ภาษาไทย
English

kPxoEO.jpg [537x426px] ฝากรูป

เรียน หรือ เล่น อย่างสร้างสรรค์ ต้องแบ่งเวลาให้ลูกอย่างไรกัน



        อยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่งๆ สอบได้ที่ 1 หรือเล่นกีฬาได้เหรียญทอง ถ้าดีได้ก็เป็นแชมป์โลกไปเลย หรือจะเรียนเก่ง กีฬาเลิศ ก็ดีเหมือนกัน แล้วจะส่งลูกเรียนพิเศษเสริม หรือแบ่งเวลาให้พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างไร ทั้งหมดก็ไม่ใช่เพราะอะไร ไม่ว่าจะเรียนเก่ง หรือเล่นกีฬาดีหัวอกพ่อแม่ก็หวังเพียงการให้ลูกมีจุดเด่น สามารถเอาไปเลี้ยงตัวเองได้อย่างดีในอนาคตแค่นั้น


        มองๆ เจ้าตัวเล็กของเรา วิ่งซนอยู่ หรือจะนั่งจ้องแต่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือก้มหน้าก้มตากับโทรศัพท์มือถือ แก้วตาดวงใจของเรานี้ เขาเป็นเด็กเรียน หรือเด็กกิจกรรมกันหนอ แล้วเราจะส่งเสริมเขาอย่างไรกันดี


        คุณหมอวิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นราชนครินทร์ มาบอกเคล็ดลับเบื้องต้นก่อนที่จะส่งเสริมเรียนเก่งหรือกิจกรรมเลิศว่า “ต้องดูจากนิสัยของเด็กเป็นอย่างแรก จากนั้นค่อยส่งเสริมจากพัฒนาการให้สมวัย” เพราะหากยัดเยียดมากไป วัยเขายังไม่ได้ อัดเรียน อัดเล่นไป สมอง และร่างกายเขาก็ไม่รับอยู่ดี


ดูลักษณะนิสัย ดูอย่างไร

        คุณหมอบอกว่า ถ้าลูกหลานชอบเรื่องเรียนหนังสือ ชอบแต่วิชาการ จนไม่ค่อยทำกิจกรรม ไม่วิ่งเล่น เล่นกีฬา ก็เน้นการส่งเสริมทักษะชีวิตให้กับเขา เพราะเขาคิดว่าเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมแล้วกลัวผิด กลัวถูกต่อว่า กลัวการปรับตัว


        ส่วนเด็กลั้ลลา ชอบวิ่งเล่นกีฬา ดนตรี วิ่งเล่น ทำกิจกรรมมากกว่าเรียนหนังสือ เด็กกลุ่มนี้จะมีนิสัยปรับตัวง่าย มีความสุขง่าย แต่ไม่ค่อยมีระเบียบมากนัก เข้าสังคมเก่ง มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นศิลปะสูง แต่เรื่องเรียนอาจเหมือนไม่เอาเลย ผู้ปกครองก็ควรส่งเสริมวิชาการมากกว่าการทำกิจกรรม


        “การจะแบ่งสัดส่วนเรียนเล่น จะเป็นเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมนั้น" ไม่มีกฎตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าเด็กไม่พิการหรือมีความผิดปกติทางพัฒนาการ ในช่วงอนุบาลจนถึงประถมศึกษาตอนต้น เด็กก็จะเริ่มมีความชัดเจนแล้วว่า เด็กจะเป็นกลุ่มเรียน หรือกลุ่มกิจกรรม ซึ่งแต่ละคนอาจมีความชัดเจนชอบวิชาการ หรือชอบกิจกรรมเร็วช้าต่างกัน บางคนตอนประถมต้นเรียนอาจไม่ได้เรื่อง แต่พอมาประถมปลายกับเรียนเก่ง ตั้งใจเรียนก็เป็นได้


        สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ การประเมินจากความสามารถของลูก ถ้าลูกไม่บกพร่องทางสติปัญญา ก็ไม่จำ เป็นต้องเรียนอะไรเพิ่มให้กดดันลูกมากเกินไป แต่ที่อยากให้ผู้ปกครองเน้นมากกว่า เกรด 4 จากการเรียนหรือเหรียญทองจากการแข่งขันต่างๆ คือ เขารู้สึกมีความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า”


อย่าลืมการ ชมเชย มากกว่า คำตำหนิ เพราะใครก็ไม่ชอบ

        อย่าลืมการชมเชย ด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งง่ายสุดคือ การพูดชมเชยในกรณีที่เขาทำ ได้ ไม่ใช่คอยแต่ตำหนิอย่าง “เล่นบาสก็แย่ เรียนก็ยังไม่ตั้งใจ ไม่เอาไหน ทำอะไรก็ไม่สำเร็จสักอย่าง” คำพูดเหล่านี้เป็นจุดที่ทำให้เด็กยิ่งไม่กล้าทำอะไรเลย เพราะกลัวถูกตำหนิ


        “ลูกเก่งจังเลย” การชมก็ไม่ใช่ชมเช่นนี้ เพราะการชมว่าเก่ง หากลูกเราไม่ได้เก่งละจะทำอย่างไร และอีกอย่างคือ ไม่ต้องการให้เน้นถึงผลลัพธ์ แต่อยากให้ชื่นชมความตั้งใจ ความพยายามรับผิดชอบต่อท้ายด้วย อย่างเช่น ลูกตั้งใจทำข้อสอบดีมากแล้ว แม่เห็นความพยายามในตัวลูก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นมันคืออะไร บอกแม่หน่อย เราจะได้มาช่วยแก้ไขกัน


        อยากให้ดูที่ขั้นตอน มากกว่าผลลัพธ์ที่ว่า เรียนได้เกรดอะไรได้เกรด 4 หรือ เอ หรือเปล่า หรือประสบความสำเร็จกับการเรียน หรือแข่งกีฬาชนะได้เหรียญทองมาหรือเปล่า แต่ดูว่าลูกหลานของเรา เต็มที่ ตั้งใจทำมันอย่างสุดความพยายามแล้ว ก็เพียงพอแล้ว ผลลัพธ์หลังจากนั้นจะเป็นอย่างไรก็ไม่เป็นไร ไม่ใช่สิ่งที่ต้องมาโฟกัส หรือให้ความสำคัญมากกว่าขั้นตอนที่เขาได้ผ่านการพยายาม


        สำคัญกว่าเรื่องการแบ่งเวลาด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะแบ่งเวลาเรียนเท่าไหร่ เวลาทำกิจกรรมเท่าไหร่ ก็ไม่สำคัญว่าเขาได้เรียนหรือทำ กิจกรรมอย่างเต็มที่ มีความสุข อิ่มเอมใจว่า เรียนภาษาไทยแล้วสนุกจังเลย ชอบการท่องกลอน หรือโยนลูกบาสเข้าห่วงได้ เป็นการหาข้อดีของชีวิตที่เขาภูมิใจเล็กๆ ในตัวเองนั่น ถือว่าเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากกว่าอีก


        แต่บางคนหาจุดเด่นไม่ได้ ไม่มีอะไรเก่งเฉพาะด้าน ไม่ประสบความสำเร็จด้านนั้นๆ ดังนั้นระหว่างการดำ เนินชีวิตสำคัญกว่าผลลัพธ์ปลายทาง หากเขามีความสุข ดำ รงชีพอยู่อย่างภูมิใจในตัวเองด้านที่ดี แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว


        จากประสบการณ์ตรง... ของคุณหมอที่ต้องให้คำ ปรึกษากับคุณพ่อแม่ที่มีลูกในวัยประถมศึกษา 2 ราย ที่อยากถ่ายทอดเป็นตัวอย่าง ในการให้พ่อแม่เข้าใจถึงการพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก


        เด็กที่เก่งระดับเทพ พ่อแม่เด็กเรียนเก่งก็ให้เรียนพิเศษ หาความสามารถพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมจากที่เรียนเทพๆ อยู่แล้ว ช่วงประถมเรียนเก่งมาก แต่สุดท้ายในช่วงมัธยมศึกษากลับเรียนไม่ได้เก่งมากเหมือนแต่ก่อน ที่สำคัญเขากลายเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง เพราะมัวแต่เอาการเรียนเป็นเรื่องแข่งขัน เป็นการแก่งแย่ง เอาชนะ ความมั่นใจของเด็กเทพกลายเป็นมาจากการเป็นที่ 1 รู้สึกว่าต้องลงทุนลงแรงมากกว่าคนอื่น เรียน และเรียนเสริมทำกิจกรรมหนักกว่าเพื่อน เมื่อกดดันมากแต่ไม่ถึงช่วงวัยที่จะได้รับการพัฒนาจึงทำให้เครียด


        ขณะที่เด็กธรรมดาอีกคน... ไม่โดนกดดันด้านการเรียน พ่อแม่ก็คอยช่วยเหลือแก้ไขปัญหากันไป ไม่กดดันว่าต้องสอบได้ที่ 1 พอถึงจุดหนึ่งเด็กก็จะ “พัฒนาเองตามวัย” ก็กลับมามีผลการเรียนที่ดีขึ้นในช่วงมัธยมศึกษา หรือเปรียบเทียบอย่าง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ถ้าเคี่ยวเข็ญให้เด็กเรียนโดยยังไม่ถึงช่วงวัย เด็กก็ไม่เข้าใจ


        “ดังนั้นคือ เรียนเพื่อให้รู้ เพื่อให้เอาตัวรอดได้ เพื่อความสุข ความเข้าใจ เพื่อหาตัวเองว่าชอบหรือเปล่า แต่ไม่ใช่เพื่อเรียนให้ได้ที่ 1”

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : pregnancysquare

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29