ภาษาไทย
English

ฝากครรภ์…ทำไมต้องฝาก?

ท้องแล้วเหรอ? ฝากท้องหรือยัง? คำถามนี้มักถูกถามขึ้นในผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการตั้งท้องมาก่อน คนที่มีประสบการณ์ที่เคยท้องมาก่อนแล้วมักจะรู้กันว่าถ้าเกิดท้องขึ้นมาเมื่อไหร่ สิ่งแรกเลยที่ต้องทำคือการไปพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์ เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจดูสุขภาพของทารกในครรภ์ และกำหนดวันคลอดให้ในเบื้องต้น ผู้หญิงที่รู้ตัวแล้วว่าตั้งครรภ์ควรที่จะรีบไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนินๆ ไม่ควรที่จะรอจนเลย 3 เดือนไปแล้วถึงฝากครรภ์ เพราะการไปฝากครรภ์เร็วเท่าไหร่ก็เท่ากับว่าทารกในครรภ์ก็จะมีอัตราเสี่ยงที่เป็นอันตรายน้อยลงเท่านั้น

 

ไปฝากครรภ์ เพื่อตรวจอะไร

  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด
  • พยาบาลจะซักประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่ผ่านมา และปัจจจุบัน สอบถามเกี่ยวกับการมาของประจำเดือนครั้งสุดท้าย
  • สอบถามเช็กประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวทั้งฝ่ายภรรยา และสามี
  • จากการสอบถามรายละเอียดในเบื้องต้นจะเป็นข้อมูลสำหรับคุณหมอ(สูติแพทย์) เพื่อการคาดคะเนกำหนดคลอดให้คุณ
  • คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไปเป็นระยะดังนี้
  • นัดตรวจเดือนละครั้ง (อายุครรภ์ตั้งแต่ 1 เดือน– 7 เดือน)
  • นัดตรวจทุกสองสัปดาห์ (อายุครรภ์ตั้งแต่ 7 เดือน – 8 เดือน)
  • นัดตรรวจสัปดาห์ละครั้ง (อายุครรภ์ 9 เดือน)

ทั้งนี้หากการตั้งครรภ์มีความผิดปกติ หรือมีความเสี่ยง คุณหมอก็จะนัดให้ไปตรวจบ่อยกว่าที่กำหนด (แล้วแต่กรณีไม่เสมอไปในคนท้องทุกราย)

 

 

ใน การนัดตรวจสุขภาพครรภ์ทุกครั้ง คุณหมอจะตรวจดูจากภายนอกบริเวณท้อง เพื่อวัดขนาดของมดลูก ดูการเจริญเติบโตของทารก และตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นมาได้ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ความผิดปกติของไต หรืออาการของครรภ์เป็นพิษ ซึ่งหากเป็นอาการของครรภ์เป็นพิษ ในเบื้องต้นจะตรวจพบว่าความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจนผิดสังเกต มือเท้าบวมมาก และพบโปรตีนในปัสสาวะ เป็นต้น

 

เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ก็ต้องดูแลร่างกาย

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยควรนอนให้ได้ 8 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นอยู่ในกลุ่มอาหาร 5 หมู่ สำหรับหลักการทานอาหารในคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ควรแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ ออกเป็นวันละ 5-6 มื้อ การทานอาหารแบบนี้จะช่วยในเรื่องของอาหารไม่ย่อยด้วย

นอกจากนี้กลุ่มอาหารจำพวกโปรตีน อย่าง นม ไข่ เนื้อสัตว์ ถั่ว  และ อาหารกลุ่มผักผลไม้ จะช่วยเพิ่มวิตามินและเกลือแร่ให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี ต้องจำไว้เสมอว่าอาหารที่ทานเข้าไปในทุกมื้อนอกจากตัวคุณที่ได้รับประโยชน์ แล้ว ทารกในครรภ์ก็ได้ประโยชน์เช่นเดียวกันกับคุณด้วย ดังนั้นจะทานอะไรดูที่มีประโยชน์จริงๆ อย่าตามใจปากกับอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม แอลกอฮอล์ ผัก ผลไม้หมักดอง อาหารสุกๆ ดิบๆ เป็นต้น

 

เรียบเรียงโดย : นิตยสารบันทึกคุณแม่

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : www.pregnancysquare.com

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29