ภาษาไทย
English

 

อุ้มลูกจนติดมือ


        อาการที่คุณแม่ส่วนใหญ่เรียกว่า “อุ้มติดมือ” เป็นอีกปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่มักพบเจอ โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ให้นม คุณแม่ก็อุ้มลูกจนหลับ (คุณแม่บางคนก็หลับไปด้วย) ทีนี้พอหลายๆ ครั้งเข้า ลูกน้อยก็เริ่มเกิดการเรียนรู้ว่าเค้าจะต้องหลับในอ้อมกอด หรืออยู่ใกล้ๆ แม่เท่านั้นจึงจะปลอดภัย

        ทีนี้พอให้นมเสร็จ ลูกมักจะร้องเมื่อคุณแม่วางลงที่นอน อุ้มให้นมไม่เท่าไหร่ พอพาดบ่าเรอแล้วจะวางลงเท่านั้นล่ะ แงงงงงงง……มาแต่ไกล คุณแม่ก็ต้องไปรีบอุ้มขึ้นมาอีก ไม่อย่างนั้นไม่ได้ทำอย่างอื่นแน่ ตอนกลางวันก็ไม่เท่าไหร่ แต่กลางดึกนี่สิ ทำงานมาก็แสนเหนื่อย พรุ่งนี้ก็ต้องตื่นแต่เช้าอีก นี่ต้องลุกไปกล่อมเจ้าตัวเล็กอีกแล้ว พอหยุดร้องได้สักพักจะวางลงก็ร้องอีก ทีนี้ก็เลยกลายเป็นหลับคาอกทั้งแม่ทั้งลูก ยิ่งถ้าเป็นคุณแม่ที่ไม่มีพี่เลี้ยงคงเหนื่อยแย่ บันทึกคุณแม่มีวิธีแก้ไขดีๆ จากคุณหมอวินัดดา ปิยะศิลป์ มาฝากกันค่ะ

        ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า อาการนี้ไม่ใช่อาการ “ติดมือ” ในเด็กเล็กการร้องนั้นสื่อถึงความ “หวั่นไหว” เนื่องจากลูกเคยชินที่มีคนโอบอุ้ม เมื่อเกิดอาการเช่นนี้หมายถึงว่าลูกต้องการการโอบกอด อุ้ม ปลอบโยน อันนี้เราสามารถอุ้มลูกได้ ในขณะเดียวกันเพื่อให้การอุ้มนั้นเป็นการแสดงพฤติกรรมอย่างมีเป้าหมาย ให้ลูกเข้าใจว่า การอุ้มนี้มีความสำคัญ มีหลักการง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

                 ยืดเวลาอีกสักนิด ก่อนหน้านี้เวลาคุณแม่ได้ยินเสียงร้องเมื่อไหร่ จากที่เคยอุ้มลูกทันทีไม่ให้ร้องนาน ก็ให้ช้าลงอีกสักนิด อาจจะใช้วิธีนับ 1-10 ดูก็ได้ค่ะ ตอบสนองให้ช้าลงลูกจะเกิดการเรียนรู้เรื่องการรอคอยไปด้วยค่ะ
                ลดเวลาอุ้มให้น้อยลง เช่น จากที่เคยอุ้มลูก 5 นาทีต่อครั้ง คุณแม่ต้องค่อยๆ ลดเวลาการอุ้มให้น้อยลง เหลือ 4 นาที 3 นาที แล้วช่วงเวลาแยกจากลูกก็สำคัญมาก ต้องค่อยๆ วางลูกลง อาจจะให้ลูกนอนอยู่บนเตียงให้คุณแม่นั่งใกล้ๆ ให้รู้ว่าคุณแม่ไม่หนีไปไหนนะ ยังอยู่ใกล้หนูเสมอ จากนั้นค่อยๆ ห่างออกไป เป็นขอบเตียงบ้าง สร้างระยะห่างแบบค่อยเป็นค่อยไป จนสุดท้ายก็จะสามารถวางลูกน้อยให้นอนบนเตียงเองได้โดยคุณแม่ต้องนั่งเฝ้าค่ะ
                พัฒนาการให้สมวัย เด็กนั้นจะคืบ คลาน ยืน เดิน โดยตามพัฒนาการอยู่แล้ว ต่อไปเมื่อลูกอายุได้สักขวบกว่าลูกก็อยากจะเรียนรู้โลกภายนอกและสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ มากขึ้น ในจุดนี้ลูกก็จะเริ่มที่จะห่างแม่มากขึ้น บทบาทของคุณแม่ในจุดนี้ก็คืออย่าไปขวางพัฒนาการตามวัยของเค้าที่จะได้เดิน วิ่ง สำรวจสิ่งต่างๆ ค่ะ แต่ต้องส่งเสริมพัฒนาการลูกให้มากที่สุดค่ะ
                ส่งเสริมให้ลูกช่วยตัวเอง คุณแม่ต้องเริ่มสอนให้ลูกหัดจับขวดนมเอง ให้คืบ คลาน ได้ด้วยตัวเอง ให้เค้ามีพัฒนาการสิ่งที่ทำได้เองอย่างเป็นระบบ เมื่อโตขึ้นเขาก็จะสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองด้วย สิ่งนี้ก็จะเป็นการส่งเสริมพื้นฐานของความมั่นใจในตนเอง เท่านี้ลูกก็จะเริ่มมั่นใจที่จะออกห่างจากคุณแม่ได้โดยที่เขาได้รับรู้ความสามารถของตนด้วยค่ะ
        นี่ล่ะค่ะ เคล็ดลับที่จะไม่ทำให้ลูกต้องร้องไห้บ่อยแล้วยังจะฝึกให้ลูกมีพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น สังคม และสติปัญญาได้อย่างสมวัยอีกด้วยค่ะ

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : mothersdigest

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29