ภาษาไทย
English

ฉุกเฉิน...สมุนไพรช่วยได้


        ขึ้นชื่อว่าเหตุฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุขึ้นเราจึงมักไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า ดังนั้นการแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ จำเป็นที่จะต้องนำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาเป็นเครื่องช่วยเหลือเพื่อให้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นทุเลาเบาบางลง ยิ่งในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยขึ้นกับเจ้าตัวเล็กด้วยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ยิ่งรอช้าไม่ได้ และหากได้รู้ว่าสิ่งของใกล้ตัวที่อยู่ในบ้านเราอย่างสมุนไพรไทยนั้นก็จะช่วยรักษาอาการป่วยของลูกได้ ก็น่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่อุ่นใจได้ในระดับหนึ่ง


น้ำร้อนลวก ต้องว่านหางจระเข้
        คุณพ่อคุณแม่อย่ารอช้ารีบหาว่านหางจระเข้ ตัดเอาใบสดๆ ปอกเอาเปือกแข็งๆ สีเขียวออก ขูดเมือกและล้างด้วยน้ำสะอาดจนยางเหลืองๆ ออกหมด แล้วนำวุ้นที่อยู่ภายในมาฝานบางๆ ปิดบริเวณแผล ใช้ผ้าพันแผลปิดเอาไว้ พอรู้สึกว่าว่านหางจระเข้เริ่มแห้งให้เปลี่ยนชิ้นใหม่ และทำความสะอาดแผลทุกวัน กรณีที่แผลสกปรกหรือมีเลือดออก ควรทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด และห้ามเลือดก่อน หากไม่ดีขึ้นควรพาลูกไปพบแพทย์


หัวโน ฟกช้ำ จดจำดินสอพอง
        เด็กๆ มักได้แผลฟกช้ำดำเขียวบ่อยๆ ไม่ที่ศีรษะ หน้าผาก ก็ที่หัวเข่า หากเจ้าตัวดีของคุณเกิดมีรอยแผลฟกช้ำขึ้นล่ะก็ คุณสามารถใช้น้ำมะนาวผสมดินสอพองพอกบริเวณที่ปูดบวมฟกช้ำ หลังจากนั้นใช้วิธีการประคบด้วยผ้าชุบน้ำร้อนวันละ 2-3 ครั้ง หากลูกมีอาการเซื่องซึมหลังได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ ควรรีบพาไปพบแพทย์

แมงกะพรุนไฟ พ่ายผักบุ้งทะเล
        หากลูกน้อยเผอิญไปสัมผัสกับเจ้าแมงกะพรุนไฟใจร้าย จนเกิดอาการแสบๆ ร้อนๆ ล่ะก็ ให้คุณพ่อคุณแม่รีบมองหาผักบุ้งทะเลที่มักจะขึ้นอยู่ริมชายหาด เด็ดเอาใบมาล้างให้สะอาด ก่อนจะขยี้ๆ ให้ได้น้ำจากใบแล้วนำมาทาบริเวณที่โดนแมงกะพรุน ก็จะช่วยบรรเทาอาการระหว่างที่พาเจ้าตัวเล็กไปหาหมอได้

เป็นไข้ ต้องใช้ขิง
        เมื่อลูกน้อยเกิดไม่สบายเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ลองใช้ขิงแก่ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบพอแตก แล้วตำให้ละเอียดใส่น้ำสะอาดแล้วคั้นให้ได้ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ก่อนผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันแล้วให้ลูกจิบ ก็จะช่วยทำให้หนูน้อยรู้สึกดีขึ้นได้ อีกวิธีหนึ่งคือนำขิงมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ต้มกับน้ำ 1 แก้วให้เดือด แล้วตักเนื้อขิงออกใส่น้ำตาลเล็กน้อยให้ลูกจิบ สำหรับสูตรที่ใส่น้ำผึ้งนั้นควรใช้กับลูกวัย 1 ปี ขึ้นไปค่ะ และหากลูกคอแห้งหรือกระหายน้ำมากขึ้น ควรหยุดใช้สูตรสมุนไพรนี้

ใบน้อยหน่า รักษาเหา
        สำหรับหนูน้อยวัยเรียน มีโอกาสที่จะติดเหาจากเพื่อนที่โรงเรียนค่อนข้างสูง เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกเป็นเหาเอาแต่เกาหัวแล้วล่ะก็ ลองใช้ใบน้อยหน่า 10 กำมือ หรือเมล็ดประมาณ 10 เมล็ด มาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมะพร้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะของลูก ใช้ผ้าคลุมทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาดก็จะช่วยรักษาเหาได้ แต่ต้องระวังอย่าให้เข้าตาด้วย

จมูกโล่ง ด้วยหอมแดง
        ปลายฝนต้นหนาวอย่างนี้ คงมีเจ้าตัวดีหลายคนกำลังเป็นหวัดแน่ๆ เพื่อให้ลูกน้อยหายใจได้คล่อง โล่งจมูกมากขึ้น ให้นำหอมแดงมาปอกเปลือกทุบให้บุบพอแตก ห่อผ้าขาวบางวางไว้หัวนอนของลูก กลิ่นของหอมแดงจะช่วยทำให้จมูกของหนูน้อยโล่งขึ้น หายใจได้โล่งสบายมากขึ้น

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : mothersdigest

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29