ภาษาไทย
English

โรคหัดเยอรมัน Rubella

                เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส Paramyxovirus ทำให้เกิดอาการคือมีไข้ ผื่น และต่อมน้ำเหลืองโต ส่วนใหญ่มักจะหายเองโดยที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน หากเกิดในหญิงมีครรภ์อาจจะทำให้เด็กที่เกิดมาพิการ การป้องกันมีการใช้วัคซีนฉีด


โรคหัดเยอรมัน Rubella


โรคหัดเยอรมันคืออะไร

                เป็นโรคติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ ไข้ ผื่นที่ผิวหนัง และต่อมน้ำเหลืองแถวคอโต ถ้าเป็นในเด็กอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นในหญิง มีครรภ์อ่อน จะทำให้เด็กที่เกิดมามีโอกาสพิการ

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส RNA จัดอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus

การติดต่อ ติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการหายใจเอาเสมหะ หรือน้ำลายของผู้ป่วยซึ่งจามหรือไอออกมา ระยะติดต่อ 1 อาทิตย์ก่อนและหลังออกผื่น


อาการ

       •ระยะฟักตัว หลังจากได้รับเชื้อ (หลังสัมผัสกับผู้ป่วย ) 14-24 วัน
       •ร้อยละ 25-50 อาจจะไม่มีอาการหรืออาการน้อย อาการนำในเด็กไม่ค่อยมีอาการอะไรก่อนออกผื่นโดยมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เยื่อบุตาอักเสบจะมีไข้ 1-5วัน น้ำมูกไหล ไอเล็กน้อย
       •ระยะออกผื่น โดยเริ่มที่หน้าผากแถบไรผม กระจายมายังรอบปาก และใบหู แล้วลามลงมาที่คอ ลำตัว แขนขา ขณะที่ผื่นกระจายมาลำตัว ใบหน้าจะไม่ค่อยมีผื่น ผื่นอาจจะมีอาการคันหรือไม่ก็ได้ ผื่นมีลักษณะสีชมพูอ่อน แบนราบ และมักอยู่แยกจากกัน ผื่นเป็น 3 วันจะเริ่มจาง มีต่อมน้ำเหลืองหูโต คลำได้เป็นก้อน บางรายอาจมีปวดข้อ ถ้าหากเป็นในคนท้องระยะ 3 เดือนแรก เด็กที่เกิดมาอาจมีพิการแต่กำเนิด เช่น ปัญญาอ่อน หัวใจผิดปกติ ตาผิดปกติ


การวินิจฉัยโรค เนื่องจากโรคนี้หากเด็กปรกติจะมีอาการไม่มากการวินิจฉัยทำได้จากอาการ และการตรวจร่างกายเท่านั้น หากคนตั้งครรภ์จะต้องเจาะเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย


การป้องกัน  ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน MMR(หัด หัดเยอรมัน คางทูม ) ยังไม่มีรายงานว่าได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์แล้วจะทำให้เกิดพิการแต่กำเนิด แต่แนะนำให้คุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีน


การรักษา โรคนี้หายได้เอง ให้วัดไข้วันละ 2 ครั้ง ควรพบแพทย์ถ้าไข้มากกว่า 38ํ  ห้ามใช้ aspirin ในการลดไข้เนื่องจากอาจจะทำให้เกิด Reye's syndrome


โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ อาจพบสมองอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ ถ้าเกิดกับหญิงมีครรภ์ อาจทำให้ทารกเกิดมาพิการ เช่น ตาพิการ ต้อกระจก ต้อหิน หัวใจพิการ หูหนวก สมองเสื่อม


ภาวะแทรกซ้อน

1. ข้ออักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นข้อเล็กๆ เช่นข้อนิ้ว

2. ภาวะแทรกซ้อนในระบบประสาทกลาง พบไม่บ่อย ที่พบคือสมองอักเสบ

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : siamhealth

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29