ภาษาไทย
English


มหัศจรรย์พัฒนาการลูกรัก

         หลังจากที่ทารกน้อยนอนอุ่นๆ อยู่ในท้องกลมๆ ของคุณแม่มาครบ 40 สัปดาห์ ก็ถึงเวลาที่ต้องออกมาเจอโลกกว้างใบใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมหลายร้อยเท่า... ตั้งแต่วินาทีแรกที่คลอดออกมา เจ้าตัวเล็กก็จะได้รับการดูแลโดยพยาบาล และกุมารแพทย์ประจำตัว ที่จะพาเจ้าหนูออกมาทำความสะอาดร่างกายวัดพัฒนาการ ทดสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย ก่อนที่จะพากลับไปหาคุณแม่ที่นอนพักฟื้น รอป้อนนมอาหารมื้อแรกของเจ้าตัวเล็กค่ะ


         ว่าแต่... ตั้งแต่วินาทีแรกที่เจ้าหนูร้องอุ๊ แว้... อุ๊ แว้ ส่งสัญญาณว่าหนูปลอดภัยดี คุณหมอเขาเริ่มตรวจพัฒนาการอะไรให้บ้างนะ...? มาดูกันทีละขั้นตอน ก่อนที่เจ้าตัวเล็กแรกเกิดจะได้กลับบ้านนั้น คุณหมอเขาต้องทำอะไรให้บ้างกันค่ะ


         หลังจาก ที่เจ้าตัวเล็กอยู่โรงพยาบาลมาได้สองสามวันทุกอย่างสบายดี ไม่มีอะไรแทรกซ้อนให้ต้องกังวลใจ ก็ถึงเวลาต้องโบกมือบ๊าย บาย คุณหมอ พยาบาลคนสวย เพื่อเตรียมตัวกลับบ้านกันได้แล้วค่ะ อ๊ะ อ๊ะ... แล้วอย่าลืมว่าหลังจากนี้ คุณพ่อคุณแม่จะต้องพาเจ้าตัวเล็กมาฉีดวัคซีคที่ได้มีแจ้งไว้ในสมุดประจำตัวของลูกด้วยนะคะ


ในห้องคลอด เมื่อเจ้าหนูอุ๊แว้... อุ๊แว้ ออกมาแล้ว


เช็ด... ดูดน้ำคร่ำออกจากปาก จมูก และผูกสายสะดือ

         จากนั้นก็ตรวจประเมิน... เบื้องต้นในนาทีที่ 1 และ 5 ที่คุณหมอเรียกว่า Apgar Score ซึ่งย่อมาจาก A = Activity เป็นการประเมินกำลังกล้ามเนื้อแขนขา P = Pulse อัตราการเต้นของหัวใจ G = Grimace (Reflex Irritability) ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้น A = Appearance สีผิว และ R = Respiration การหายใจ โดยพัฒนาการแต่ละด้านจะมีคะแนนเต็ม 2 รวมทั้ง 5 ด้าน เท่ากับคะแนนเต็ม 10 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็จะวัดสัดส่วนของทารก เริ่มจากเส้นรอบศีรษะ เส้นรอบอก ความยาวตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า หลังจากการตรวจวัดความสมบูรณ์ของร่างกายเบื้องต้นเสร็จลงแล้ว เจ้าหน้าที่ก็พาเจ้าตัวเล็กไปที่ห้องทารกแรกคลอด ...แล้วทำอะไรต่อหลังจากเจ้าหนูนอนหน้าอิ่มอยู่ที่ห้องทารกแรกคลอดมาดูกันต่อค่ะ...


ทารกน้อย จะไปนอนอยู่ใต้เครื่องให้ความอบอุ่น

         พยาบาลก็จะชั่งน้ำหนัก... ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย, การหายใจ, วัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว ทำความสะอาดโดยใช้น้ำมันเช็ด ไขที่ติดมากับผิวของเจ้าตัวเล็กให้สะอาด เช็ดตา และหยอดยาฆ่าเชื้อที่ตาทั้ง 2 ข้าง ทำความสะอาดสายสะดือ ฉีดวิตามินเค แล้วคุณหมอก็จะตรวจร่างกายเจ้าตัวเล็กอย่างละเอียดอีกครั้ง จากนั้นพยาบาลก็จะห่อผ้าให้ความอบอุ่นแล้วปล่อยให้เจ้าตัวเล็กนอนพัก รอประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวเล็กสบายดีทุกอย่าง จากนั้นคุณพยาบาลก็จะพาเจ้าหนูไปหม่ำๆ อาหารมื้อแรกจากอกอุ่นๆ ของคุณแม่ นั่นก็คือ “น้ำนมแม่” ค่ะ

Welcome Home

         เมื่อมาถึงบ้าน... เจ้าตัวเล็กก็ถูกห้อมล้อมไปด้วยเครือญาติที่มาดูความน่ารักน่าชัง และหลังจาก 1 สัปดาห์ผ่านไป เจ้าตัวเล็กก็จะมีพัฒนาการที่เจริญเติบโตขึ้นทั้งด้านร่างกาย สติ ปัญญา การเรียนรู้ ที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องเฝ้าติดตามดูพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กกันแบบใกล้ชิด เพราะเพียงแค่ 1 เดือนแรก เจ้าตัวเล็กก็โตขึ้น หนักขึ้นจนคุณพ่อคุณแม่ต้องร้องโอ้โหกันเลยละค่ะ มาดูกันว่าเจ้าหนูมีความเปลี่ยนแปลงอะไรกันบ้าง


น้ำหนัก ในสัปดาห์แรกหลังคลอด

         ลูกอาจมีน้ำหนักลดลงได้ ไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักแรกเกิด เพราะมีการถ่ายขี้เทา และปัสสาวะออกมา ต่อมาในช่วง 3-6 เดือนแรก น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 20-30 กรัม น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกคลอด เมื่ออายุ 4-5 เดือน เพิ่มเป็น 3 เท่า เมื่ออายุ 1 ปี และเมื่ออายุ 2 ปี จะเพิ่มเป็น 4 เท่า ส่วนสูง เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะวัดความยาวในท่านอน โดยที่อายุแรกเกิด-6 เดือน เด็กผู้ชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 17 เซนติเมตร เด็กผู้หญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 16 เซนติเมตร ต่อจากนั้นเมื่ออายุ 6-12 เดือน ควรสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 8 เซนติเมตร (ทั้งเด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิง) ความยาวแรกคลอดปกติประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อลูกอายุ 1 ปี ลูกควรมีความสูง 1.5 เท่าของความยาวแรกเกิด หรือเท่ากับ 75 เซนติเมตร และสูงเป็น 2 เท่าของความยาวแรกเกิด หรือเท่ากับ 100 เซนติเมตร (เมื่ออายุ 4 ปี) เส้นรอบศีรษะ การตรวจศีรษะจะต้องคลำรอยต่อของกะโหลก และขนาดของกระหม่อม ซึ่งกระหม่อมหน้าจะมีขนาดค่อยๆ เล็กลง และปิดเมื่ออายุ 9-18 เดือน กระหม่อมหลังจะมีขนาดเล็กกว่า และปิดเมื่ออายุ 3-4 เดือน เส้นรอบศีรษะเมื่อแรกเกิดปกติโดยประมาณเท่ากับ 35 เซนติเมตร อายุ 4 เดือน เท่ากับ 40 เซนติเมตร และ เพิ่มเป็น 45 เซนติเมตร เมื่ออายุ 1 ปี เส้นรอบอก เป็นการวัดในท่านอนแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเส้นรอบศีรษะ ซึ่งจะเท่ากันเมื่ออายุ 6 เดือน หลังจากนั้นเส้นรอบอกจะมากกว่าเส้นรอบศีรษะ



ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับ August 2013

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29