ภาษาไทย
English

เตรียมตัวพร้อมก่อนมีการตั้งครรภ์
 

การเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งกับภารกิจอุ้มท้องลูกตัวน้อย เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องที่คุณแม่หลายๆ ท่านรับมือ
ได้กันเป็นอย่างดี เพราะมีประสบการณ์มาแล้วจากการอุ้มท้องในครั้งที่ผ่านๆ มา ...แต่ก็มีว่าที่คุณแม่
มือใหม่อีก หลายๆ ท่าน ที่การอุ้มท้องครั้งนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต และแน่นอนว่าย่อมมีเรื่องให้คิดให้
กังวล มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของร่างกาย, การดูแลครรภ์, อาหารที่
รับประทาน ฯลฯ ซึ่งการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการตั้งครรภ์นั้น ถือเป็นเรื่องดี กับตัวคุณผู้หญิง
ทั้งหลายอย่างมากค่ะ เมื่อว่าที่คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจแล้วว่าจะมีลูก สิ่งแรกที่ควรทำคือไปพบ
คุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อเตรียมร่างกายก่อนการตั้งครรภ์
ซึ่งข้อดีของการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ คือ ลดความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยที่อาจจะ
เกิดขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์

ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์อะไรบ้าง



• การตรวจหมู่เลือด ABO (Blood Group)
• การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (C.B.C.)
• การตรวจหมู่เลือด RH (RH Group)
• การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBs Ag)
• การตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ บี (Anti HBs)
• การตรวจกามโรค (VDRL)
• การตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ (Anti HIV)
• การตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IG)

หลังจากตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์แล้ว คุณหมอก็จะให้คำแนะนำในการดูแลร่างกาย เพื่อให้พร้อม
สำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งหาก ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เช่น หัดเยอรมัน หรือ ไวรัสตับอักเสบ บี
คุณหมอก็จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ ซึ่งส่วนใหญ่ในวัคซีนเหล่านี้หากฉีดไปแล้วประมาณ 3 เดือน
ถึงจะสามารถมีการตั้งครรภ์ได้ (กรณีที่มีการฉีดวัคซีน คุณหมอจะเป็นผู้แนะนำในการตั้งครรภ์ให้อย่าง
ถูกวิธีอีกครั้งหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว)  
 
 

เสริมโฟเลทให้ร่างกายก่อนตั้งครรภ์


พัฒนาการระบบประสาท ของสมอง และไขสันหลังในทารก จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปฏิสนธิ โดยหลอดประสาท (Neural Tube) จะปิดอย่างสมบูรณ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3-4 หลังจากปฏิสนธิ
(วันที่ 21-28) หรือสัปดาห์ที่ 5-6 นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย การเริ่มรับประทานกรดโฟลิก
หรือโฟเลท จะให้ได้ประโยชน์ และผลดีต่อทารกในครรภ์ ในการป้องกันโรคคุณแม่จะต้องเริ่มรับประทานก่อน
การตั้งครรภ์ ประมาณ 1-3 เดือนเป็นอย่างน้อย และทานต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอในช่วงตั้งครรภ์
3 เดือน (ไตรมาสแรก)  
 
 

ยาบำรุงครรภ์ต้องทานตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด


        ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว มีความจำเป็นอย่างมากที่ร่างกายจะต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ รวมทั้งการได้รับจากยาวิตามินบำรุงครรภ์ที่คุณหมอจัดให้ เหตุผลที่ต้องทานยาวิตามิน คือ ปริมาณสารโฟลิก ธาตุเหล็ก รวมถึงแคลเซียม ที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับจากอาหารมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของ
ร่างกายที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นในขณะที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากส่วนหนึ่งต้องได้รับการส่งไปเลี้ยงเจ้าตัวน้อย
ในครรภ์ อีกส่วนเก็บไว้สำรองในร่างกายคุณแม่ แต่ถ้าปริมาณไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดผลต่อทั้งแม่และทารก
ในครรภ์ก็ได้ เช่น โฟลิกถ้าปริมาณไม่เพียงพอ  อาจส่งผลต่อความพิการของระบบประสาทไขสันหลัง
ทารกในครรภ์ได้ ธาตุเหล็กถ้าได้รับไม่เพียงพออาจทำให้เกิดการคลอดทารกน้ำหนักน้อย และแม่เกิดครรภ์เป็นพิษ
นอกจาก
นี้ยังส่งผลต่อระดับสติปัญญาของทารกในครรภ์อีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก นิตยสารบันทึกคุณแม่
Photo credit : www.encrypted-tbn2.gstatic.com, www.love.spokedark.tv/

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : www.anmum.co.th

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29