ภาษาไทย
English

การร้องที่แยกแยะได้ 

 

 
     คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านอาจจะเคยปวดหัว ว่าลูกน้อยร้องไห้งอแงเพราะอะไร ลักษณะการร้องไห้จะต่างกันมั้ยในสาเหตุที่ต่างกัน วันนี้ MOMchannel มีวิธีการแยกแยะเสียงร้องไห้ของลูก เพื่อเราจะได้รู้ถึงสาเหตุของการร้องมาฝากค่ะ

     ภายใน 8-10 สัปดาห์ พ่อแม่จะแยกแยะเสียงร้องที่แตกต่างกันของลูกได้ง่ายขึ้น ความแตกต่างที่เราเห็นในตอนต้นจะเริ่มชัดเจนมากขึ้นในตอนนี้ เวลาในการนอก การตื่น และการกินนมจะเริ่มคาดเดาได้มากขึ้น ครอบครัวจะเริ่มสามารถจัดตารางประจำวันได้ดีขึ้น และสิ่งนี้ก็จะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจความหมายในการร้องแต่ละครั้งของลูกได้ง่ายขึ้น เช่น นานเกินไปแล้วตั้งแต่กินนมมื้อที่แล้วหรือยังไม่ได้นอน, ลูกตื่นมานานเกินไปแล้วและยังไม่ได้เล่นเลย ตอนนี้คุณแม่และคุณพ่อจะรู้สึกว่ารู้จักลูกมากขึ้นและรู้ว่าลูกร้องเพราะเหตุใด

   - ความเบื่อ จะเป็นการร้องโยเยเหมือนคราง ศรีษะจะหันหากำมือหรือจุกนมหลอก เขาจะหยุดเมื่อคุณชะโงกหน้าเข้าไปมอง หรือแม้แต่เมื่อคุณส่งเสียงพูดกับเขาโดยไม่เห็นหน้า

   - ความอ่อนเพลีย เกิดขึ้นในช่วงตอนท้ายของวัน หรือหลังจากผ่านความตื่นเต้นหรือสิ่งเร้าหรือการกระตุ้นมามากมายตลอดทั้งวัน การร้องจะเหมือนการร้องแบบโคลิก ร้องเป็นจังหวะในตอนช่วงท้ายวัน ควรปลอบประโลม ทำให้เขาสงบลงและต้องไม่กระตุ้นใดๆ เขาอีก

   - ความหิว มักมาพร้อมกับการสอดส่ายค้นหาสิ่งที่เขาจะสามารถดูดได้ เมื่อคุณป้อนนมเขา ก็จะเห็นได้ชัดว่าเขาหิวนั่นเอง สังเกตดูว่าเขาตั้งใจกับการดูดอย่างจริงจังเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นนมแม่หรือนมขวดก็ตาม หรือดูได้ที่เปลือกตาของเขาที่จะหรี่ลงด้วยความพึงพอใจอย่างมีความสุข

   - ความเจ็บปวด เห็นความแตกต่างได้เด่นชัดในวัยนี้ คุณจะเคยชินกับการร้องแบบอื่น แต่การร้องด้วยความเจ็บปวดนี้จะทำให้คุณตกใจด้วยเสียงที่แหลมและถี่ หน้าของเด็กจะขมวดเหมือนปม เขาจะมองคุณด้วยสายตาที่ทิ่มแทงหัวใจคุณ ซึ่งแบบที่อ้อนวอนให้ช่วยเขาด้วย เขาอาจงอขาและแขนขึ้นจนตัวกลม เหมือนกับการปกป้องตัวเอง หรือเขาอาจงอตัวด้วยความเจ็บปวด หัวใจของคุณจะเต้นเร็ว ปอดของคุณดูเหมือนจะขาดอากาศ คุณจะรู้สึกสิ้นหวัง การร้องของลูกดูเหมือนจะไม่จบสิ้น และอาจดูเหมือนแผ่วลงเพราะความเหน็ดเหนื่อย แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มีสิ่งใดแต่ก็ดูเหมือนไม่มีสิ่งใดทำให้เขาหายเจ็บเองได้ ถ้าลองจับโน่นจับนี่ (อย่างนุ่มนวล) ไปทั่วร่างกายลูกแล้วก็ยังไม่พบสาเหตุก็ถึงเวลาที่จะต้องพาไปพบแพทย์แล้วล่ะค่ะ

     จนถึงช่วงวัยนี้คุณและลูกต่างก็ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันไปมากมาย ลองมองย้อนกลับไปดูช่วงวันแรกๆ ที่คุณยังไม่รู้อะไรมาก การร้องของลูกดูจะเหมือนไปหมดทุกครั้ง หรือจะเป็นการทดสอบ คุณก็ไม่แน่ใจอีกเหมือนกัน คุณลองทุกอย่างแล้ว แต่ก็ดูเหมือนจะแย่ลง ลูกกลับร้องหนักขึ้น แทนที่จะสงบลง

     ในตอนนี้จากการเรียนรู้และประสบการณ์ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาคุณรู้สึกว่าคุณรู้ความแตกต่างในเสียงร้องของลูก การร้องยังคงเป็นการเรียกร้องหรือความต้องการบางอย่าง แต่ปฏิกริยาของคุณจะเป็นสิ่งที่คุณควบคุมได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน อาจจะอุ้มเขาขึ้นมากอด อาจจะนั่งและโยกเขา หรืออาจจะหาจุกนมปลอมให้เขาดูด อาจร้องเพลงหรือพูดคุยกับเขา คุณจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ของการเป็นพ่อแม่ ขอให้สนุกไปกับมันค่ะ สนุกไปกับการเรียนรู้ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา แม้แต่การร้อไห้แบบ โคลิก เองก็อาจมีวัตถุประสงค์บางอย่างและในตอนนี้ คุณก็ทราบแล้วและแยกแยะมันออกจากการร้องแบบเจ็บปวดได้แล้ว
ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : momchannel

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29