ภาษาไทย
English

10 ประโยชน์ต้องรู้ ที่คุณกับเบบี๋ ควรนอนใกล้กัน

 

 

 
     ใครอยากให้ลูกแยกห้องนอนแบบฝรั่งฟังทางนี้ เพราะเรามีเหตุผลดีๆ (มีผลการวิจัยสนับสนุน) ที่จะต้องทำให้หลายๆ คนเปลี่ยนใจอย่างแน่นอน

1. ถ้านอนห้องเดียวกัน คุณก็ให้นมแม่ได้สะดวก เพราะไม่ต้องเดินไปหาลูกที่นอนอยู่อีกห้อง และถ้านอนเตียงเดียวกัน คุณก็นอนให้นมได้โดยไม่จำเป็นต้องตื่นแบบเต็มตา คุณจะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ คุณจึงอยากให้นม และลูกก็ได้ประโยชน์จากการกินนมแม่ไปเรื่อยๆ หรือจนกว่าลูกจะหย่านม

2. ดร. เจมส์ แม็คเคนนา นักวิจัยด้านการนอนหลับ ระบุว่าการนอนห้องเดียวกันช่วยเพิ่มโอกาสที่พ่อหรือแม่จะช่่วยชีวิตลูกเอาไว้ได้ ไม่ว่าสิ่งที่อาจทำให้ลูกเสียชีวิตจะเป็นสภาพทางสรีรวิทยาหรืออุบัติเหตุก็ตาม โดยย้ำว่า ถ้านอนห้องเดียวกัน โอกาสที่พ่อหรือแม่จะได้ยินเสียงลูกในยามวิกฤตและตอบสนองได้ทันก็จะสูงมาก
     ดร. แม็คเคนนายังเสริมด้วยว่า เนื่องจากความถี่และระยะเวลาในการกินนมแม่อาจมีผลต่อการป้องกันภาวะหยุดหายใจกะทันหันในทารก หรือ SIDS การนอนห้องเดียวกันซึ่งเอื้อให้ทารกมีโอกาสได้กินนมแม่มากขึ้นจึงอาจช่วยให้ทารกบางคนรอดจากภาวะนี้

3. ในช่วงเดือนแรกๆ ที่ลืมตาดูโลก ทารกอาจหายใจไม่สม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อคุณนอนใกล้ลูก การหายใจของคุณน่าจะช่วยกระตุ้นเตือนให้ลูกหายใจเข้า-ออก เป็นจังหวะสม่ำเสมอ จึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหยุดหายใจกะทันหันในทารก
     กรณีที่จู่ๆ ลูกเกิดหายใจติดขัด แม่ที่นอนอยู่ใกล้ๆ ลูก โดยเฉพาะลูกที่กินนมแม่ มักมีวงจรการนอนหลับและการฝันที่สอดคล้องกันทำให้แม่ประสาทไว เป็นพิเศษ จึงตื่นมาช่วยลูกที่กำลังมีปัญหาเรื่องการหายใจได้ทัน แต่ถ้าให้ลูกแยกห้องนอน แม่ก็อาจจะเข้าไปช่วยชีวิตลูกไม่ทัน

4. ถ้ามีผู้ใหญ่อยู่ใกล้ๆ อันตรายในยามค่ำคืนที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กจะลดน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตในกองเพลิง การถูกกระทำทางเพศโดยญาติที่มาเยี่ยม การถูกลักพาตัวจากบนเตียง การถูกสัตว์เลี้ยงทำร้าย การสำลักอาเจียนจนหายใจไม่ออก และการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งน่าจะป้องกันได้ ถ้าพ่อหรือแม่คอยช่วยอยู่ใกล้ๆ 

5. พ่อแม่มักคิดว่า การขาดอากาศหายใจคืออันตรายอย่างหนึ่งของการนอนเตียงเดียวกันกับลูก ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด
     จริงๆ แล้วอันตรายจากการขาดอากาศหายใจ กรณีที่พ่อแม่นอนใกล้ลูกนั้นจะเกิดขึ้นใน 2 กรณีเท่านั้น คือ การให้ทารกที่อายุไม่กี่เดือนนอนบนเตียงน้ำเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เขาจะยันตัวเองขึ้นมาไม่ได้ และการที่พ่อหรือแม่เมาเหล้าหรือมึนยาจนดูแลลูกไม่ได้ แต่ถ้าเป็นการขาดอากาศหายใจเพราะสาเหตุอื่นๆ (อย่างโบที่ใช้ผูกชุดนอนรัดคอ สำลักอาเจียนขณะหลับและโรคหืดกำเริบ การนอนอยู่ใกล้ๆ ก็ทำให้พ่อหรือแม่มีโอกาสตื่นมาช่วยลูกมากกว่าการนอนคนละห้อง

6. เรามักเข้าใจผิดว่า การนอนห้องเดียวกันจะทำให้เด็กถูกกระทำทางเพศโดยพ่อหรือแม่ได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม
     ถ้าพ่อแม่สร้างความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้งกับลูก โดยคอยอยู่ใกล้ๆ และตอบสนองความต้องการของลูกทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน โอกาสที่พ่อหรือแม่จะแสดงพฤติกรรมในทางที่ไม่ถูกต้องกับลูกที่ตัวเองรักและเฝ้าทะนุถนอมมาอย่างดีจะลดลงเยอะเลย และถึงจะให้ลูกนอนแยกห้องก็คงป้องกันพ่อหรือแม่ที่ตั้งใจจะล่วงละเมิดทางเพศไม่ได้อยู่ดี และอาจช่วยปิดบังอีกฝ่ายได้ง่ายขึ้นด้วยซ้ำ

7. ถ้านอนห้องเดียวกัน สมาชิกทุกคนในบ้านก็จะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในกรณีที่ให้ลูกกินนมแม่ จึงช่วยป้องกันการกระทำทารุณต่อเด็กด้วย เพราะลูกไม่ต้องทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น หรือร้องไห้เพื่อให้แม่เข้ามาหา ส่วนแม่ก็ให้นมแบบครึ่งหลับครึ่งตื่นได้ ทุกคนจึงตื่นนอนอย่างสดชื่น พ่อหรือแม่ที่อดนอนอาจรู้สึกไม่พอใจที่ลูกร้องกวนจนแทบไม่ได้นอน จึงมีโอกาสที่จะกระทำทารุณต่อลูกมากกว่าพ่อหรือแม่ที่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอและได้เห็นลูกนอนอย่างเป็นสุขตลอดเยอะเลย

8. การร้องไห้กวนเพื่อให้พ่อแม่คอยดูแลถือเป็นธรรมชาติของทารก แต่ถ้าทารกร้องไห้นานๆ สมาชิกทุกคนในบ้านจะเครียด และยิ่งคุณสนองความต้องการของลูกได้เร็วเท่าไร ตัวลูกเองและทุกคนในบ้านก็ยิ่งได้พักผ่อนและมีพลังสำหรับวันต่อไปมากขึ้นเท่านั้น แม่จึงควรนอนใกล้ๆ ลูก จะได้ใช้การตอบสนองตามสัญชาตญาณของแม่ลูกอ่อน (ซึ่งรู้ตัวตั้งแต่ได้ยินเสียงร้องไห้แอะแรกของลูก) ให้เป็นประโยชน์ ลูกก้ไม่ต้องร้องไห้อย่างหนักจนทำให้ตัวเองและทุกคนในบ้านเครียด

9. ถ้าได้นอนใกล้ๆ กันในช่วงกลางคืน พี่น้องมักจะรักและไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น การชิงดีชิงเด่นในช่วงกลางวันจึงบรรเทาเบาบางลง เพราะการอยู่ด้วยกันทั้งกลางวันและกลางคืนช่วยเพิ่มโอกาสที่พี่้น้องจะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและยาวนาน และถึงลูกจะไม่ได้เจอสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านในช่วงกลางวัน (พ่อแม่ไปทำงาน ส่วนพี่ๆ ก็ไปโรงเรียน) คุณชดเชยให้เขาได้บางส่วนและช่วยสร้างความผูกพันทางอารมณ์ได้ด้วยการใช้เวลาในช่วงกลางคืนร่วมกัน และจัดสรรให้ช่วงเช้าตรู่เป็นเวลาของครอบครัว ส่วนการนอนห้องเดียวกันก็ให้ประโยชน์แบบเดียวกันในช่วงกลางคืน

10. การศึกษาซึ่งมีผู้ใหญ่ที่อยู่ในอาการโคม่า เป็นกลุ่มตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า ถ้ามีคนอยู่ในห้องด้วยจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความดันโลหิตในระดับที่ดีขึ้น ฉะนั้นถ้ามีคนนอนอยู่ในห้องเดียวกัน ทารกและเด็กๆ น่าจะได้ประโยชน์แบบเดียวกัน
ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : momchannel

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29