ภาษาไทย
English

ดางตาเป็นหน้าตาของหัวใจ..ว่าแต่ดวงตาเล็กๆ ของเจ้าตัวน้อยมองเห็นอะไรบ้างนะในวินาทีแรกที่เขาลืมตาออกมาดูโลก..?? อยากรู้ใช่ไหม ตาไปหาคำตอบกัน

 

คำกล่าวนี้คงไม่ผิดนัก.. เพราะตั้งแต่วินาทีแรกที่เจ้าตัวน้อยคลอดออกมาเป็นสมาชิกใหม่ของโลกใบนี้ ดวงตาของลูกก็ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือพัฒนาการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายจิตใจ และอารมณ์ ผ่านการมองเห็นสิ่งต่างๆ ทำให้เจ้าตัวน้อยค่อยๆ สะสมข้อมูลเกี่ยวกับโลกรอบๆ ตัวเขาทีละน้อย ทีละน้อยแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นประสบการณ์ที่หล่อหลอมกล่อมเกลาให้เจ้าตัวน้อยเติบโตขึ้นมาโดยสมบูรณ์

 

การมองเห็น... เริ่มพัฒนาเมื่อไร

 

อย่างไรก็ตาม.. แม้จะมีคำกล่าวว่าลืมตามาดูโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะมองเห็นในวินาทีแรกที่เขาถือกำเนิดซึ่งต่างจากพัฒนาการทางการได้ยิน ที่พัฒนาจนสมบูรณ์แล้วตั้งแต่เจ้าตัวน้อยอยู่ในครรภ์ สำหรับการมองเห็นนั้นต้องใช้เวลาถึง 6-8 เดือนกว่าที่หนูน้อยจะมีความสามารถในการมองเห็นได้เหมือนกับผู้ใหญ่อย่างเราๆ

 

แม้ว่า.. ลักษณะทางกายภาพของดวงตาเจ้าตัวน้อยจะพร้อมที่จะมองเห็นสิ่งต่างๆ เมื่อแรกเกิด แต่สมองก็ยังไม่พร้อมที่จะประมวลภาพที่เห็นให้เป็นข้อมูลที่เหมาะสมได้ต่อเมื่อสมองของลูกน้อยพัฒนาไปได้ระยะหนึ่ง ผนวกกับความสามารถในการมองเห็นที่ชัดเจนขึ้น หนูน้อยก็จะมีความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวมากขึ้น แต่ในช่วงแรกของชีวิต เจ้าตัวน้อยจะมองเห็นได้เพียงใบหน้าของคุณแม่ที่อุ้มเขาไว้ในอ้อมกอดเท่านั้น

 

 

การมองเห็น... พัฒนาอย่างไร

 

ในช่วงแรก... สายตาของลูกจะไม่สามารถโฟกัสภาพได้ไกลเกินกว่า 8-12 นิ้ว หรือประมาณใบหน้าของผู้ที่อุ้มเจ้าตัวน้อยไว้แนบอก แสงรูปทรง และการเคลื่อนไหวใดๆ ที่ไกลไปกว่านี้ เกินความสามารถของดวงตาทารกแรกเกิดจะมองเห็นได้ ใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ดึงดูดสายตาของลูกน้อยได้มากที่สุดในช่วงเวลานี้ ฉะนั้นใช้เวลาใกล้ชิดกับลูกให้มากๆ นะคะหลังจากนั้น ดวงตาของลูกจะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นในแต่ละเดือนที่ผ่านไป มาดูกันดีกว่าค่ะว่าพัฒนาการการมองเห็นของลูกในแต่ละเดือนนั้น เป็นอย่างไรบ้าง

 

เดือนที่ 1 แรกเกิด.. เจ้าตัวน้อยยังไม่มีทักษะการกวาดสายตาทั้งสองข้างให้มองไปในทิศทางเดียวกัน คุณจึงอาจจะเห็นลูกหลับตาบ่อยครั้ง แต่หนึ่งเดือนหลังจากนี้ เจ้าตัวน้อยจะสามารถโฟกัสสายตาทั้งสองข้าง และมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ คุณพ่อคุณแม่อาจเขย่าของเล่นกรุ๊งกริ๋งผ่านหน้าเจ้าตัวน้อย เพื่อให้เขาได้มองตาม เป็นการบริหารสายตา หรือจะเล่นกับลูกด้วยการขยับใบหน้าของคุณเข้าไปใกล้ๆ เอียงศีรษะซ้ายทีขวาที โดยจ้องตากับลูกไว้ นอกจากจะช่วยสร้างความผูกพันแล้วเจ้าตัวน้อยยังได้ฝึกการมองเห็นอีกด้วย

 

เดือนที่ 2… สายตาของเจ้าตัวน้อยมีความสามารถมองเห็นสีตั้งแต่แรกเกิด แต่ยังไม่มีความสามารถในการแยกสีที่ใกล้เคียงกัน เช่น สีส้มกับสีแดง นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทารกมักชื่นชอบสีที่ตัดกันอย่างชัดเจน เช่น ขาว และดำ ในช่วง 2-3 เดือนจากนี้สมองของลูกจะพัฒนาเรื่องการเรียนรู้ และแยกสี ซึ่งเป็นผลให้เจ้าตัวน้อยเริ่มแสดงอาการสนใจสีสันที่สดใส เช่น สีแดง สีเหลือง สีนํ้าเงิน ส่งเสริมพัฒนาการของลูกด้วยการให้หนูน้อยได้ดูรูป หรือของเล่นที่มีสีสดๆ พร้อมเรียกชื่อสีนั้นๆ ให้ลูกได้ยินเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาไปพร้อมกัน

 

เดือนที่ 4… เดือนนี้สายตาของลูกจะรับรู้ภาพที่เป็นมิติในเชิงลึกได้แล้ว แต่ยังเป็นการยากสำหรับเจ้าตัวน้อยที่จะกะระยะสิ่งของ ขนาด และรูปทรง ดังนั้นอย่าแปลกใจหากจะเห็นลูกทำท่าเอื้อมมือคว้ากรุ๊งกริ๊งที่ลอยอยูสู่งเกินเอื้อม เพราะสมองของเจ้า ตัวน้อยทำหน้าที่สั่งการให้ลูกเอื้อมมือออกไปคว้า อย่างไรก็ตาม คุณช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ด้วยการยื่นของเล่นให้ลูกหยิบจับ ไม่อย่างนั้น เจ้าตัวดีอาจคว้าตุ้มหู ที่คาดผม หรือใบหน้าของคุณแม่แทนก็เป็นได้

 

เดือนที่ 5… เจ้าตัวน้อยมีความสามารถมองสิ่งเล็กๆ และมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น และอาจเริ่มที่จะจดจำสิ่งของบางอย่างได้แม้จะมองเห็นเพียงบางส่วย เช่น ตุ๊กตาตัวโปรด ที่ถูกผ้าคลุมไว้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้ได้ว่า เจ้าตัวน้อยเริ่มเข้าใจคอนเซ็ปต์ของสิ่งต่างๆ ว่า ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง หนูน้อยวัย 5 เดือนเป็นต้นไป จะชื่นชอบการเล่นจ๊ะเอ๋ มากเป็นพิเศษ นอกจากนี้เจ้าตัวน้อยจะเริ่มแยกความแตกต่างระหว่างสีเข้มได้และเริ่มพัฒนาที่จะแยกแยะสีที่ใกล้เคียงกันมากขึ้นอย่างโทนสีพาสเทล

 

เดือนที่ 8… การมองเห็นของลูกในเดือนนี้ เริ่มจะใกล้เคียงการมองเห็นของผู้ใหญ่แล้ว แต่การสนใจของลูกอาจยังจับจ้องอยู่กับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากกว่า อย่างไรก็ตาม การมองเห็นของลูกก็ชัดเจนมากพอที่จะทำให้เจ้าตัวน้อยจดจำผู้คนหรือสิ่งของที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของห้องได้

 

 

เล่นกับลูก.... กระตุ้นการมองเห็น

พ่อแม่... มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยกระตุ้น ส่งเสริมพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยในทุกๆ ด้านค่ะ และในเรื่องการมองเห็นก็เช่นกัน มาดูกันดีกว่าว่า เราจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสายตาของเจ้าตัวน้อยได้ง่ายๆ อย่างไรบ้าง

 

ใกล้ชิด.. งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าทารกแรกเกิดชื่นชอบใบหน้าของมนุษย์มากกว่ารูปภาพหรือรูปทรงใดๆ ดังนั้นใช้โอกาสนี้คุ้มค่า ด้วยการอุ้มลูก และก้มหน้าลงไปคุยกับเจ้าตัวน้อยใกล้ๆ สบตากับลูกบ่อยๆ กระทั่งอายุครบ 1 เดือน สิ่งต่างๆ ผ่านหน้าของเจ้าตัวน้อยดูเหมือนว่าจะได้รับความสนใจไปเสียหมด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นของเล่นเสริมพัฒนาการ หรือของใช้ใกล้ตัวสีสดใส ก็ช่วยส่งเสริมการมองเห็นได้ไม่ต่างกัน

 

เคลื่อนไหว.. ขยับของเล่นกรุ๊งกริ๊ง หรือของเล่นสีสดๆ ไปมาซ้ายขวาผ่านใบหน้าของเจ้าตัวน้อย ให้ลูกได้มองตาม สำหรับหนูน้อยวัย 3 เดือนขึ้นไปลองขยับของเล่นขึ้นลง เพราะในวัยนี้เจ้าตัวน้อยสามารถมองตามในแนวดิ่งได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกต และจดสิ่งที่ลูกชอบมองเป็นพิเศษ เช่น พัดลมเพดาน ใบไม้ที่พลิ้วไหวเมื่อลมพัด หรือที่รัดผมสีสดของคุณแม่ เพื่อกระตุ้นให้หนูน้อยได้มองสิ่งที่เขาสนใจซึ่งจะทำให้ลูกอยู่กับสิ่งนั้นๆ ได้นานขึ้น

 

เล่นกับสี.. ในช่วงแรกของชีวิต สีที่ตัดกันอย่างเช่นขาวกับดำ จะทำให้เจ้าตัวเล็กสนใจได้มากกว่าสีอื่นๆ หลังจากนั้นของหาโมบายสีสดใส รูปภาพสีสวย หรือหนังสือที่มีสีสันแตกต่างกันมาให้ลูกดู ขณะที่ชี้ไปที่สีก็ออกเสียงเรียกสีนั้นๆ ไปด้วย ไม่เพียงส่งเสริมการมองเห็น แต่ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาด้วย

 

อย่างนี้... ไม่ดีแน่

ในการพบแพทย์แต่ละครั้ง.. คุณหมอจะตรวจสายตา และการมองเห็นของลูกด้วย แต่หากคุณสังเกตพบความผิดปกติ เหล่านี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

 

ลูกวัย 3-4 เดือน.. ไม่มองตามวัตถุที่เคลื่อนผ่านตรงหน้า

เจ้าตัวน้อย.. มีปัญหาในการกลอกสายตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

ดวงตาของลูก.. ไม่สามารถจับจ้องอยู่กับที่ได้

ตาดำของลูก.. เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อมองตรง

ตาดำของลูก.. เป็นสีขาว

สายตาของลูกไม่สู้แสง.. หรือตาแห้งหรือตาแฉะมากอยู่ตลอดเวลา

 

อย่างไรก็ตาม... หากลูกของคุณคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะคลอดก่อนกำหนดมากๆ และมีอาการติดเชื้อต้องให้ออกซิเจนหลังคลอด ก็มีความเสี่ยงมากที่ลูกจะมีปัญหาทางสายตาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียดเป็นระยะ

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : http://firstyear.pregnancysquare.com

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29