ภาษาไทย
English

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดดี?

photo credit : i.telegraph.co.uk

วันนี้มีสอนตลอดเช้า แล้วเดี๋ยวมีสอนอีกทีตอนช่วงเย็นค่ะ เริ่มต้นวันด้วยการทำงานสนุกสนานตามปกติ แต่ตอนนี้เริ่มมีอาการปวดหน่วง ๆ ที่บริเวณอุ้งเชิงกรานบ้างแล้ว ไปพบคุณหมอตามปกติ ทราบมาว่าน้องยังคงเคลื่อนย้ายตัวไปมา อาทิตย์ที่แล้วเสียงหัวใจเต้นอยู่ด้านขวา อาทิตย์นี้เสียงหัวใจย้ายมาเต้นด้านซ้ายแล้ว เวลาได้ยินเสียงหัวใจเต้น ฟังดูแข็งแรงดี ก็มีความสุขตามไปด้วยค่ะ แต่หัวของน้องยังไม่ลงมาตรงอุ้งเชิงกรานค่ะ คุณหมอก็ยังให้คำแนะนำเหมือนเดิม คือ ให้คอยสังเกตอาการของตัวเองให้ดี

ในช่วงนี้ ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า จะคลอดเองหรือผ่าคลอดดี?

เนื่องจากน้องตัวใหญ่มาก บรรดาญาติมิตรสหายรวมทั้งสามีพากันกังวลว่าส้มจะไม่ไหว (หมายถึง คลอดธรรมชาติไม่ไหว) ก็เลยอยากให้ผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยค่ะ ส่วนตัวส้มเอง อยากคลอดธรรมชาติ เพราะคิดว่าตัวเองน่าจะทำได้ อย่างไรก็ตามคุณหมอบอกว่าให้รอดูก่อนค่ะ แล้วบอกว่าเราสามารถตัดสินใจได้ แต่ต้องดูองค์ประกอบทุกอย่างด้วย ว่าสภาพร่างกายคุณแม่พร้อมคลอดธรรมชาติหรือไม่ เด็กกลับหัวไหม และอื่น ๆ ส้มเองก็เลยไปลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติและการผ่าคลอด ว่าข้อดีและข้อเสียมีอย่างไรบ้าง แล้วก็เลยเอามาแบ่งปันให้อ่านกันค่ะ

การคลอดธรรมชาติ มีข้อดีคือจะฟื้นตัวเร็วกว่าการผ่าคลอดมาก เมื่อคลอดเสร็จปุ๊บ มดลูกก็จะหดตัวเล็กลงและจะไม่มีแผลในมดลูกด้วย แต่ข้อเสียคือ คุณแม่ต้องทนความเจ็บปวดมากในระหว่างที่จะคลอด และไม่สามารถกำหนดวันเวลาคลอดได้ค่ะ ในขณะที่หากผ่าคลอด ตอนผ่าคุณแม่จะไม่เจ็บเลย แต่ข้อเสียเมื่อคลอดเสร็จก็จะเจ็บแผลที่ผ่าตัด ซึ่งกว่าแผลจะหายสนิทก็กินเวลาไปเป็นเดือน แต่ว่าการผ่าคลอด สามารถกำหนดวันเวลาได้ค่ะ

หากคลอดโดยธรรมชาติ เด็กจะคลอดผ่านช่องคลอด ตัวช่องคลอดจะบีบส่วนช่วงอกของเด็กเพื่อรีดเอาน้ำคร่ำที่อยู่ในปอดออก เมื่อลอดผ่านช่องคลอดออกมาแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อตัวเด็ก เพราะเขาสามารถหายใจได้เต็มที่และปอดจะไม่ชื้น นอกจากนี้ เด็กที่คลอดผ่านช่องคลอดจะมีการกลืนสารคัดหลั่งซึ่งมีแบคทีเรียที่สามารถ สร้างภูมิต้านทานทำให้เด็กมีโอกาสเป็นภูมิแพ้น้อยลงด้วยค่ะ ในขณะที่เด็กที่ได้รับการผ่าคลอด จะไม่ได้รับการรีดเอาน้ำคร่ำออกเช่นเดียวกับเด็กที่ได้รับการคลอดโดย ธรรมชาติ ปอดและกระเพาะของเด็กก็จะมีน้ำคร่ำอยู่ การหายใจอาจจะไม่เก่งเท่ากับเด็กที่คลอดโดยธรรมชาติค่ะ

ในส่วนของการให้นมลูก เท่าที่อ่านดู เห็นว่าถ้าคลอดธรรมชาติ เราจะสามารถให้นมลูกได้ทันที นมแม่จึงมาดีและมาเร็ว ในส่วนของการผ่าคลอด เนื่องจากคุณแม่เจ็บแผล อาจจะให้นมลูกได้ช้ากว่า ลูกก็อาจจะดูดกระตุ้นได้ไม่ดีเพราะคุณแม่อุ้มไม่ถนัดเนื่องจากเจ็บแผล ในส่วนนี้ ส้มสอบถามคุณหมอ คุณหมอบอกว่า จริง ๆ ผ่าคลอดก็สามารถให้นมแม่ทันทีได้โดยไม่ต้องรอ แต่มันอยู่ที่ว่าคุณแม่จะทนบาดแผลได้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้น

อย่างไรก็ดี การคลอดทั้งสองแบบ ถือว่าปลอดภัยนะคะ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมาก ถ้าคุณแม่ไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ระหว่างคลอดก็สามารถคลอดธรรมชาติได้ ส่วนการผ่าคลอดนั้นใช้เวลาไม่นานและที่สำคัญตอนผ่าไม่เจ็บค่ะ ข้อแตกต่างอีกเรื่องคือ ค่าใช้จ่ายในการคลอดธรรมชาตินั้นจะถูกกว่าการผ่าคลอดมาก เพราะแน่นอน ผ่าคลอดต้องเสียค่าผ่าตัด ค่ายา ค่าบล๊อกหลังและอื่น ๆ ด้วย

คุณแม่ท่านไหนใกล้คลอดแล้วก็ลองดูข้อดี ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติและการผ่าคลอดดูนะคะ สำหรับตัวส้ม ใจอยากคลอดธรรมชาติมาก และหวังว่าน้องจะกลับหัวลงและสามารถคลอดธรรมชาติได้แม้เค้าจะตัวใหญ่ก็ตาม แต่ถืงแม้ว่าจะต้องผ่าคลอด ก็ไม่เป็นไรค่ะ เชื่อมั่นในการตัดสินใจของคุณหมอ เพราะไม่ว่าจะคลอดยังไง ส้มก็รับได้ทั้งข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธีค่ะ
ยังไงก็เป็นกำลังใจให้ส้มและลูกด้วยนะคะ

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : www.pregnancysquare.com

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29