ภาษาไทย
English

การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์

                การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อตรวจสอบรูปร่างต่างๆ ของลูกน้อยก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คุณแม่รู้สึกดีใจที่ได้ตั้งครรภ์ หากถ้าว่ายิ่งคุณแม่ได้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้รู้สึกว่าด้วยตัวเองกำลังมีลูกน้อยอยู่ข้างในท้องจริงๆ

 

ก.ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อย

                เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน กระดูกและกล้ามเนื้อของลูกน้อยก็จะเจริญเติบโต เริ่มมีการเหยียดแขนยืดขาเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในน้ำคร่ำ และในเวลาที่แขนขาของลูกไปกระทบกับผนังมดลูกของคุณแม่ ก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ไม่เพียงแต่ทำให้คุณแม่รู้สึกว่ามีเด็กอยู่ในท้องเท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อสารที่สำคัญจากลูกน้อยที่ต้องการจะบอกให้คุณแม่รับรู้ถึงสภาพร่างกายของเขาอีกด้วย

                ส่วนความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์คุณแม่ในครั้งแรกนั้นจะเกิดในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 18 -20 ของการตั้งครรภ์ แต่ช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลค่อนข้างมาก โดยจะแตกต่างกันไปตามความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง ปริมาณน้ำคร่ำและตำแหน่งของรก นอกจากนี้การตรวจอัลตราซาวด์ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกน้อยนั้นเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่ ดังนั้นถึงแม้คุณแม่จะไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ได้ในช่วงนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจไป

               ในความเป็นจริงแล้วลูกจะดิ้นอยู่ในท้องคุณแม่ตั้งแต่ก่อนที่คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของเขาในเสียอีก กล่าวคือพอคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 7 สัปดาห์ ระบบประสาทของลูกน้อยก็จะเจริญเติบโต ต่อมาพอผ่านไปประมาณ 12 สัปดาห์ลูกน้อยก็จะเริ่มอมนิ้วมือ และเมื่อผ่านไป 20 สัปดาห์ เขาก็จะเคลื่อนไหวไปมาอย่างเป็นอิสระภายในน้ำคร่ำซึ่งช่วงนี้เองที่คุณแม่เริ่มจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์อย่างจริงจัง

               โดยความรู้สึกของคุณแม่แต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปในตอนแรกคุณแม่จะรู้สึกเหมือนมีไฟฟ้าสถิตย์วิ่งผ่านไปมาในท้อง ต่อมาก็จะเปลี่ยนไปรู้สึกเหมือนมีอะไรดิ้นดุ๊กดิ๊ก จนกระทั่งรู้สึกว่ามีอะไรดิ้นตุ๊บตั๊บทำให้รู้ได้ว่า “เอ๊ะ ลูกน้อยอาจจะกำลังเตะท้องอยู่!” อีกทั้งอาจมีบางทีที่รู้สึกว่าลูกน้อยกำลังสะอึกอยู่ด้วย และเมื่อลูกน้อยมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงขึ้น คุณแม่อาจจะแค่เพียงใช้ตาดูที่ท้องก็จะสามารถรู้ได้เลยว่าลูกกำลังดิ้นอยู่แต่เมื่อถึงช่วงเวลาใกล้คลอด

               การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์จะสงบนิ่งลงเนื่องจากลูกน้อยจะเคลื่อนตัวต่ำลงมา แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแม่แต่ละคนด้วยซึ่งมีบางกรณีที่ลูกน้อยเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในท้องอยู่ตลอดจนถึงตอนที่ใกล้จะคลอดก็มี ดังนั้นจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป


ข.การสื่อสารกับลูกน้อยผ่านทางการเคลื่อนไหวของลูกน้อย

                การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ถือเป็นการสื่อสารครั้งแรกระหว่างแม่และลูกขณะอยู่ในท้อง อีกทั้งคุณแม่ยังสามารถตรวจสอบความแข็งแรงและพูดคุยกับลูกน้อยผ่านทางการเคลื่อนไหวของเขาในครรภ์ได้ด้วย ซึ่งลูกน้อยเองก็ชอบมากเช่นกันที่ได้พูดคุยและเล่นกับคุณแม่ ดังนั้นขอให้คุณแม่สนุกสนานไปกับช่วงเวลาอันมีค่าที่จะได้สื่อสารกับลูกน้อยในครรภ์กันเถอะ

                การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์เป็นหนทางหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบว่าเขายังเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่ แต่หากเกิดกรณีที่คุณแม่รู้สึกว่าเด็กไม่ดิ้นเลยทั้งวัน ทั้งๆ ที่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวมาโดยตลอดควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูความผิดปกติเพื่อความแน่ใจจะดีกว่า 

               ต่อมาเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 32 - 35 สัปดาห์ ลูกน้อยจะเริ่มนอนและตื่นเป็นเวลา หากคุณแม่ลองนับการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์โดยบันทึกเวลาที่ลูกน้อยใช้ในการเคลื่อนไหวในแต่ละวันได้ประมาณ 10 ครั้งทุกวัน ก็จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้นว่าลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหรือไม่

 

วิธีการนับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

            1) ให้คุณแม่ปฏิบัติทุกวัน หลังกินอาหารก่อนเข้านอน หรือตอนที่คุณแม่ผ่อนคลายอิริยาบท

            2) ให้นอนตะแคงลำตัวโดยให้ลำตัวด้านซ้ายราบไปกับพื้น

            3) จับเวลาว่าลูกน้อยใช้เวลากี่นาทีกว่าจะเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนจนครบ 10 ครั้ง

                แต่หากเกิดกรณีที่รู้สึกต่างไปจากปกติหรือไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์เลยทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้รู้สึกได้มาโดยตลอด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูความผิดปกติเพื่อความแน่ใจจะดีกว่า

 

ค.กิจกรรมพัฒนาการการเคลื่อนไหวของลูกน้อย

                เมื่อคุณแม่เริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์แล้ว ก็คงจะรู้สึกเป็นกังวลใจขึ้นมาเมื่อลูกน้อยหยุดการเคลื่อนไหวไปใช่ไหม แต่ลูกน้อยมีเวลาหลับและตื่นในระหว่างอยู่ในครรภ์คุณแม่ โดยลูกน้อยจะมีวงจรของช่วงหลับและตื่นอยู่ที่ประมาณ 60 นาที หากผ่านไป 1 ชั่วโมงแล้วยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์เลย ขอคุณแม่ให้ลองไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูความผิดปกติเพื่อความแน่ใจจะดีกว่า

                สำหรับการรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์นั้นเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเขาเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง เพราะช่วงที่คุณแม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ เป็นช่วงที่ระบบประสาทของลูกน้อยพัฒนาขึ้นมากพอสมควร โดยประสาทในการรับฟังเสียงก็เติบโตสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นเราลองมาสื่อสารกับทารกในหลายๆ รูปแบบ เช่น จับท้อง พูดคุยด้วย หรือฟังดนตรีกันดูเพราะคงไม่มีความสุขใดจะดีไปกว่าการได้ถ่ายทอดความรักจากคุณแม่ไปสู่ลูกน้อย และการได้รู้สึกถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน ซึ่งในการสื่อสารด้วยกิจกรรมต่างๆ กับลูกน้อย ก็มีหนึ่งกิจกรรมที่จะขอแนะนำให้คุณแม่ลองนำไปใช้กันดู คือ เกมส์เตะเลยลูก

                เกมส์เตะเลยลูกนั้น ในตอนแรกจะเริ่มด้วยแบบง่ายๆ ก่อน เมื่อลูกน้อยทำได้แล้วจึงจะก้าวไปสูงขั้นต่อไป ทั้งนี้อาจมีเด็กบางคนที่มีปฏิกิริยาตอบสนองเร็ว และมีเด็กบางคนที่ไม่ค่อยมีปฏิกิริยาตอบสนอง แต่ถึงแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองคุณแม่ก็ไม่ต้องร้อนใจไปเพราะการกระทำดังกล่าวจะส่งผ่านไปถึงลูกน้อยอย่างแน่นอน โดยคุณแม่สามารถผ่อนคลายและสนุกสนานได้กับลูกน้อยได้ทุกวัน อาจจะประมาณวันละ 2 - 3 ครั้งสำหรับวิธีการเล่นเกมส์เตะเลยลูกจะมี ดังนี้

            1) หากลูกน้อยเตะ ก็ให้คุณแม่ตบเคาะบริเวณนั้นพร้อมกับพูดว่า “เตะ” หลังจากนั้น 1-2 นาที ลูกน้อยก็จะเตะกลับมา และก็ขอให้ตบเคาะตรงที่เดียวกันอีกครั้งพร้อมกับพูดว่า “เตะ” ลูกน้อยก็จะเตะตรงบริเวณเดิมอีก

            2) พอทำตามข้อ 1 ไปหลายๆ วัน ต่อไปก็มาตบเคาะตรงบริเวณที่ต่างจากจุดที่ลูกน้อยเตะพร้อมกับพูดว่า “เตะ” พอทำเช่นนั้น ลูกน้อยก็จะไปเตะตรงที่คุณแม่ตบเคาะ พอทำเช่นนี้ ซ้ำไปซ้ำมาสัก 1 - 2 สัปดาห์ ลูกน้อยก็จะเตะตรงบริเวณใกล้ๆ กับที่คุณแม่ตบเคาะได้
            3) พอเริ่มเคยชินแล้ว เมื่อตบเคาะไป 2 ครั้ง พร้อมกับพูดว่า “เตะ เตะ” ลูกน้อยก็จะเตะตอบกลับมา 2 ครั้ง คือ ลูกน้อยจะเตะตอบกลับมาเท่ากับจำนวนครั้งที่คุณแม่ตบเคาะท้องนั่นเอง 

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : siamhealth

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29