ภาษาไทย
English

โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

สาเหตุ

         ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของมารดา รองจากการเสียเลือด และการติดเชื้อ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะ ที่เรียกว่า ภาวะ preeclampsia หรือที่เดิมเรียกกันว่า ครรภ์เป็นพิษ

         สาเหตุของภาวะ preeclampsia ยังไม่มีคำอธิบายชัดเจน ที่น่าเป็นไปได้มากที่สุดคือ เกิดจาก ความผิดปกติของการพัฒนาการของรก ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดที่รกผิดปกติ

อุบัติการณ์

         มักพบภาวะ preeclampsia ในหญิงตั้งครรภ์แรก ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อย หรือ เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี หญิงตั้งครรภ์แฝด ทารกบวมน้ำ หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคทางอายุรกรรม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หรือ โรคไต พบได้ประมาณร้อยละ 2-17 ของหญิงตั้งครรภ์

การวินิจฉัยโรค

         การฝากครรภ์ที่ดี เฝ้าระวังสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง จะมีความสำคัญในการตรวจพบระยะแรก และรับให้การรักษา สิ่งตรวจพบสำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัยคือ

  • ความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท
  • น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะถ้าเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
  • การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะจากแผ่นทดสอบหาโปรตีน มากกว่าหรือเท่ากับ 1+
  • ถ้าอาการรุนแรงขึ้นจะมีอาการ ปวดศีรษะ บริเวณหน้าผาก หรือท้ายทอย แม้รับประทานยาแก้ปวดก็ไม่ดีขึ้น, ตามองเห็นไม่ชัด, จุกแน่นลิ้นปี่ หรือปวดท้องด้านขวาบน, หอบเหนื่อย มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ เช่น การทำงานของตับ, ไตผิดปกติ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น
  • ถ้าอาการรุนแรงมาก อาจชักทั้งตัว, มีเลือดออกในสมอง

         ในรายที่อาการไม่รุนแรง อายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด ผู้ป่วยบางรายสามารถพักผ่อนที่บ้านได้ โดยต้องสังเกตอาหารอย่างใกล้ชิด ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ซึ่งแพทย์จะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้น

  

ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้รีบมาโรงพยาบาล

  • ปวดศีรษะ
  • ตาพร่ามัว
  • จุกแน่นชายโครงข้างขวา หรือ ลิ้นปี่
  • เจ็บครรภ์
  • มีน้ำ หรือเลือดออกทางช่องคลอด
  • ทารกดิ้นน้อยลง

การรักษา

         การรักษาภาวะ preeclampsia มีเพียงวิธีเดียวคือ การยุติการตั้งครรภ์ โดยให้มีผลกระทบต่อมารดา และทารกน้อยที่สุด ในรายที่ตั้งครรภ์ใกล้กำหนด หรือ ครบกำหนด และปากมดลูกพร้อมก็ให้มีการชักนำการคลอดทางช่องคลอด หากปากมดลูกไม่พร้อม หรือมีข้อบ่งชี้อื่น เช่น ทารกตัวโต ก็พิจารณาผ่าคลอด แต่รายที่อายุครรภ์ยังไม่ครบ การพิจารณายุติการตั้งครรภ์ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และอายุครรภ์ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องให้ยาป้องกันการชัก ยาลดความดันโลหิตด้วย

การป้องกัน

         แม้ว่าการฝากครรภ์ไม่สามารถป้องกันการเกิด ภาวะ preeclampsia ได้ แต่สามารถลดการเกิดโรคที่รุนแรงได้ ดังนั้น การฝากครรภ์ที่ดี และ เฝ้าระวังภาวะ preeclampsia จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมา

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : siamhealth

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29