ภาษาไทย
English

การตรวจวิเคราะห์อสุจิ


         การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากฝ่ายชายมักอาศัยการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen Analysis) เป็นหลัก แต่การจะตรวจหาสาเหตุที่สามารถรักษาหรือแก้ไขได้ ต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตลอดจนการตรวจทางห้องปฏิบัติอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสม

         การตรวจทางห้องปฏิบัติการมีการตรวจหลายชนิดสำหรับภาวะมีบุตรยากฝ่ายชาย แต่ไม่ใช่ทุกรายต้องตรวจเหมือนกันทั้งหมด การเลือกจะตรวจอะไรบ้างขึ้นอยู่กับประวัติและการตรวจร่างกายของผู้นั้น แต่การตรวจที่จำเป็นต้องทำทุกราย คือ Semen Analysis

 

Semen Analysis

         การเก็บน้ำอสุจิ ควรเก็บด้วยการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbation) ใส่ในภาชนะพลาสติกปราศจากเชื้อปากกว้างที่ห้องปฏิบัติการได้จัดเตรียมไว้ให้ โดยมีคำแนะนำในการเก็บน้ำอสุจิดังนี้

คำแนะนำในการเก็บน้ำอสุจิที่ถูกต้อง

  1. ควรงดการมีเพศสัมพันธ์รวมถึงการหลั่งอสุจิด้วยวิธีการใดๆ อย่างน้อย 2-3 วัน แต่ไม่ควรเกิน 7 วัน
  2. ล้างมือและอวัยวะเพศให้สะอาดด้วยสบู่ แล้วเช็ดให้แห้งก่อนการเก็บน้ำอสุจิ
  3. เก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีช่วยตัวเอง (Masturbation)
  4. ระหว่างการเก็บหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสภายในภาชนะเก็บน้ำเชื้อ
  5. ห้ามเก็บโดยใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากถุงยางอนามัยมีสารหล่อลื่น ซึ่งสามารถทำให้อสุจิตายได้
  6. กรณีฝ่ายชายไม่สามารถเก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีช่วยตัวเองได้ สามารถใช้วิธีร่วมเพศกับภรรยาแล้วหลั่งน้ำเชื้อใส่ภาชนะที่โรงพยาบาลได้จัดเตรียมไว้ให้
  7. เก็บเชื้อใส่ภาชนะที่สะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ซึ่งสามารถขอรับได้จาก ร.พ.เจตนิน แล้วรีบปิดฝาเพื่อนำส่งโรงพยาบาลภายใน 1 ชั่วโมง
  8. ห้ามนำน้ำเชื้ออสุจิใส่ตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งโดยเด็ดขาด

การตรวจ Semen Analysis

         การตรวจ Semen Analysis จะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ การตรวจด้วยตาเปล่า (Macroscopic Examination) และ การตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Examination) ดังนี้

การตรวจด้วยตาเปล่า (Macroscopic Examination)

     

         1. Volume : น้ำอสุจิส่วนใหญ่มาจาก Seminal vesicles (65%) ต่อมลูกหมาก (30%) และที่เหลือมาจากepididymis และ อัณฑะ (5%) ค่าปกติ มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 มิลลิลิตร

         2.  pH : น้ำอสุจิมีความเป็นเบสอ่อนๆ มีค่าปกติมากกว่าหรือเท่ากับ 7.2

         3. Viscosity : น้ำอสุจิที่ปกติ เมื่อหยดด้วยไปเปตต์จะยืดยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร การที่น้ำอสุจิมีความหนืดมาก จะมีผลต่อการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ

         4. Liquefactionการละลายตัวของน้ำอสุจิจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยเกิดจากปฏิกิริยาของเอนไซม์ protein kinase ที่หลั่งจาก seminal vesicles.

 

การตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Examination)


         1. Viabilityเป็นการทดสอบความมีชีวิตของอสุจิ โดยการหยดน้ำเชื้อผสมกับ 1 % eosin Y และ 10 % nigrosin ผลที่ได้จากการย้อม ถ้าอสุจิติดสีแดง แสดงว่าตายแล้ว ส่วนอสุจิที่ไม่ติดสี (สีขาว) แสดงว่ามีชีวิตค่าปกติมีเซลล์ที่มีชีวิต มากกว่าหรือเท่ากับ 58 เปอร์เซนต์


 

         2. MAR test : เป็นการทดสอบหา antibody ต่อตัวอสุจิ ซึ่งเป็นเพียง screening test โดยหยดน้ำอสุจิผสมกับ 

Sensitized human “O” cells และ antihuman-IgG antiserum ถ้าให้ผลบวกคือ พบอสุจิที่เคลื่อนที่โดยมีเม็ดเลือดแดงติดอยู่ มากกว่า 50 เปอร์เซนต์เราจึงนำไปทดสอบต่อด้วยวิธีที่จำเพาะกว่า เพื่อยืนยันผลอีกครั้งหนึ่


         3. WBC
 : เราสามารถพบเม็ดเลือดขาวได้ในน้ำอสุจิแต่ไม่ควรเกิน 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร ถ้ามีเม็ดเลือดขาวมากกว่า 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร เป็นการบ่งบอกว่าอาจมีการติดเชื้อ 

         4. RBCค่าปกติเม็ดเลือดแดง น้อยกว่า 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร เม็ดเลือดแดงที่สูงกว่าปกติ ก็แสดงถึงการติดเชื้อ หรือ การบาดเจ็บหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิได้

         5. Round cellคือ เซลล์ที่มีลักษณะกลม ได้แก่ เซลล์เยื่อบุผิว (Epithelial cells), เม็ดเลือดขาว (white blood cells) and เซลล์ต้นกำเนิดเซลล์อสุจิ (immature germ cells; spermatid, spermatocytes, spermatogonia)

 

การตรวจวิเคราะห์อสุจิด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องแม่นยำ (Computer Assisted Sperm Analysis)

         การตรวจนับปริมาณอสุจิ การเคลื่อนไหวและรูปร่างของอสุจิ ทางห้องปฏิบัติการจะทำการวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะที่เรียกว่า “Computer assisted sperm analysis หรือ CASA”

         6. Sperm concentration (Sperm count)การนับปริมาณอสุจิด้วยเครื่องCASA นี้จะหยดน้ำอสุจิลงใน Chamber ดังรูป แล้วนำเข้าเครื่องCASA เพื่อทำการตรวจวัด ปริมาณอสุจิในคนปกติ จะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 15 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร

 

         7. Motilityในการนับปริมาณอสุจิ เครื่องCASA จะทำการนับอสุจิที่เคลื่อนไหวไปพร้อมๆกัน โดยเครื่องสามารถแยกประเภทการเคลื่อนไหวของอสุจิได้ดังรูป

  • Motile sperm marked with green track
  • Progressive sperm marked with blue track
  • Slow sperm marked with purple track
  • Static sperm marked with red dot

สำหรับค่าปกติของการเคลื่อนไหวของอสุจิ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 40 เปอร์เซ็นต์

 

         8. Morphologyการตรวจรูปร่างของอสุจิจะทำการSmear น้ำอสุจิบนสไลด์แล้วนำไปย้อมด้วยสีที่เรียกว่า “Diff-quick stain” ซึ่งประกอบด้วย Methanol, Eosin และ Methylene Blue แล้วนำสไลด์ไปนับด้วยเครื่องCASA

 

         ผลที่ได้จากการตรวจวัด จะได้ค่าอสุจิที่มีรูปร่างปกติ 2 เกณฑ์คือ เกณฑ์ WHO และ Strict criteria ซึ่งมีค่าปกติดังนี้ เกณฑ์ WHO คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 4 เปอร์เซ็นต์ และ Strict criteria คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 14 เปอร์เซ็นต์
 

 

ค่าปกติสำหรับการตรวจ Semen Analysis
อ้างอิงค่ามาตรฐาน WHO ปี 2010, 5th edition

การแปลผลจากการทดสอบ Semen Analysis

ค่าปกติสำหรับการตรวจ Semen Analysis อ้างอิงค่ามาตรฐาน WHO ปี 2010, 5th edition 
เปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงมาตรฐาน WHO ปี 1999,4th มีดังนี้

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : jetanin

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29