ภาษาไทย
English

ข้อควรรู้ เรื่องยาสำหรับสตรีมีครรภ์


 

องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้แบ่งประเภทของยาสำหรับสตรีมีครรภ์เอาไว้ 5 กลุ่ม ได้แก่


   กลุ่ม A - ยาที่ปลอดภัย สามารถรับประทานได้ เช่น paracetamol โดยรับประทานในปริมาณปรกติ คือรับประทานครั้งละ 2          เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรรม) วันละ 4 ครั้ง และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 5 วัน

   กลุ่ม B – ยาที่ไม่ควรรับประทาน แต่หากจำเป็นก็รับประทานได้ ได้แก่ ยาแก้อักเสบ เช่น  amoxicillin , ampicillin แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร

   กลุ่ม C - ยาไม่ค่อยมีความปลอดภัยในสตรีมีครรภ์ เช่น ยาแก้อักเสบบางชนิด ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องใช้ ควรเลี่ยงไปใช้ยาในกลุ่ม B แทน

   กลุ่ม D -  ยาที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความผิดปรกติต่อทารกในครรภ์ เช่น ยาต้านอาการชัก ยารักษาโรคธัยรอยด์ ยาในกลุ่มSulfa ยาควบคุมความดันโลหิต และ Tetracycline ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องใช้เพื่อช่วยชีวิตมารดา แพทย์จะพิจาณาใช้เป็นราย ๆ ไป   

   กลุ่ม X -  ยาที่เป็นอันตรายต่อสตรีมีครรภ์ เช่น ยานอนหลับ ยาคุมกำเนิด (ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ของทารกมีปัญหา) ยารักษาไมเกรน(ทำให้แท้งได้) ยารักษามะเร็ง(อาจทำให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่) ยารับประทานรักษาสิวในกลุ่มวิตามิน A สงเคราะห์ (ทำให้เกิดความพิการในทารก)

   สำหรับยาสามัญประจำบ้านตัวอื่น ๆ เช่นยาแก้แพ้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาแก้แพ้ท้อง(dimenhydrinate หรือ วิตามิน B6) เป็นยาที่สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้ ส่วนยาแก้ไข้ในกลุ่ม aspirin , Ibuprofen เป็นยาที่ไม่ควรใช้ เพราะอาจทำให้เกิดเลือดออกหรือจ้ำเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้


การใช้ยารักษาสิวชนิดทาภายนอกจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้หรือไม่?


                สำหรับยาทารักษาสิวในกลุ่มวิตามิน A สงเคราะห์ การใช้ในสตรีมีครรภ์ก็ควรระมัดระวังเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาในการใช้ด้วย


ในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?


                วัคซีนชนิดฉีด ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย กล่าวคือทำมาจากเชื้อที่ตายแล้ว เพราะฉะนั้นจึงค่อนข้างมีความปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ โดยในสตีมีครรภ์สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (ตามฤดูกาล และ 2009) วัคซีนป้องกันโปลิโอ วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันตับอักเสบบีได้ อย่างไรก็ตามในสตรีมีครรภ์ก็มีข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูม ไทฟอยด์ และหากในช่วงที่ยังไม่มีการตั้งครรภ์ได้ฉีดวัคซีนเหล่านี้ไปแล้ว ก็ควรเว้นระยะเวลาหลังจากฉีดวัคซีนไปอีก 3 เดือน จึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย

                นอกจากยาแผนปัจจุบันแล้ว การสูบบุหรี่ รับประทานกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาแผนโบราณที่มีแอลกอฮอลล์เป็นตัวทำละลาย เช่นยาสตรี ยาดองเหล้า  ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในสตรีมีครรภ์ โดยในส่วนของแอลกอฮอลล์นั้นอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการช้า หรืออาจมีผลต่อสมองของทารกได้

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : prema

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29