ภาษาไทย
English

หญิง ตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักตลอด 9 เดือนเท่าไหร่ถึงจะดี…?

dreamstime_9767612.jpg

close up of a pregnant belly with colored butterfly

โดย นพ.นิวัฒน์ อรัญญาเกษมสุข

Q : ในหญิง ตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักตลอดทั้ง 9 เดือนอย่างไร ถึงจะเป็นไปตามน้ำหนักมาตรฐานของการตั้งครรภ์คะ

ตั้งครรภ์

ตั้งครรภ์

A : น้ำหนักของหญิง ตั้งครรภ์ ตลอดการตั้งครรภ์ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นการเพิ่มในไตรมาสแรกหรือ สามเดือนแรกไม่มาก ประมาณ 2 กิโลกรัม เพราะเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ของ ทารกในครรภ์ ขนาดจึงไม่ใหญ่มาก และบางรายยังมีอาการแพ้ท้องอยู่จึงทำให้ยังทานอาหารได้น้อย แต่ในไตรมาสที่ 2 และ 3 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็ว ประมาณ ไตรมาสละ 5 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยประมาณ 2 กิโลกรัมต่อเดือน หรือ ครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ ในขณะที่ถ้าเป็นครรภ์แฝด น้ำหนักคุณแม่จะขึ้นประมาณ 15-20 กิโลกรัม หรือโดยเฉลี่ย 0.7 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ แต่น้ำหนักตัวของแม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่แพทย์ใช้ดูประกอบในระหว่างการฝากครรภ์เท่านั้น น้ำหนักตัวทารกในครรภ์ต่างหากคือสิ่งสำคัญ ที่แพทย์ต้องการให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ของน้ำหนัก และสัดส่วนในแต่ละอายุครรภ์ ดังจะเห็นได้ว่าบางรายมีการขึ้นของน้ำหนักที่ไม่ตรงไปตรงมา เช่น แม่น้ำหนักตัวขึ้นน้อย (6-7 กิโลกรัม) แต่ทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่ แต่บางรายแม่มีน้ำหนักตัวขึ้นเยอะมาก (20-30 กิโลกรัม) แต่ทารกในครรภ์กลับมีขนาดเล็ก ซึ่งนอกจากน้ำหนักของแม่ที่เพิ่มขึ้นแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ มาประกอบด้วย คุณแม่จึงไม่ควรกังวลกับการขึ้นลงของน้ำหนักจนมากเกินไป

 

Q : แม่ ท้องที่แพ้นมวัวดื่มนมไม่ได้ในช่วงตั้งครรภ์  จะสามารถได้รับแคลเซียมจากอาหารประเภทใดได้บ้างคะ ถึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงขาดแคลเซียม

A : การที่แพทย์แนะนำให้ดื่มนม เพราะในนมเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมสูง ซึ่งจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะลูกจะนำแคลเซียม จากแม่ไปสร้างกระดูกและฟันในการเจริญเติบโต เนื่องจากความต้องการในหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจากปกติที่ต้องการวันละ 800 มิลลิกรัม เป็นวันละ 1200 มิลลิกรัมในช่วงตั้งครรภ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงให้นมบุตร ต้องการถึงวันละ 1500 มิลลิกรัม ในนมวัว 1 ซีซี มีแคลเซียมอยู่ประมาณ 1 มิลลิกรัม ดังนั้นการทานนม 1 กล่อง 250 ซีซี จะได้แคลเซียม 250 มิลลิกรัม จากการเก็บข้อมูลทางด้านอาหารของคนไทย พบว่าปริมาณแคลเซียม ที่คนไทยได้รับจากอาหารใน 1 วันมีปริมาณน้อยมาก คือ ประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน จึงยังขาดอยู่ประมาณ 800-900 มิลลิกรัมต่อวัน การเสริมโดยการดื่มนมวันละ 3- 4 แก้ว เป็นสิ่งที่ได้รับคำแนะนำในสมัยก่อน คือให้ทานนมเป็นลิตรๆ ต่อวัน ซึ่งเป็นที่มาของการวิจัยของแพทย์แผนกภูมิแพ้เด็กที่พบว่าเด็กที่เกิดใหม่จากแม่ที่ทานนมวัวเป็นปริมาณมากๆ เหล่านี้ มีภาวะหรืออาการภูมิแพ้ได้มากขึ้น และ พบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เช่น ผื่นแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้ระบบหายใจ แพ้อาหาร เป็นต้น ปัจจุบันจึงมีการรณรงค์ให้แม่ตั้งครรภ์ดื่มนมวัวในปริมาณที่พอเหมาะ คือ 1-2 แก้วต่อวันเท่านั้น และถ้ายังขาดหรือปริมาณแคลเซียม ที่ได้รับไม่เพียงพอ หรือรายที่ทานนมวัวไม่ได้ เนื่องจากมีอาการแพ้นมวัวของแม่เอง หรืออาการนมวัวไม่ย่อยในบางราย แนะนำให้เสริมในรูปของแคลเซี่ยมเม็ด ซึ่งมีทั้งชนิดทานแบบยา หรือ เป็นรูปแบบละลายน้ำก็ได้ ซึ่งปกติแพทย์จะจ่ายให้คนไข้ทานต่อเนื่องระหว่างการฝากครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 12-16 สัปดาห์ ไปจนถึงหลังคลอด นอกจากนี้ยังมีอาหารขนิดอื่นๆ ที่อุดมด้วยแคลเซียมไม่แพ้นม เช่น ผักในเขียว กวางตุ้ง คะน้า บล็อคโคลี่ ปวยเล้ง ถั่ว งา เต้าหู้ และปลาเล็กปลาน้อยที่ทานทั้งกระดูก

7

Q : อยาก เรียนถามคุณหมอคะ  ตอนนี้ตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน (และดิฉันอายุ 33 ปี) จำเป็นหรือไม่คะที่จะต้องเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุ่มเสี่ยงดาวน์ซิมโด รมของลูกในครรภ์ (เคยได้ยินคนอื่นๆ พูดว่าเจาะถุงน้ำคร่ำ อาจเสี่ยงต่อภาวะแท้งค่ะ)

A : การเจาะตรวจน้ำคร่ำ (Amniocentesis) เป็นการเจาะเอาน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆ ตัวทารกในครรภ์ ซึ่งในน้ำคร่ำเหล่านั้นจะมีเซลล์ของลูก (Amniocyte) เป็นเซลล์ผิวหนัง หรือ เซลล์เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะของทารกในครรภ์ เราสามารถเอาเซลล์เหล่านี้มาเพาะเลี้ยง และ ตรวจวิเคราะห์โครโมโซมของทารกในครรภ์ได้ ซึ่งดาวน์ซินโดรมก็เป็นหนึ่งในความผิดปกติของโครโมโซม (คู่ที่ 21)การตรวจเจาะน้ำคร่ำมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจ เช่น การรั่วของน้ำคร่ำ การติดเชื้อ และเลือดออกจากตำแหน่งที่เจาะได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแท้งบุตร (Fetal loss) ตามมาได้ร้อยละ 0.5 หรือ 1 ใน 200 ราย จึงเป็นหัตถการที่ไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการตรวจต้องยอมรับว่าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้ ส่วนข้อบ่งชี้ของการเจาะตรวจ เช่น

  • มารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีนับจนถึงวันครบกำหนดคลอด

  • เคยให้กำเนิดทารกที่มีความผิดปกติของโครโมโซม หรือมีความพิการแต่กำเนิด

  • มีประวัติโรคพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความผิดปกติของโครโมโซมในครอบครัว

  • บิดาหรือมารดามีประวัติ หรือตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซม

  • มีความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่ได้จากการตรวจอัลตร้าซาวนด์

  • ผลการตรวจคัดกรองจากสารเคมีในเลือดมารดามีความผิดปกติ

ดังนั้นในรายของ คุณแม่ ที่มีอายุแค่ 33 ปี ไม่ใช่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการเจาะตรวจน้ำคร่ำ แต่ปัจจุบันหลายๆ สถาบัน แนะนำให้ครวจคัดกรองความสี่ยงเรื่องดาวน์ซินโดรมจากเลือดแม่ ในรายที่มีความเสี่ยงต่ำก็ตาม เพื่อคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งในไตรมาสที่ 1 (10+0 -13+6 สัปดาห์) และไตรมาสที่ 2 (14+0  22+6 สัปดาห์) รวมถึงการตรวจชนิดใหม่ๆ ที่มีราคาแพง แต่ได้ค่าความแม่นยำสูง เช่น Nifty  หรือ Panorama test เป็นต้น

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : www.pregnancysquare.com

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29