ภาษาไทย
English

อาการอันตราย 5 อย่างในเด็กที่ควรรีบพาไปโรงพยาบาล

 

 


     อาการน้ำมูกไหล ปวดท้อง มีผื่นขึ้น มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นในเด็กแทบจะทุกคน แต่หากมีอาการที่รุนแรงบางอย่างที่จะนำไปสู่อันตราย เช่น ในตอนกลางดึก ลูกมีไข้สูงมาก คอแข็ง ก้มศีรษะไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรตัดสินใจทำอย่างไร ควรพาลูกไปโรงพยาบาลแผนกฉุกเฉินในตอนกลางดึก หรือควรโทร.ไปปรึกษาแพทย์กลางดึก หรือควรรอให้ถึงเวลาเช้าก่อนดี
       

       หากลูกมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนปกติ คุณพ่อคุณแม่อาจโทรศัพท์ไปปรึกษาที่โรงพยาบาลว่าควรทำอย่างไรดี จากสถิติของโรงพยาบาลเด็กในรัฐโคโรลาโด พบว่า จาก 590 สายที่โทร.เข้ามาขอคำปรึกษา 20% ถูกส่งตัวเข้าแผนกฉุกเฉิน 30% มาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในตอนเช้า และอีกครึ่งหนึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน แต่คำแนะนำที่ฉลาด คือ กันไว้ดีกว่าแก้ เราควรไว้ใจสัญชาตญาณของเรา การพาลูกเข้าโรงพยาบาลแผนกฉุกเฉินเป็นเรื่องธรรมดา และหากไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ยังดีกว่าที่เราจะต้องเสียใจไปตลอดชีวิต
       
       อาการที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นอาการที่เราไม่ควรมองข้าม และควรไปพบแพทย์ทันที หรือเข้าแผนกฉุกเฉิน อาการอันตรายหลายอย่างในเด็กทารกจะไม่เหมือนกับเด็กโต ดังนั้น ควรศึกษาหาข้อมูลและรายละเอียดอย่างใกล้ชิด และถามคำถามเพื่อให้หายสงสัยและให้ได้ความกระจ่างจากผู้เชี่ยวชาญ
       
       1.อาการไข้สูงในเด็กโตกว่า 1 ขวบ 
       
       หากลูกมีอาการตัวร้อน หน้าแดง ทางโรงพยาบาลมักจะให้ความรู้ผู้ปกครองว่าไม่ให้ดูที่ปรอทวัดไข้อย่างเดียว แต่ควรดูที่อาการของเด็กด้วย ไข้เป็นอาการป้องกันอย่างหนึ่งของร่างกายเมื่อได้รับเชื้อโรค หากเด็กๆ มีไข้ นั่นหมายความว่า ระบบภูมิคุ้มกันทำงาน โดยมีอาการไข้ประมาณ 100.4 F หรือประมาณ 38 C ในกรณีเด็กวัยคลานอาจวัดปรอทที่ใต้รักแร้ และเพิ่มเข้าไปอีก 1 F หรือ 1 C เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่อาจให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ในกรณีที่เด็กมีอายุมากกว่า 6 เดือน เพื่อลดไข้ แต่ต้องแน่ใจเสียก่อน และควรปิดจุกให้เรียบร้อยและพ้นมือเด็ก การที่เด็กมีอาการไข้ลดลง ไม่ได้หมายความว่า ร่างกายได้ต่อสู้กับเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้นั้น จากการศึกษาในนิตยสารทางการแพทย์ของเด็ก พบว่า ผู้ปกครองมักให้ลูกทานยาลดไข้เมื่อลูกมีไข้ต่ำกว่า 101 F หรือ 38.3 C ซึ่งความจริงแล้วแพทย์เด็กจะไม่แนะนำ หากลูกมีอาการแจ่มใส ทานอาหารได้ ดื่มน้ำได้ ไม่จำเป็นต้องพามาเข้าแผนกฉุกเฉิน อาการไข้สูงบางครั้งไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน อาการไข้ส่วนใหญ่สามารถรอจนถึงวันพรุ่งนี้ได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเด็ก กล่าวว่า ควรพาเด็กมาหาหมอหากเด็กอายุ 2 ขวบ มีอาการไข้สูง 104 F หรือ 40 C ไม่แจ่มใส และมีไข้ติดต่อกันทุก 4 ชั่วโมงหรือข้ามวัน เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ควรได้รับการพบแพทย์หากมีไข้ภายใน 48 ชั่วโมง
       
       2.ปวดศีรษะมาก 
       
       เราจะบอกได้อย่างไร ว่า ลูกมีอาการปวดหัวที่รุนแรงจนต้องรีบไปพบแพทย์และรับยาทันทีหรือไม่อาการปวดหัวที่ไม่เป็นมากมักใช้วิธีทานยาแก้ปวด และพักผ่อน แต่หากลูกมีอาการปวดหัวเป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือปวดมากขึ้น ทานอาหารไม่ได้ หรือมีอาการซึมไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนเคย ให้โทร.หาแพทย์ทันที อาการปวดศีรษะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและทันท่วงที หากเด็กไม่สามารถทำกิจกรรมที่เหมือนเดิมได้ และคิดถึงความเจ็บปวดตลอดเวลา การปวดหัวโดยปกติเกิดจากการตึงที่กล้ามเนื้อบริเวณกะโหลกศีรษะ มากกว่าการเชื่อมโยงกับสมอง แต่อาจมีอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทเช่นอาการสับสน เบลอ มองเห็นไม่ชัด มีปัญหาในการเดิน อาการเหล่านี้ต้องรับนำส่งโรงพยาบาลทันที อาการปวดศีรษะ ที่มีไข้ อาเจียน คอแข็งเป็นอาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะเด็กอาจได้รับการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
       
       3.มีผื่นขึ้นมาก 
       
       ผื่นที่ขึ้นที่แขน หรือที่เท้าของเด็กโดยปกติแล้วมักเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากเกิดขึ้นทั่วตัว ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ หากคุณพ่อคุณแม่จับที่ตุ่มเม็ดผื่นที่สีแดง และกลายเป็นสีขาว และกลับเป็นสีแดงอีก มักไม่น่ากังวลใดๆ ผื่นจากไวรัส หรือผื่นแพ้ รวมทั้งลมพิษมักมีอาการอย่างนั้น หากตุ่มผื่นที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กสีแดง และมีสีม่วงบนผิวหนังและไม่เปลี่ยนสีเมื่อกด อาจต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาจเกิดจากอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โดยเฉพาะเมื่อมีอาการไข้ร่วมด้วย อาการผื่นนี้อาจปรากฏที่หน้าหลังจากอาการไอ หรืออาเจียนอย่างรุนแรงขึ้นมาระยะหนึ่งได้ ดังนั้น หากลูกมีผื่นขึ้นสีแดง และสีม่วงเกิดขึ้นทั่วตัวให้ไปพบแพทย์ดีที่สุด อาการผื่นที่ควรไปพบแพทย์โดยด่วน คือ อาการลมพิษและมีอาการบวมที่ริมฝีปาก หายใจไม่ออก ต้องไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจหมายถึงอันตรายถึงชีวิตซึ่งเกิดจากการแพ้บางอย่างได้
       
       4.ปวดท้องรุนแรง 
       
       เมื่อลูกมีอาการอาหารเป็นพิษ มีแก๊สในกระเพาะ หรือที่เรียกว่า ไข้หวัดใหญ่ลงกระเพาะ ซึ่งไม่มีวัคซีนในการรักษา ดูอาการจากความบ่อยของการอาเจียน หรือท้องเสีย การอาเจียนและท้องเสีย ทำให้เสียน้ำในร่างกาย อาการท้องเสียติดต่อกัน 8 ชั่วโมง และหากมีการอาเจียนร่วมด้วยแล้วอาจทำให้ร่างกายของเด็กเกิดภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งการขาดน้ำต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดจากแพทย์ เพราะอาจต้องให้น้ำเกลือแทน
       
       5.คอแข็ง 
       
       อาการคอแข็งอาจเกิดจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที คุณพ่อคุณแม่อาจวิตกกังวลหากเห็นลูก ยืนตัวตรงคอแข็งทื่อไม่ยอมหันซ้ายหรือขวา อาการคอแข็งโดยปกติอาจเกิดจากกล้ามเนื้อตึงหรืออักเสบ ดังนั้น ควรดูอาการหลายๆ อย่างไม่ใช่อาการเพียงอย่างเดียว เช่น หากอาการคอแข็งอย่างเดียวอาจเป็นเพราะนอนตกหมอน หากเป็นอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีอาการไข้และปวดศีรษะร่วมอยู่ด้วย ซึ่งอาการคอแข็งร่วมกับอาการไข้อาจเกิดจากทอนซิลอักเสบ การไปพบแพทย์จะช่วยคลายกังวลได้
       
       อาการเจ็บป่วยของลูก มักทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจ ทางที่ดีหากรู้สึกไม่สบายใจให้พาลูกไปหาแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด ขอส่งกำลังใจให้ทุกครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขตลอดช่วงเทศกาลคริสตมาสและปีใหม่นี้ค่ะ
ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : momchannel / ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29