ภาษาไทย
English

การตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

         สมัยก่อนเราจะพบคุณย่า และคุณยายยังสาวอยู่เป็นจำนวนมากแต่ปัจจุบันคนไทยแต่งานอายุมากขึ้น และยังคุมกำเนิดต่ออีกทำให้เกิดการตั้งท้องตอนอายุมาก เด็กที่เกิดจากหญิงที่มีอายุมากส่วนใหญ่ จะปกติแต่ก็พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนการมีบุตร

อายุมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร

         เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไปอัตราการตั้งครรภ์จะลดลงเนื่องจากมีการตกไข่ลดลง อาจจะมีการอักเสบในช่องท้องทำให้เกิดพังผืด แม้ว่าจะตั้งครรภ์ยากแต่ครรภ์แผดมักจะเกิดในช่วงอายุ 35-39 ปี หากท่านอายุมากกว่า 30ปีมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอแล้วยังไม่มีบุตรให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อายุมากขณะตั้งครรภ์ขึ้นมีผลต่อสุขภาพของคนท้องอย่างไร

         การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์สำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีมีความจำเป็นเนื่องจากอายุมากขึ้นก็จะมีโรค ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้นการควบคุมโรคก่อนการตั้งครรภ์จะช่วยลดโรคแทรกซ้อนได้ พบว่าคนท้องที่อายุมากกว่า 35 ปีจะเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์สูงกว่าคนทั่วไป 2 เท่าเมื่อเทียบกับอายุ 20 ปี

อายุมากขณะตั้งครรภ์กับการพิการแต่กำเนิด

         พบว่าโรค Down syndrome จะเพิ่มขึ้นโดยพบคลอดผิดปกติ 1 รายจากจำนวนคลอดปกติ 1250 รายสำหรับอายุ 25 ปี แต่ถ้าอายุ 40 ปีจะพบคลอดผิดปกติ 1 รายจากจำนวนคลอด 106 รายแนะนำว่าหญิงท้องที่อายุมากกว่า 35 ปีควรจะเจาะน้ำคล่ำตรวจ พบว่ารอยละ 95 ผลออกมาปกติ

อายุมากขณะตั้งครรภ์กับการแท้ง

         อายุมากขึ้นพบว่าอัตราการแท้งเพิ่มพบว่าอายุ 25 ปีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งประมาณร้อยละ 12-15 แต่ถ้าหากอายุ 40 ปีอัตราเสี่ยงของการแท้งประมาณร้อยละ 25

อายุมากขณะตั้งครรภ์มีผลต่อเด็กหรือไม่

  • อายุขณะตั้งครรภ์มากจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องรกมากขึ้นคือ รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนคลอด
  • เด็กที่คลอดอาจจะมีน้ำหนักน้อยกว่าคนท้องที่อายุน้อย
  • เนื่องจากแม่อาจจะไม่แข็งแรง เด็กอาจจะเกิดความเครียดขณะคลอด Fetal distree

อายุมากขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการคลอดหรือไม่

         เมื่ออายุมากขึ้นจะพบว่าคลอดลำบากทำให้ต้องผ่าตัดหน้าท้องพบว่าหากท้องแรกอายุ 30 ปีจะมีอัตราการคลอดโดยวิธีผ่าตัดเพิ่มร้อยละ 30 แต่ถ้าหากอายุมากกว่า 35 ปี จะมีอัตราการคลอดโดยวิธีผ่าตัดเพิ่มร้อยละ 80

ท่านจะลดอัตราเสี่ยงได้อย่างไร

  • รับประทานวิตามิน โฟลิก 400 มิลิกรัมต่อวัน
  • ให้ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์และฝากท้องตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • งดดื่มสุรา
  • งดบุหรี่
  • เลิกซื้อยารับประทานเอง

เมื่อตั้งท้องต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง

         ที่สำคัญคือต้องเจาะน้ำคล่ำตรวจ Chromosome เพื่อตรวจว่าเด็กเป็นโรค Down syndrome หรือไม่

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : siamhealth

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29