ภาษาไทย
English

ตรวจอัตราซาวด์ในอุงเชิงกราน

อัลตราซาวด์คืออะไร

                อัลตราซาวด์ (ultrasound) แปลว่าคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งหูคนรับความรู้สึกไม่ได้  ในทางการแพทย์เรานำมาใช้ปล่อยออกมาไปกระทบกับอวัยวะภายในร่างกาย แล้วสะท้อนมาเข้าเครื่องตรวจจับ แล้วแปลงมาเป็นรูปภาพ หรือเป็นคลื่นเสียงที่คนจะรับฟังได้ เครื่องอัลตราซาวนด์จะประกอบด้วยเครื่องทำคลื่นเสียงความถี่สูง  หัวปล่อยคลื่นและรับคลื่นสะท้อนกลับมา และเครื่องคอมพิวเตอร์  เวลาทำการตรวจแพทย์จะเอาเครื่องมือ (เรียกภาษาชาวบ้านว่าหัวอัลตราซาวด์) มาแตะที่ผิวหนังที่มีเจลทาอยู่ (เพื่อให้คลื่นเสียงผ่านเข้าร่างกายได้สะดวก) แล้วเสียงที่สะท้อนกลับมาจากอวัยวะภายใน ก็จะถูกแปลงเป็นรูปภาพให้เราเห็น สมัยนี้มีความก้าวหน้าขนาดสามารถทำให้เห็นเป็นรูปสามมิติที่เคลื่อนไหวได้


ประโยชน์ที่นำมาใช้ทางการแพทย์

                สามารถใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจดูอวัยวะภายในได้หลายอย่างมาก  เช่น ดูหัวใจ  ตับ  ถุงน้ำดี  ไต  ต่อมไธรอยด์  เต้านม  มดลูก  รังไข่  เด็กในครรภ์ ฯลฯ  รวมทั้งสามารถดูการไหลเวียนของเส้นเลือดได้  ทำให้ดูได้ว่ามีเส้นเลือดที่อุดตันที่ขา  หรือเลือดอุดตันที่สมองหรือเปล่า

นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือประกอบหัตถการผ่าตัด เช่น  ประกอบการตัดชิ้นเนื้อภายใน  การดูดของเหลวในช่องปอด  ตับ  ในช่องท้อง  ในอุ้งเชิงกราน  รวมทั้งนำมาประกอบการเจาะดูดไข่จากถุงรังไข่ ในกระบวนการทำการผสมเทียมในหลอดแก้ว และการเจาะดูดน้ำคร่ำในครรภ์เพื่อนำไปตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ เป็นต้น


การใช้ประโยชน์ของอัลตราซาวด์ทางสูตินรีเวชกรรม

                ปัจจุบันเครื่องอัลตราซาวนด์มีบทบาทในด้านการตรวจวินิจฉัยและการทำหัตถการทางสูตินรีเวชกรรมอย่างกว้างขวาง เราใช้เครื่องมืออัลตราซาวนด์มาช่วยวินิจฉัย ลักษณะมดลูก เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก  ลักษณะรังไข่ที่ผิดปกติและไม่ปกติ  ดูว่ามีเนื้องอกรังไข่หรือไม่  ขนาดโตแค่ไหน  ดูว่าใกล้จะมีการตกไข่หรือยัง หรือว่าตกไปแล้ว ไข่ตกกี่ฟอง สภาพเยื่อบุมดลูก และมดลูกเหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่ และยังใช้สำหรับติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอกมดลูก หรือเนื้องอกรังไข่ว่าเท่าเดิมเล็กลง  หรือโตขึ้น (ซึ่งการตรวจด้วยมืออาจไม่สามารถตรวจพบได้) เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค  และประกอบการตัดสินใจวิธีการรักษา

                ทางด้านสูติกรรม  เราใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ตรวจพิสูจน์ยืนยันการตั้งครรภ์ ว่าตั้งครรภ์ในหรือนอกมดลูก  คำนวณอายุครรภ์จากขนาดของถุงครรภ์ หรือขนาดทารก   ดูว่ามีการเจริญของทารกในครรภ์เป็นปกติหรือเปล่า  ดูว่าทารกมีอวัยวะผิดปกติหรือเปล่า  ดูลักษณะของรกและน้ำคร่ำ ว่าอยู่ในภาวะปกติหรือภาวะที่ทารกอาจจะมีอันตราย  ดูภาวะรกเกาะต่ำ  วินิจฉัยภาวะรกลอกตัวก่อนคลอด ฯลฯ

                การนำเครื่องอัลตราซาวนด์มาช่วยประกอบการทำหัตถการทางสูตินรีเวชกรรมได้แก่ การเจาะน้ำคร่ำในครรภ์  เจาะเลือดทารกในครรภ์เพื่อนำไปตรวจ  การตัดชิ้นเนื้อรกเพื่อนำไปตรวจโครโมโซมของทารก  การให้น้ำเกลือในถุงน้ำคร่ำเพื่อช่วยทารกที่มีน้ำคร่ำน้อยเกินไป

                การเจาะดูดน้ำหรือเลือดหรือหนอง  ออกจากอุ้งเชิงกราน  การเจาะดูดน้ำออกจากถุงน้ำรังไข่  กรณีที่ไม่ใช่มะเร็ง  การเจาะไข่และการใส่กลับตัวอ่อนในกรณีผสมเทียมเด็กหลอดแก้ว


อัลตราซาวนด์เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่
                เครื่องอัลตราซาวด์ที่นำมาใช้เพื่อการตรวจดังกล่าวนี้  ไม่มีอันตรายต่อเนื้อเยื่อร่างกายและตัวอ่อนแต่อย่างใด

การเตรียมตัวในการตรวจอัลตราซาวด์ในอุ้งเชิงกราน

                การตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ก็คือ  เพื่อตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์  ได้แก่  มดลูก  รังไข่  และทารกในครรภ์เป็นส่วนใหญ่  ตรวจได้  2  ทาง  คือ  ใช้เครื่องมือวางที่หน้าท้องน้อย  และใช้เครื่องมือผ่านสอดเข้าไปทางช่องคลอด  การตรวจผ่านหน้าท้องใช้คลื่นความถี่ต่ำกว่า  ทำให้ตรวจได้ละเอียดน้อยกว่า  แต่การผ่านของคลื่นไปได้ไกลกว่าได้พื้นที่การตรวจมากกว่า แต่การตรวจทางช่องคลอดใช้คลื่นความถี่สูงกว่า  ทำให้ตรวจได้ละเอียดมากกว่า  แต่คลื่นเสียงผ่านได้ไม่ไกลได้พื้นที่การตรวจน้อยกว่า ดังนั้นการตรวจทางหน้าท้องจึงเหมาะสำหรับดูในภาพกว้าง แต่ตรวจทางช่องคลอดเหมาะสำหรับดูสิ่งที่เล็กๆ และต้องการรายละเอียด

               ในการตรวจทางหน้าท้อ งแพทย์จะให้ผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะให้มีน้ำในกระเพาะปัสสาวะเพื่อเป็นตัวนำเสียงไปยังอวัยวะอุ้งเชิงกรานได้ดี แต่การตรวจทางช่องคลอดจะให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนตรวจ  เพื่อให้เครื่องมือใกล้ชิดกับอวัยวะที่ต้องการตรวจมาก  ๆ

               สรุป  การตรวจอัลตราซาวนด์มีประโยชน์ต่อการช่วยการวินิจฉัยทางสูตินรีเวชกรรมนอกจากการตรวจด้วยมืออย่างเดียวได้หลายอย่าง ทำให้ได้การวินิจฉัยโรคได้แน่นอนและรวดเร็วขึ้น ทั้งยังช่วยการทำหัตถการได้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น  ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื้อและตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : kapook

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29