสีขาวดำชัดในระยะ 10-13 นิ้ว

       • กำมือแน่น

    อารมณ์และภาษา

       • แสดงความพอใจด้วยการยิ้ม และไม่พอใจด้วยการร้องไห้

    สังคม

       • จ้องหน้าสบตาแม่ หยุดฟังเสียงแล้วหันหาเสียงของแม่

       • มองหน้าผงกศีรษะ

    กระตุ้นผ่านการเล่น

       • พูดคุยด้วย ร้องเพลง หรือเปิดเพลงเบาๆ ให้ฟัง ถ้าพูดด้วยเสียงสูง เด็กจะทำตาโตเพราะเด็กจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงสูง

       • โอบกอด สัมผัสตัวลูก หวีผม นวดตัวให้ลูกอย่างนุ่มนวล แต่มั่นคงและสม่ำเสมอ

       • สบตาลูก ทำโมบายหรือหาภาพใบหน้าคนสีขาว-ดำ มาแขวนไว้ในระยะไม่เกิน 13 นิ้วให้ลูกดู

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : mothersdigest

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29