ภาษาไทย
English

การพัฒนาของลูกน้อย

ลูกน้อยแรกเกิด - 5 กิโลกรัม

เราลองมาวิเคราะห์ช่วงเวลาใน“ปัจจุบัน” และ “พัฒนาการ” ของหนูๆกัน!

ช่วงแรกเกิด 
   ผิวของลูกน้อยแรกยังบอบบางมากซึ่งจะเป็นผื่นได้ง่ายถ้าเราปล่อยให้ก้นของลูกน้อยเปียกชื้นไม่ว่าจากปัสสาวะหรืออุจจาระเหลว 
ดังนั้น เราจึงควรเลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดี และหมั่นเปลี่ยนให้บ่อยครั้งแต่ต้องใช้ความระมัดระวังในขณะเปลี่ยนผ้าอ้อมเนื่องจาก
สะดือของลูกน้อยจะยังไม่แห้งดี 

*เนื่องจากพัฒนาการของลูกน้อยมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นฐาน ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นเพียงเกณฑ์สำหรับข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น

รูปร่างโดยรวม 
   เมื่อช่วงแรกเกิดลูกน้อยจะยังมีรูปร่างและแขนขาเล็กอยู่ซึ่งต่างจากที่เราเคยคิดว่าลูกน้อยจะตัวอ้วนกลมเล็กน้อย

ศีรษะ 
   ศีรษะของลูกน้อยอาจจะยังเบี้ยวอยู่เล็กน้อยและมีส่วนที่ปูดออกมาโดยศีรษะส่วนหน้าจะยังไม่ปิด แต่ศีรษะจะค่อย ๆ เข้าที่
ในช่วง 1- 2 ขวบ

คอ 
   คอของลูกน้อยจะยังรับน้ำหนักไม่ดีนัก เพราะคอของหนูๆยังเล็กอยู่

แขน 
   ลูกน้อยในช่วงนี้จะยังทำแขนเป็นลักษณะเดียวกับตอนที่อยู่ในท้องคุณแม่ คืองอข้อศอกและกำมือทั้งสองข้างเบา ๆ

ขา
   ขาของหนูน้อยจะอยู่ในรูปตัว M คือ งอหัวเข่า และหันออกด้านนอก เพราะกล้ามเนื้อตรงต้นขาของหนูๆยังไม่แข็งแรงดี

สะดือ 
   สายสะดือของลูกน้อยจะหลุดออกเมื่อผ่านไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นสะดือของลูกน้อยจะชื้นอยู่ประมาณ 1 เดือนซึ่งถ้าระหว่างนี้
คุณแม่ควรให้ลูกน้อยใช้ผ้าอ้อมที่มีขอบเอวเว้าสะดือ เพื่อป้องกันสะดือของลูกน้อยอักเสบเป็นแผลเนื่องจากขอบผ้าอ้อมได้

อุณหภูมิ 
   อุณหภูมิของลูกน้อยจะสูงประมาณ 37°c แต่ด้วยความที่ลูกน้อยยังปรับอุณหภูมิร่างกายไม่ได้เอง คุณแม่จึงต้องช่วยด้วยการปรับ
อุณหภูมิห้อง หรือให้ลูกน้อยใส่เสื้อผ้าให้อุ่นอยู่เสมอ

สภาพผิว 
   ผิวของลูกน้อยมีความละเอียดอ่อน บอบบาง และเป็นแผลง่ายกว่าผู้ใหญ่ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงนี้ลูกน้อยจะเผาผลาญพลังงานค่อนข้างมาก
จึงทำให้เหงื่อออกมากเป็นพิเศษ รวมทั้งมีการขับไขมัน (sebum) ออกมาจำนวนมาก ทำให้ต่อมไขมันอุดตัน และเกิดผื่นสีเหลือง เช่น 
ที่บริเวณศีรษะ คิ้ว อีกทั้งจะเกิดผดที่บริเวณใบหน้าหรือหลังคอที่มีต่อมเหงื่ออยู่มาก และอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อจากการใช้เล็บเกา
นอกจากนี้ หากมีอาการคัดจมูกจะทำให้ไม่สามารถกินนมแม่หรือนมชงได้ดังนั้นจึงต้องดูแลลูกน้อยในเรื่องนี้เป็นพิเศษ และควรเลือก
แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีผิวสัมผัสที่อ่อนนุ่มและอ่อนโยนต่อผิวลูกน้อย

การอาบน้ำ 
   ถึงแม้ว่าลูกน้อยในช่วงวัยแบเบาะจะใช้เวลาทั้งวันอยู่บนเตียงตลอดก็ตาม แต่คุณแม่ก็ต้องอาบน้ำให้ลูกน้อยวันละ 1 ครั้งเพื่อ
ทำความสะอาดสิ่งสกปรก เช่น เหงื่อ, ไขมัน ฯลฯ ที่เกิดจากระบบการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งในช่วงแรกเกิดนี้ลูกน้อยยังมีภูมิต้านทาน
ร่างกายที่ต่ำอยู่ดังนั้นคุณแม่จึงควรอาบน้ำให้ลูกน้อยด้วยน้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำสำหรับเด็กซึ่งลูกน้อยจะชอบการอาบน้ำเป็นพิเศษ
เพราะลูกน้อยจะเกิดความเคยชินเช่นเดียวกับที่อยู่ในท้องของคุณแม่ ซึ่งการอาบน้ำนอกจากจะทำให้ลูกน้อยสบายตัวแล้ว ร่างกายของ
ลูกน้อยยังอุ่นขึ้นอีกด้วยและทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้นนับเป็นการออกกำลังกายที่ดีเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว
หลังอาบน้ำลูกน้อยก็ยังกินนมได้มากขึ้นและนอนหลับปุ๋ยอีกด้วย เมื่อคุณแม่รู้เช่นนี้แล้วอย่าลืมพาหนูๆไปอาบน้ำกัน

เสื้อผ้าของลูกน้อย 
   หนูน้อยในช่วงวัยทารกแค่เพียงกินนมหรือร้องไห้ก็มีเหงื่อออกมากแล้วเพราะฉะนั้นคุณแม่ควรเตรียมเสื้อผ้าที่ช่วยซับเหงื่อเอาไว้ด้วย 
เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับลูกน้อยหลายตัว และเนื่องจากในช่วงนี้คอและกระดูกสันหลังของลูกน้อยยังไม่แข็งแรงดีนัก 
จึงควรเลือกชุดที่คุณแม่จะสามารถเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ลูกน้อยในท่านอนได้ คือ เป็นเสื้อผ้าแบบที่นำด้านซ้ายและด้านขวามาซ้อนทับกัน
ที่ด้านหน้าและผูกด้วยเชือก และด้วยผิวของลูกน้อยบอบบางละเอียดอ่อนมาก จึงควรเป็นชุดเรียบๆและไม่ควรมีปกหรือชายเสื้อ
มาเสียดสีกับผิวลูกน้อย เพราะจะทำให้ผิวของหนูบวมแดงได้

กิจกรรมใน 1 วันของลูกน้อย 
   ลูกน้อยวัยแรกเกิดนี้จะตื่นเมื่อหิวและนอนต่อซ้ำ ๆ แบบนี้ตลอดทั้งวัน ซึ่งภายใน 1 วันนั้น จะนอนประมาณ 10 -20 ชั่วโมง โดยจะยัง
นอนหลับไม่ลึกและนอนได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนั้นทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกหิว จะลืมตาตื่นขึ้น ร้องไห้แสดงความต้องการ
ต่อคุณแม่ว่าอยากกินนม ด้วยความที่ลูกน้อยวัยแรกเกิดจะกินนมและนอนตลอดเวลานั้น และเพิ่งเกิดมาได้ไม่นาน การได้ใกล้ชิดกับคุณแม่
เช่นนี้ จะทำให้ลูกน้อยกับคุณแม่มีความสัมพันธ์กันใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

ช่วงนอนตลอด 
   ลูกน้อยยังคงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอน แต่จะเริ่มมีการขยับมือและเท้าบ้างแล้ว ซึ่งลูกน้อยจะเริ่มจ้องมองที่มือตัวเองและมีปฏิกิริยา
ตอบสนองต่อสิ่งรอบๆตัว แต่ช่วงนี้ลูกน้อยก็ยังถ่ายเหลวและบ่อยอยู่ ดังนั้นคุณแม่จึงควรเลือกผ้าอ้อมที่ช่วยปกป้องผิวลูกน้อยจากผื่นคัน
จะดีกว่า ช่วงนี้ขอให้คุณแม่อดทนอีกนิดเพราะเมื่อลูกน้อยเริ่มขยับคอและพลิกตัวได้แล้วลูกน้อยก็ใกล้ที่จะนั่งได้แล้วเช่นกัน

 


การพัฒนาของลูกน้อย

4 – 8 กิโลกรัม

รูปร่างโดยรวม 
    ช่วงนี้ลูกน้อยจะกินนมได้มากขึ้น และจะเริ่มมีรูปร่างอ้วนกลมแบบทารกมากขึ้นด้วย

ดวงตา 
    ลูกน้อยจะเริ่มกรอกตามองตามสิ่งของที่ขยับได้ และจะค่อย ๆ มองภาพต่างๆได้กว้างมากขึ้น

คอ 
    กล้ามเนื้อคอของลูกน้อยจะค่อยๆ แข็งแรงขึ้น และเริ่มพยุงศีรษะตัวเองได้ หรือที่เรียกว่า “การชันคอ” รวมไปถึงความสามารถ
ในการควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้

มือ 
    ลูกน้อยเริ่มอมนิ้วมือของตัวเอง และหยิบจับของเล่นเองได้

หลัง และ สะโพก
    นอกเหนือจากพัฒนาการลูกน้อยทางด้านกล้ามเนื้อมือเท้าและคอแล้ว กล้ามเนื้อหลังของลูกน้อยก็มีการพัฒนาด้วยเช่นกัน 
จะเห็นได้จากการคว่ำตัวซึ่งลูกน้อยจะสามารถตั้งคอไว้ได้อย่างมั่นคง หรือที่เรียกว่า “การชันคอ”

จิตใจ 
    ลูกน้อยเริ่มมีการแสดงออกความรู้สึกต่างๆได้มากขึ้น เช่น การจ้องมอง และหัวเราะเมื่อมีคนเล่นหยอกล้อด้วย

ผิว 
    เมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 2 เดือนหลังคลอด ผิวของลูกน้อยมีลักษณะ “ผิวมัน” เนื่องจากอิทธิพลด้านฮอร์โมนที่ได้รับจากภายในท้อง
คุณแม่ จึงทำให้ลูกน้อยมีการขับไขมันออกมาจำนวนมาก แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้รับอิทธิผลดังกล่าวแล้ว ลูกน้อยจะมี “ผิวแห้ง” และผิวหนัง
บอบบาง ไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแผลได้ง่าย เมื่อผิวสัมผัสกับสิ่งสกปรก เช่น เหงื่อปริมาณมาก นม น้ำลาย 
ฯลฯ ที่ตกค้างอยู่ในผิวที่แห้ง ก็จะทำให้ผิวหยาบง่ายขึ้นจนเกิดเป็นรอยแดง ผดผื่นคัน กลาก เป็นต้น ดังนั้นเมื่อทำความสะอาดลูกน้อยเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว คุณแม่ควรจะรักษาความชุ่มชื้นของผิวลูกน้อยไว้เสมอ

การอาบน้ำ 
    เมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 1 เดือนหลังคลอด ให้คุณแม่เปลี่ยนจากการอาบน้ำให้ลูกน้อยในอ่าง มาอาบน้ำในอ่างที่ห้องน้ำคุณพ่อคุณแม่
แทน ซึ่งช่วงแรกลูกน้อยอาจจะร้องไห้งอแงได้ เนื่องจากยังไม่คุ้นเคยกับอ่างอาบน้ำที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งคุณแม่ควรที่จะโอบกอดลูกน้อยให้แน่น ๆ 
อย่างอ่อนโยนเอาไว้ นอกจากนี้ด้วยความที่คอและสะโพกของลูกน้อยยังไม่แข็งแรงพอ จึงแนะนำให้คุณแม่วางลูกน้อยไว้ในท่าที่มั่นคง 
โดยวางไว้บนเข่าของคุณแม่หรือบนเบาะรองและอาบน้ำทำความสะอาดในส่วนที่มองไม่เห็นเป็นพิเศษ เช่น บริเวณหลังหู, คอ, ใต้วงแขน,
รอยพับที่ข้อมือและเท้า ฯลฯ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกจากเหงื่อไคลให้สะอาดด้วย แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตรวจและปรับอุณหภูมิภายใน
ห้องน้ำ และน้ำอาบให้อุ่นก่อนเสมอเพื่อความสบายตัวของลูกน้อย

เสื้อผ้าของลูกน้อย 
    เนื่องจากลูกน้อยจะชอบขยับตัวบ่อยจึงทำให้ร่างกายเกิดความร้อนขึ้น และในขณะเดียวกันลูกน้อยก็จะทนต่อความหนาวเย็นได้มากกว่า
ผู้ใหญ่ ดังนั้นอุณหภูมิที่หนาวนิดหน่อยนั้นกำลังเหมาะกับลูกน้อย ส่วนเรื่องการเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะกับการขยับตัวของลูกน้อยนั้น ควรจะเป็น
เสื้อผ้าที่ด้านบนและด้านล่างติดกัน เพราะถ้าไม่ติดกันแล้วเมื่อลูกน้อยขยับตัวชายเสื้ออาจจะเปิดหรือหลุดออกมาได้ แต่ต้องระวังด้วยว่า
คุณแม่จะไม่สวมเสื้อผ้าให้ลูกน้อยมากเกินไปหรือหนาเกินไปด้วยเช่นกัน เพราะจะสังเกตได้จากเมื่อหลังลูกน้อยกินนมเสร็จหรือตอนร้องไห้ 
ลูกน้อยจะมีเหงื่อออกมาบริเวณด้านหลังทำให้เสื้อผ้าเกิดการเปียกชื้นได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ
อับชื้นขึ้นของเหงื่อได้

กิจกรรมใน 1 วันของลูกน้อย 
    หากระยะเวลาการให้นมลูกน้อยเริ่มคงที่แล้ว ลูกน้อยก็จะนอนหลับได้ยาวนานขึ้น และเมื่อเริ่มชันคอได้แล้ว คุณแม่ก็สามารถพาลูกน้อย
ออกไปเดินเล่นข้างนอก โดยการอุ้มหรือให้นั่งรถเข็นเด็ก ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่จะให้ลูกน้อยได้สัมผัสกับธรรมชาติ แสงแดด ลม หรือกลิ่น
ของต้นไม้ต่าง ๆ ที่เป็นแรงกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่ดี แต่ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนเยอะและไม่ใช้เวลาในการเดินเล่นนานจนเกินไป หรือ
แนะนำว่าควรเป็นสถานที่ใกล้บ้านก่อนจะดีกว่า เนื่องจากร่างกายของลูกน้อยยังไม่แข็งแรงและยังมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่ และที่สำคัญคุณแม่
อย่าลืมปิดม่านบังแดดในรถเข็นเด็ก สวมหมวก หรือกางร่มของคุณแม่เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตมากเกินไปด้วยเสมอ

ช่วงลุกนั่ง (พลิกตัว - นั่ง) 
    หากลูกน้อยสามารถพลิกตัวได้แล้ว แสดงว่ากล้ามเนื้อเริ่มมีแรงมากขึ้น และใกล้ถึงวันที่จะนั่งได้ในอีกไม่ช้านี้แล้ว โดยในช่วงแรก
ลูกน้อยอาจจะยังไม่สามารถทำได้หากคุณแม่ไม่ช่วยพยุง แต่ต่อมาในไม่ช้าลูกน้อยก็จะสามารถนั่งนิ่ง ๆ ได้เอง และเมื่อลูกน้อยพลิกตัว
หรือนั่งได้เองลูกน้อยจะขยับร่างกายโดยเฉพาะบริเวณท้องได้ดีขึ้น ซึ่งการนั่งจะทำให้ลูกน้อยมีทัศนียภาพที่กว้างขึ้นด้วย แต่เมื่อลูกน้อย
มีการขยับตัวมากขึ้นร่วมกับการปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ก็อาจจะส่งผลต่อขนาดของผ้าอ้อมเด็กที่ต้องมีเปลี่ยนแปลงต่อไปด้วยเช่นกัน

  


 การพัฒนาของลูกน้อย

6 – 14 กิโลกรัม

รูปร่างโดยรวม 
    ช่วงนี้คอและสะโพกของลูกน้อยจะเริ่มแข็งแรง ทำให้คุณแม่และคุณพ่อสามารถที่จะอุ้มลูกน้อย
ได้ง่ายขึ้น

เท้า 
    เท้าของลูกน้อยจะมีแรงมากขึ้น และจะเริ่มแตะผ้าห่มเล่น หรือบางครั้งที่คุณแม่คุณพ่อพยุงรักแร้ลูกน้อยเอาไว้ เขาก็จะพยายาม
กระโดดขึ้นไปทรงตัวอยู่บนหัวเข่าของคุณแม่คุณพ่อ

แขน 
    ลูกน้อยนอนคว่ำอยู่ ก็จะเริ่มชันแขนและยกศีรษะขึ้นเองได้ นอกจากนี้ลูกน้อยจะยังสามารถพลิกตัวได้ด้วย

มือ 
    มือของลูกน้อยจะสามารถจับหรือเคาะของเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว

สะโพก และหลัง 
    กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังของลูกน้อยมีการพัฒนามากขึ้น โดยในช่วงแรก จะสามารถนั่งได้ด้วยการพิง 
และจะค่อย ๆ นั่งเองคนเดียวได้ และท้ายที่สุดจะสามารถนั่งได้อย่างมั่นคง

ฟัน 
    ลูกน้อยบางคนจะเริ่มมีฟันขึ้นแล้ว โดยฟันหน้าด้านล่างหรือด้านบน 2 ซี่ก็จะเริ่มโผล่ขึ้นมาให้เห็นกันแล้วเล็กน้อย

ผิว 
    เนื่องจากช่วงนี้ลูกน้อยจะมีการเผาผลาญพลังงานมาก ทำให้เล็บและผมยาวเร็ว คุณแม่ควรหมั่นตัดเล็บให้ลูกน้อย เพราะเล็บอาจจะ
ทำให้ผิวของลูกเป็นแผลได้ นอกจากนี้ผมของลูกน้อยอาจจะทำให้รอยพับบริเวณหูฉีกขาดได้ ขอให้คุณแม่ระมัดระวังให้มาก และหมั่นดูแล
ตรวจเช็คจมูกและหูให้สะอาดอยู่เสมอด้วย ส่วนปัสสาวะนั้นเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้นแล้วด้วยเช่นกัน ถ้าหากคุณแม่ไม่หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้นั้น 
ลูกน้อยก็จะเกิดผดผื่นคันขึ้นได้ และช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกน้อยเจริญเติบโตเร็ว ซึ่งผ้าอ้อมที่ลูกน้อยเคยใส่พอดีนั้น วันนี้ก็อาจจะแน่นเอวและ
ขาหนีบ หรือรัดจนเกิดผื่นผ้าอ้อมได้ ดังนั้นแล้วการรักษาความชุ่มชื้นหลังทำความสะอาดลูกน้อยก็ถือเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน

นมแม่ และอาหารเด็กอ่อน 
    ลูกน้อยจะเริ่มแสดงความสนใจกับของกินของคุณแม่คุณพ่อ เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเริ่มถึงเวลาให้อาหารเด็กอ่อนกับลูกน้อยแล้ว 
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอาหารเด็กอ่อน รสชาติและรูปร่างของช้อนหรือของกินล้วนเป็นประสบการณ์แรกที่ลูกน้อยจะต้องเผชิญทั้งสิ้น 
ดังนั้นคุณแม่จึงต้องใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อลุกน้อยให้เกิดความคุ้นเคยเสียก่อน และค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เหมาะกับการเติบโตของลูกน้อย 
ต่อมาหากเขาเริ่มคุ้นเคยกับของเหลวข้นแล้ว คุณแม่ก็จะสามารถเปลี่ยนไปเป็นอาหารเหนียวข้นอ่อนนุ่มที่ใช้ลิ้นดุนได้ตามมา 
    ช่วงเป็นเด็กเล็ก หากให้ลูกน้อยได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับรสชาติที่หลากหลาย จะช่วยลดความชอบหรือไม่ชอบอาหารบางอย่าง
ให้น้อยลง แต่ถึงแม้ว่าจะเริ่มให้อาหารเด็กอ่อน แต่ก็ควรให้นมในปริมาณและจำนวนครั้งเช่นเดียวกับที่ผ่านมา

การอาบน้ำ 
    หากลูกน้อยนั่งได้และร่างกายเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว ก็จะสามารถนั่งเก้าอี้สำหรับเด็กเพื่ออาบน้ำได้ ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยมีช่วงเวลาอาบน้ำ
กับคุณแม่คุณพ่อที่สนุกมากขึ้น ส่วนผมลูกน้อยก็จะเริ่มยาวมากขึ้น คุณแม่จึงควรสระผมเพื่อป้องกันไม่ให้มีผดขึ้นที่หนังศีรษะ และควรใช้แชมพู
สำหรับทารกที่ล้างฟองออกได้ง่ายและไม่แสบตา ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่วางใจได้มากขึ้นด้วย และถ้าลูกน้อยเริ่มมีแรงที่เท้าแล้ว เขาก็มักจะ
ใช้เท้ายันสิ่งต่างๆ จึงขอให้คุณแม่ระมัดระวังให้มากเนื่องจากคุณแม่อาจจะเกิดเสียการทรงตัวและล้มลงได้ นอกจากนี้แล้วก่อนที่จะอาบน้ำ
ให้ลูกน้อย คุณแม่อย่าลืมตรวจเช็คและปรับอุณหภูมิของห้องน้ำและน้ำให้อุ่นก่อนด้วยเสมอ

เสื้อผ้าของลูกน้อย 
    หากลูกน้อยสามารถพลิกตัวได้แล้ว สิ่งที่ขัดขวางการเคลื่อนไหวจะทำให้ลูกน้อยเกิดความเครียดได้ ดังนั้นจึงควรเลือกเสื้อผ้าเรียบ ๆ
และบางเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ลูกน้อยได้เคลื่อนไหวอย่างสบาย และคุณแม่เองก็จะดูแลได้ง่ายด้วย นอกจากนี้เสื้อที่เลือกก็ควรเป็น
เสื้อแขนสั้น เพราะลูกน้อยจะชอบขยับแขนและใช้มือในการขยับตัว การนั่ง ตบมือ หรือเล่นของเล่นต่างๆ

กิจกรรมใน 1 วันของลูกน้อย 
    หากให้ลูกน้อยกินนมเต็มอิ่มก่อนนอนจะทำให้ลูกน้อยหลับสนิทจนถึงเช้าโดยไม่ตื่นกลางดึก และเวลาตื่นตอนกลางวันก็จะนานขึ้นด้วย
ทำให้สามารถเล่นของเล่นกับคุณแม่ และค่อย ๆ ฝึกนั่งเองคนเดียวได้นานขึ้น นอกจากนี้อาจจะมีเด็กบางคนที่ร้องไห้ตอนกลางคืนหรือ
เข้านอนยาก ดังนั้นในวันที่อากาศดีคุณแม่จึงควรพาลูกน้อยออกไปข้างนอก หรือปูเบาะรองไว้บนพื้นในบ้าน และปล่อยให้ลูกน้อยได้เล่น
อย่างอิสระบ้างก็ถือเป็นกิจกรรมตอนกลางวันที่ดีเช่นกัน 

ช่วงคลาน 
    เมื่อเริ่มคลานได้ ลูกน้อยจะมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น จะเพลิดเพลินกับการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง แม้แต่ตอนเปลี่ยนผ้าอ้อม
ก็จะไม่ยอมอยู่เฉย ทำให้คุณแม่ต้องรีบเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างรวดเร็วเพราะลูกน้อยจะให้ความสนใจกับสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่นานก็จะเปลี่ยนไป
สนใจสิ่งอื่นต่อ แต่ในขณะเดียวกันที่ลูกน้อยขยับทั้งวันจนเหนื่อย เขาก็จะหลับสนิทได้นานมากขึ้นด้วย และเมื่อคลานได้เก่งขึ้น 
เริ่มเกาะได้ ก็จะเข้าสู่พัฒนาการต่อไปคือ การยืนได้นั่นเอง

 


การพัฒนาของลูกน้อย

7 – 12 กิโลกรัม

แขน 
    แขนเริ่มมีแรงเพิ่มมากขึ้น โดยลูกน้อยจะพยายามยกตัวขึ้นด้วยแขน พร้อมทั้งจะยกศีรษะ
และใช้มือกับเท้าในการคลานไปข้างหน้าซึ่งลักษณะการคลานของเด็กจะมีหลายรูปแบบด้วยกัน
เช่น เด็กบางคนจะขยับตัวโดยการขยับขาท่ากรรเชียงในท่านั่ง และเด็กบางคนจะพยายามคลาน
ขึ้นไปที่ต่างระดับหรือคลานขึ้นบันได ดังนั้นในช่วงนี้คุณแม่จะต้องคอยดูแลและระวังเรื่องความปลอดภัยของลูกน้อยให้มาก

มือ 
    ปลายนิ้วจะสามารถขยับได้เล็กน้อยแล้ว และจะเริ่มเล่นซุกซน เช่น ดึงทิชชู่ จับรีโมทหรือโทรศัพท์มือถือเล่น

ศีรษะ 
    เริ่มเข้าใจเรื่องที่คุณแม่พูดมากขึ้นจะเริ่มเลียนแบบ และพูดคำที่ผู้ใหญ่พูดซ้ำ ๆ เช่น “หม่ำ ๆ” “บรืน ๆ”

ผิว 
    เมื่อลูกน้อยคลานได้ในพื้นที่กว้างขึ้น จะเริ่มขยับตัวไปรอบ ๆ เช่น มุมห้อง ใต้โต๊ะ ซึ่งในสถานที่ที่ผู้ใหญ่มองไม่ค่อยเห็นนั้น และมักจะ
เต็มไปด้วยฝุ่น ดังนั้นหากเห็บหรือฝุ่นสัมผัสถูกผิวหรือเข้าไปในร่างกายของลูกน้อย อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกน้อยเกิดภูมิแพ้ได้ 
นอกจากนี้สิ่งของที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับผิวผู้ใหญ่ ก็อาจจะอันตรายเป็นต่อผิวของลูกน้อยที่ละเอียดอ่อนได้ และอาจทำให้เกิดผื่นคัน
ได้ดังนั้น คุณแม่จึงควรรักษาความสะอาด และจัดวางสิ่งของต่างๆในห้องให้เหมาะสมกับวัยของลูกน้อยด้วย

อาหารเด็กอ่อน 
    ลูกน้อยจะเริ่มกินอาหารที่มีความแข็งในระดับที่ใช้เหงือกบดได้แล้ว และเริ่มอยากที่จะกินด้วยตัวเอง โดยในช่วงแรกจะพยายาม
ใช้มือหยิบอาหารใส่ปาก ซึ่งก็เป็นช่วงวัยของเด็กอายุ 1 ขวบ และเมื่อระยะเวลาต่อมาคุณแม่ก็สามารถสอนให้ลูกน้อยฝึกใช้ช้อนได้แล้ว 
ในขณะเดียวกันคุณแม่ก็ควรที่จะคอยดูแลเรื่องปริมาณอาหารที่ลูกน้อยจะกินในแต่ละครั้งด้วยซึ่งปริมาณการกินต่อครั้งจะ ๆ ค่อยเพิ่มขึ้น
เมื่อลูกน้อยโตขึ้น และเป็นช่วงที่เด็กบางคนเริ่มกิน 3 มื้อแบบเดียวกับผู้ใหญ่แล้วแต่ถ้าในช่วงนี้หากลูกอยากกินนมแม่ คุณแม่ก็ควร
ปล่อยให้ลูกน้อยได้กินอิ่มเท่าที่ต้องการได้เหมือนกัน

การอาบน้ำ 
    เมื่อลูกคลาน มือ เท้า และเข่าก็จะสกปรก การออกกำลังกายก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เหงื่อก็ออกมากขึ้น คุณแม่จึงควรอาบน้ำ
ทำความสะอาดลูกน้อยให้สะอาดทุกวัน และเพื่อป้องกันผิวลูกน้อยแห้ง จึงแนะนำให้คุณแม่ใช้แชมพูหรือสบู่สำหรับผิวบอบบาง
สำหรับลูกน้อยจะดีกว่า นอกจากนี้การวางสิ่งของให้ห้องน้ำก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังเช่นกัน เพราะแม้แต่ในห้องน้ำลูกก็อยากจะเคลื่อนไหว 
ดังนั้นขอให้วางสิ่งที่เป็นอันตรายไว้บนที่สูงที่มือลูกน้อยไม่สามารถเอื้อมถึงได้ เพื่อป้องกันลูกน้อยจะนำเข้าปากด้วย

เสื้อผ้าของลูกน้อย 
    คุณแม่ควรเลือกวัสดุที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับการขยับตัวของลูกน้อยและสวมใส่ได้ง่าย เมื่อพาออกไปข้างนอก หากใส่เสื้อผ้า
มากชิ้นเกินไปจะทำให้ลูกน้อยขยับตัวยาก ดังนั้นจึงมีเกณฑ์แนะนำว่า “ให้ลบจำนวนชิ้นของเสื้อผ้าผู้ใหญ่ออก 1 ชิ้น” เมื่ออยู่ในที่ที่มี
อากาศหนาวควรให้ลูกน้อยใส่เสื้อผ้าบางแต่หลายชิ้น จะดีกว่าใส่เสื้อที่หนาแต่ต้องถอดเข้าออกตลอดเพราะการสวมเสื้อผ้าที่บางหลาย ๆ 
ชั้นจะช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายได้ง่ายกว่าเสื้อผ้าที่หนา หรือแม้แต่เมื่ออุณหภูมิต่ำมากเหมาะกับการสวมแจ็คเก็ต ก็ยังแนะนำให้คุณแม่
สวมเสื้อผ้าบางให้กับลูกน้อยมากกว่าเสื้อผ้าหนา ดังนั้นตอนที่ออกไปข้างนอกคุณแม่ก็ควรนำชุดด้านในหรือเสื้อสำรองไปเผื่อให้ลูกน้อย
ด้วยและเมื่ออยู่ภายในห้องก็ควรปล่อยให้เท้าของลูกน้อยได้ปล่อยเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันการลื่น

กิจกรรมใน 1 วันของลูกน้อย 
    ลูกน้อยจะตื่นตอนเวลากลางวันนานขึ้นโดยจะนอนกลางวันประมาณ 1 - 2 ครั้งเท่านั้น นอกนั้นจะนอนตอนเวลากลางคืนทีเดียว 
และเวลาสำหรับกินอาหารของลูกน้อยจะเริ่มเป็นเวลามากขึ้นด้วยซึ่งจะทำให้อุจจาระและนอนกลางวันเป็นเวลามากขึ้นด้วยรวมไปถึง
การกิจวัตประวันต่างๆจะเป็นเวลาที่แน่นอนมากขึ้น แต่หากลูกน้อยอยู่ดึกเพื่อรอคุณพ่อกลับบ้าน อาจจะการทำให้กิจวัตประจำวัน
และเวลาต่างๆเริ่มสับสนไปได้ และทำให้นอนหลับได้ไม่ดี ซึ่งในช่วงที่ลูกน้อยนอนตอนกลางคืนนั้น จะเป็นช่วงที่มีการหลั่งฮอร์โมน
การเจริญเติบโตออกมา ดังนั้นคุณแม่จึงควรให้ลูกน้อยได้นอนตอนกลางคืนให้เต็มอิ่ม

ช่วงยืน และเดินเตาะแตะ 
    ในที่สุดก็ถึงช่วงเวลาของการยืนที่รอคอย และเมื่อลูกน้อยสามารถยืนได้เองคนเดียวแล้ว ก็จะเริ่มเดินเตาะแตะในอีกไม่นาน โดยก้าวแรก
ของลูกน้อยอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนได้เห็นวิวัฒนาการของมนุษย์เลยทีเดียวแล้วหลังจากที่ลูกน้อยเริ่มเดินได้ อีกไม่นานจาก วัยทารก 
เขาก็จะเริ่มมีรูปร่างและการเคลื่อนไหวที่เริ่มเป็น “เด็ก” มากขึ้น 
    เมื่อลูกน้อยเดินได้แล้วคุณแม่ก็ควรจะพาลูกน้อยออกไปสนุกกับการเดินได้อย่างเต็มที่ข้างนอกบ้าน และในขณะที่เดินนั้น หากลูกน้อย
ได้ใส่ผ้าอ้อมที่ยืดหยุ่นและอ่อนนุ่มราวกับผ้าจนเคลื่อนไหวได้โดยไม่รู้สึกถึงผ้าอ้อม ลูกน้อยก็คงจะมีความสุขมากด้วยเช่นกัน

 


การพัฒนาของลูกน้อย

9 – 17 กิโลกรัม

รูปร่างโดยรวม 
    เมื่อพ้นช่วงทารกที่มีรูปร่างอ้วนกลมแล้ว ลูกน้อยก็จะเข้าสู่ช่วง “เด็กเล็ก” ที่มีรูปร่างผอมบาง

ขา 
    ขาจะเริ่มยืดยาวมากขึ้น และลูกน้อยจะเริ่มเคลื่อนไหวขาได้คล่องแคล่วขึ้น โดยจะเริ่มก้าวขึ้นบันได
ได <

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : mamypoko

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29