ภาษาไทย
English

สอนให้ลูก ‘รู้จัก’ และ ‘ยอมรับ’ ความผิดพลาด

          ในโลกใบนี้ล้วนมีอยู่ 2 ด้านเสมอ คือมีทั้งด้านถูกและผิด มีด้านดีและด้านร้าย หรือมีผู้ชนะย่อมต้องมีผู้แพ้ สิ่งเหล่านี้ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ล้วนเคยรู้จัก และยอมรับได้ รวมทั้งหาวิธีแก้ไขมาแล้ว แต่สำหรับเด็กเล็กๆ นั้น เขายังไม่เคยรู้จักความผิดพลาดว่าเป็นอย่างไร เมื่อเกิดความผิดพลาดแล้วเขาต้องทำอย่างไรต่อไป หรือมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง ดังนั้นต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่แล้วล่ะค่ะ ที่ต้องสั่งสอนให้ลูกรู้จัก ยอมรับ และแก้ไขความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของเขาเองในวันอนาคต  


ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองเพิ่มขึ้น

         การอาบน้ำ ถูสบู่ ใส่กางเกง ติดกระดุม รูดซิป ผูกเชือกรองเท้า หรือการตักข้าวกินเอง ฯลฯ หรือจะมอบหมายงานบ้านต่างๆ ให้ลูกได้มีส่วนช่วยทำก็ได้ เช่น ช่วยจัดโต๊ะ ถูพื้น ซักผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น ที่สำคัญลดการช่วยเหลือ และให้ลูกช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด เพราะการที่ลูกมีโอกาสช่วยเหลือตัวเองมากเท่าไร ก็จะยิ่งส่งเสริมทำให้ลูกมีโอกาสทำผิดพลาด เนื่องจากการขาดประสบการณ์และไม่คาดคิดมาก่อน ทำให้ลูกรู้จักความผิดพลาด และมีโอกาสเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหา หรือความผิดพลาดนั้นได้คล่อง เพราะในอนาคตลูกต้องอยู่รวมกับคนอื่นๆ อีกหลายคน จึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่าย การสอนให้ลูกยอมรับความผิดพลาดทั้งของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งการหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองได้ จะช่วยทำให้ลูกอยู่รอดได้ในสังคม และเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นได้ง่ายขึ้น


การแก้ไขความผิดพลาด

         มีหลากหลายกลยุทธ์วิธีที่ลูกสามารถที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขความผิดพลาดของตัวเอง เช่น การกล่าวขอโทษ การชดใช้ให้ หรือการทำสิ่งนั้นใหม่อีกครั้งให้ถูกต้อง ถ้าลูกสามารถที่จะแก้ไขความผิดพลาดที่เขาได้เป็นผู้กระทำลงไปเอง คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกได้จดจำถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตัวเขาเอง ซึ่งจะกลายเป็นภาระที่ลูกจะต้องติดตามชดใช้หรือแก้ไขด้วยตัวเขาเอง


สถานการณ์ตัวอย่าง

         น้องโจ้หยิบเอาของเล่นของเพื่อนกลับมาบ้านด้วย คุณแม่ต้องพูดกับน้องโจ้ว่า ให้น้องโจ้เอาของที่หยิบมาไปคืนเจ้าของเป็นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด “แน่นอนว่ามันน่าอาย แต่พอคืนแล้วลูกจะรู้สึกดีขึ้น” และถ้าจำเป็นจริงๆ ให้คุณแม่ไปเป็นเพื่อนคืนของด้วย แต่น้องโจ้ต้องเป็นผู้คืนของนั้นเองพร้อมกับกล่าวคำขอโทษด้วยตัวเองนะคะ หรือในกรณีที่น้องโจ้ทำของนั้นพัง คุณแม่ก็ต้องให้เขาจ่ายค่าเสียหายนั้นด้วยเงินในกระปุกออมสินนั้นเอง หากไม่มีเงินเก็บคุณแม่ก็ต้องตกลงกับน้องโจ้ให้เข้าใจเสียก่อนว่า เขาต้องทำงานบ้านเพื่อแลกกับเงินที่นำไปชดใช้ค่าเสียหายของของเล่นที่เขาแอบหยิบมา


ข้อดี

         ช่วยให้ลูกรู้ถึงผลจากการกระทำของเขา ช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่า “ไม่คุ้มเลยที่จะทำผิด” เป็นการฝึกลูกให้มีทักษะในการแก้ไขปัญหา และสอนให้ลูกรู้สึกผิด และต้องการแก้ไขความผิดด้วยตัวเอง  

ข้อเสีย

         ในการเกิดความผิดพลาดครั้งแรกอาจกลายเป็นภาระที่เกินตัว ถ้าหากความผิดนั้นได้สร้างความเสียหายที่มากเกินกว่าที่ลูกจะชดเชยให้ หรือแก้ไขได้จริงอยู่ที่การนำเอาของไปคืนแก่เจ้าของ อาจสร้างความอับอายให้กับทั้งตัวเด็กเองและคุณพ่อคุณแม่ แต่ก็ดีกว่าที่จะปล่อยไว้จนลูกติดเป็นนิสัยจนโต  


         การกระทำนี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจความหมายของการกระทำของตัวเองที่ไปสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น รวมทั้งรู้จักเอ่ยปากขอโทษเมื่อได้ทำความผิดทุกครั้ง ซึ่งครั้งแรกๆ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องช่วยบอกให้ลูกกล่าวคำขอโทษ แต่ไม่ควรคาดหวังสูงเกินไปว่าลูกจะทำตามที่คุณพูด ปล่อยให้ประสบการณ์เป็นตัวสอนลูกเองว่า คำพูดที่แสดงถึงความใส่ใจในความรู้สึกของผู้อื่นจะส่งผลดีต่อตัวเขาเองอย่างไร

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : sanook

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29