ภาษาไทย
English

วัยเบบี๋...กี่เดซิเบล

 

 

 
     คุณพ่อคุณแม่รู้มั้ยคะ ว่าเสียงต่างๆ ที่ลูกได้ยินในแต่ละวัน ล้วนช่วยพัฒนาภาษาและฝึกทักษะการฟังให้กับลูก แต่บางเสียงที่ดังเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อลูกได้เช่นกันค่ะ

หนูฟังได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง

     อย่างที่ทราบกันดีว่าลูกสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ จึงมีการส่งเสริมให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุย เล่านิทาน และเปิดเพลงให้ลูกฟังอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงของคุณพ่อคุณแม่และได้ฝึกพัฒนาการด้านการฟังไปพร้อมๆ กันค่ะ

     เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาสู่โลกภายนอก พัฒนาการด้านการฟังจึงได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยสังเกตได้จากปฏิกริยาของเด็กแรกเกิดที่ตอยสนองต่อเสียงโดยการสะดุ้งและเหยียดแขนขา จนเมื่ออายุ 6 เดือน ลูกน้อยจะหันหาเสียงในระยะ 1 เมตรได้ แล้วพัฒนามากขึ้นตามอายุ จนแยกแยะความแตกต่างของเสียงในภาษาแม่ได้ และสามารถจดจำคำศัพท์ต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับเขาได้มากขึ้น

     ในวัยทารกความสามารถในการพูดยังไม่พัฒนา จึงต้องใช้การฟัง การมองและการสัมผัสเพื่อเป็นประตูสู่การเรียนรู้ ดังนั้นประสาทการรับรู้ด้านการฟังของเด็กจึงมีความไวต่อการได้ยินเสียงต่างๆ ซึ่งถ้าลูกได้ยินเสียงที่ดังเกินไป คงไม่ช่วยส่งเสริมด้านการฟังแน่นอนค่ะ


เสียงดังเกินไป หนูไม่ชอบ

     เสียงที่เหมาะสมสำหรับวัยเบบี๋คือเสียงที่ดังไม่เกิน 75-80 เดซิเบล เทียบเท่ากับเสียงที่เราได้ยินในชีวิตประจำวันนี่แหละค่ะ แต่เสียงที่เด็กๆ ไม่ควรได้ยิน คือ เสียงเครื่องจักรทำงาน เสียงเพลงที่ดังมากเกินไป เสียงพลุ เป็นต้น

     หากเด็กๆ ได้ยินเสียงดังเกินไปเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานๆ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อประสาทหูแล้ว ยังส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางอารมณ์ ที่จะทำให้เด็กๆ รู้สึกหงุดหงิด อยู่ในอารมณ์สงบได้ยาก งอแง และอาจส่งผลให้เขารู้สึกไม่ชอบเสียงเหล่านั้นไปจนโตได้

     ซึ่งถ้าลูกเป็นเด็กขี้หงุดหงิด อารมณ์ไม่มั่นคง ก็จะส่งผลกระทบให้ไม่อยากเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำให้เสียโอกาสในการได้ฝึกใช้ทักษะในการเรียนรู้ช่วงขวบปีแรกค่ะ

3 เสียงนี้ เบบี๋ช้อบชอบ

     หากลูกวัยเบบี๋ได้ยินเสียงที่เหมาะสม ไม่ดังเกินไป จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการฟังและการเรียนรู้ให้กับลูกได้เป็นอย่างดี โดยเสียงที่แนะนำให้ลูกน้อยฟังคือ


1. เสียงคุณพ่อและคุณแม่

     ทั้งคุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูก กล่อมนอน เล่านิทาน หรือชวนให้ลูกรู้จักคำศัพท์ต่างๆ จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นใจที่มีคนคอยดูแลข้างๆ และทำให้เกิดการจำศัพท์จากสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับเขาค่ะ


2. เสียงเพลงและดนตรี

     เสียงเพลงที่มีท่วงทำนองที่สม่ำเสมอ และเปิดไม่ดังจนเกินไป จะทำให้เด็กๆ รู้สึกผ่อนคลาย สงบ และเพลิดเพลิน ซึ่งถ้าเด็กมีอารมณ์ที่สงบ ก็จะช่วยให้สมองพร้อมต่อการเรียนรู้


3. ของเล่นมีเสียง

     เช่น ของเล่นกรุ๊งกริ๊ง หรือของเล่นที่มีเสียงสัตว์ จะทำให้ลูกสนุกกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ควรเล่นกับลูกพร้อมกับบอกลูกด้วยว่า นี่คือเสียงของอะไร

     เลือกให้ลูกวัยเบบี๋ได้ฟังเสียงที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ถือเป็นการส่งเสริมให้ลูกน้อยได้ฝึกพัฒนาการด้านการฟังและด้านภาษาอย่างถูกต้องค่ะ

เดซิเบล                         เทียบเท่า
   40                      เสียงฝนตก
   60                      เสียงพูด
   85                      เสียงจราจรบนท้องถนน 
   90                      เสียงไดร์เป่าผม
  105                     เสียงคอนเสริ์ตวงร็อค
  110                     เสียงเสื่อยไม้
  115                     เสียงดังที่สุดใน Ipod
  120                     เสียงเจาะถนน
  140                     เสียงปืนหรือเสียงพลุ
ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : momchannel

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29