ภาษาไทย
English

 

ถามตอบ ปัญหาเรื่องนมแม่ โดย ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย


Q : ดิฉันเพิ่งเริ่มให้นมแม่ค่ะ ไม่ทราบว่าทำไมเวลาลูกดูดนมรู้สึกเจ็บหัวนมเป็นเพราะอะไร

A : สาเหตุที่พบบ่อยก็คือ ให้ลูกดูดนมไม่ลึกถึงลานหัวนม ลูกจึงดูดได้เฉพาะบริเวณหัวนม ซึ่งมีเนื้อเยื่อบางมากและเส้นประสาทที่ไวมาก แม่จึงรู้สึกเจ็บขณะให้ลูกดูด ถ้ายังคงให้ดูดเช่นนี้ต่อจะเกิดแผลได้ ซึ่งยิ่งทำให้เจ็บมากขึ้น คุณแม่ลองปรับโดยให้ลูกดูดนมให้ลึกพอและจัดท่าอุ้มให้ถนัด อาการเจ็บจะลดลงหรือหายไป ถ้าไม่ดีขึ้นควรปรึกษาคลินิกนมแม่ค่ะ


Q : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่และลดน้ำหนักในเวลาเดียวกันได้ไหมคะ

A : แน่นอนค่ะ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับคุณและลูก น้ำนมแม่จะดึงไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ในช่วงตั้งครรภ์มาใช้ เพราะฉะนั้นคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่บ่อยๆ จะสามารถลดน้ำหนักได้ง่าย ถ้าคุณแม่อยากลดน้ำหนัก ควร...

• ดื่มนมพร่องมันเนย น้ำหรือผลไม้ที่ไม่เติมน้ำตาล

• ลดปริมาณขนมเค้ก คุกกี้ พาย และขนมหวาน

• รับประทานผลไม้และผักสดเป็นของว่าง

• รับประทานเนื้อสัตว์ที่อบหรือย่างแทนการทอด


Q : บริเวณรอบๆ ลานหัวนมเป็นไตแข็งๆ เจ็บมากจะแก้ไขอย่างไรดีคะ

A : ลานนมแข็งเป็นเรื่องจำเป็นต้องแก้ไข เพราะลูกจำเป็นต้องอมให้ถึงลานนม คุณแม่จะสังเกตลานนมตัวเองว่าแข็งหรือไม่ โดยการดึงลานนมส่วนนั้นขึ้นมา ถ้ามีความยืดหยุ่นดีก็ปกติ แต่ถ้าดึงขึ้นมาแล้วตึงหรือ แข็งจะเป็นสาเหตุให้ลูกดูดนมได้ยาก ซึ่งคุณแม่สามารถใช้ปทุมแก้วเข้าช่วย จะทำให้ผิวบริเวณลานนมนุ่มลง อีกกรณีหนึ่งคือเต้านมคุณแม่คัดตึงมากส่งผลให้ลานนมแข็ง ถ้าให้ลูกดูดทันทีอาจทำให้ลูกงับไม่ถึงลานหัวนม คุณแม่ต้องบีบน้ำนมทิ้งออกเล็กน้อยเพื่อให้ลานหัวนมนิ่มลงนั่นเอง แต่ไม่ใช่เป็นการล้างท่อน้ำนมอย่างที่ใครหลายๆ คนเข้าใจผิดค่ะ


Q : เพื่อนที่เคยมีลูกมาก่อนเล่าว่า กว่าน้ำนมแม่จะมากต้องใช้เวลาถึง 2-3 วัน ในระยะนี้จะป้อนอะไร

A : ในระยะ 2-3 วันแรก หลังคลอดที่เข้าใจว่านำ้นมไม่มาอาจเป็นความเข้าใจที่ผิด ลองปฏิบัติตามข้อแนะนำข้างต้นดูก่อน อาจพบว่าน้ำนมมาแล้วแต่มาน้อยเพราะเป็นระยะหัวน้ำนม ถ้าน้ำนมมาแล้วก็ให้กินนมแม่ไม่จำเป็นต้องป้อนอาหารอื่น


Q : แม่กินยาต้องหยุดให้ลูกกินนมแม่หรือไม่

A : โดยทั่วไปยาที่แม่กินหรือฉีดจะออกมา ทางน้ำนมในปริมาณที่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของปริมาณยาที่แม่ได้รับจึงไม่ต้องกังวลใจ ดังนั้นไม่ควรหยุดให้ลูกกินนมแม่ แต่เพื่อให้มีผลต่อลูกน้อยที่สุด ขอแนะนำดังนี้

• ใช้ยาต่างๆ ในระยะเวลาสั้นเท่าที่จำเป็น ถ้าต้องใช้นานควรปรึกษาแพทย์

• ให้ลูกกินนมแม่ให้อิ่มแล้วจึงกินยา หรือเลือกกินยาในช่วงที่ลูกหลับยาว เมื่อถึงเวลาที่ลูกจะดูดนมมื้อต่อไป ก็จะเป็นช่วงที่ระดับยาลดลงมาก แล้ว



ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : แหล่งที่มา นิตยสาร First Year of Life

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29