ภาษาไทย
English

เรื่องน่ารู้ ของการอยู่ไฟ

           คุณแม่หลังคลอดหลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องการอยู่ไฟหลังคลอดกันมาบ้างแล้ว ยิ่งโดยเฉพาะคุณแม่ที่อยู่ต่างจังหวัด คงจะเคยได้รับการอยู่ไฟหลังคลอดจากคนโบร่ำโบราณ ที่ถือยึดปฏิบัติกันว่าถ้าคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ ไม่เช่นนั้นพอคลอดลูกแล้วจะฟื้นตัวช้า อยู่ไฟแล้วจะช่วยขับน้ำคาวปลาที่คั่งค้างของคุณแม่ ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ช่วยในเรื่องการขับไขมันส่วนเกินทำให้สัดส่วนของคุณแม่กลับมาเข้าที่เข้าทางได้เร็วขึ้น

 

การอยู่ไฟ คืออะไร 

           การอยู่ไฟเป็นประเพณีไทยโบราณที่ยึดปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งคุณแม่หลังคลอดควรที่จะได้รับการอยู่ไฟทุกคน เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายของคุณแม่หลังคลอดที่เสื่อมสมรรถภาพ หรือร่างกายบกพร่องไปในช่วงที่ตั้งครรภ์ให้กลับคืนความแข็งแรงมาเหมือนเดิม ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานมากขึ้น รวมถึงการสูญเสียน้ำ เกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายไป ซึ่งการอยู่ไฟ และการทำตามขั้นตอนของการอยู่ไฟที่ถูกต้องนั้น ก็จะสามารถช่วยและค่อยๆ ทดแทนสิ่งที่คุณแม่หลังคลอดสูญเสียไปนั้น ค่อยๆ กลับมามีสมดุลทางร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม  

 

ประโยชน์ของการอยู่ไฟ 

           ช่วยให้คุณแม่หลังคลอดได้พักผ่อนเต็มที่ และร่างกายได้รับความอบอุ่น ทำให้น้ำคาวปลาถูกขับออกมา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ความร้อนจากการอยู่ไฟจะช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ช่วยให้คุณแม่หลังคลอดมีสุขภาพแข็งแรง และยังช่วยให้แผลฝีเย็บแห้ง และหายเร็วยิ่งขึ้น ฯลฯ

 

อยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอด ปฏิบัติกันตามนี้  

           • การทับหม้อเกลือ เป็นวิธีการนวดอย่างหนึ่งของคนสมัยโบราณ เป็นขั้นตอนที่นำเอาหม้อเกลือซึ่งจะบรรจุเกลือไว้ภายใน เผาไฟจนร้อน หลังจากนั้นจะห่อด้วยใบพลับพลึง และผ้าขาวประคบบนหน้าท้องของคุณแม่หลังคลอด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา กระตุ้นระบบการไหลเวียนของโลหิต ลดไขมันหน้าท้อง ซึ่งการทับหม้อเกลือนี้มีข้อควรระวังคือ ต้องระวังไม่ให้หมอเกลือร้อนเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ได้ และห้ามทำขณะที่คุณแม่มีไข้ หรือหลังผ่าตัดใหม่ๆ

 

           • การเข้ากระโจม เป็นการอบตัว ซึ่งการอบตัวนั้นจะมี 2 แบบ คือ อบแบบเปียก และอบแบบแห้ง การอบแห้งก็เช่นเดียวกับการอบซาวน่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ร่างกายได้ขับของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน การเข้ากระโจมคือการอบแบบเปียก คือใช้ไอน้ำที่ได้จากสมุนไพรในการอบ ซึ่งการอบสมุนไพรนั้นจะมีข้อดีมากๆ  เพราะตัวยาสมุนไพรที่ใช้ในการอบนั้นจะมีประโยชน์อย่างมากที่ร่างกายจะได้โดยตรง  

 

           • การเข้าขาตะเกียบ เป็นวิธีการนวดท่าหนึ่งของคนโบราณที่เป็นเฉพาะส่วน ตั้งแต่สะโพกลงไปบริเวณขา โดยพยายามที่จะให้หนีบขาให้ชิดกันที่สุด(เหมือนตะเกียบ) ซึ่งจะช่วยยกก้นที่อาจจะเกิดการหย่อนคล้อยในช่วงเวลาที่อุ้มท้องให้กระชับขึ้น และสิ่งที่ได้มาอีกหนึ่งอย่างคือ เป็นการลดไขมันส่วนเกินที่เหลืออยู่บริเวณต้นขานั้นให้เกิดการสลายจากการนวดนี้

 

           • การนั่งถ่าน เป็นการนั่งลงบนโต๊ะที่เราทำขึ้นเองเป็นพิเศษสำหรับคุณแม่หลังคลอด เพื่อที่ให้ช่องคลอดและบริเวณก้นลอดได้ และใต้เก้าอี้จะมีเต้าร้อนวางอยู่ จะมีการนำสมุนไพรในกลุ่มที่ช่วยสมานแผลฝีเย็บและรักษาอาการริดสีดวงทวารได้ดี

 

ข้อควรรู้เรื่องการอยู่ไฟ 

           • ไม่ควรอยู่ไฟไม่ว่าวิธีใด ขณะที่คุณแม่มีอาการไข้ ตัวร้อน ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลียมาก เพราะการอยู่ไฟคือการใช้ความร้อนให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย จึงอาจเป็นอันตรายได้ หากทำในช่วงที่ร่างกายมีความร้อนในตัวสูง

 

           • ถ้าคุณแม่ที่ผ่าท้องคลอดต้องให้ครบ 1 เดือนก่อน ถึงจะสามารถประคบสมุนไพร นาบหม้อเกลือ และอบสมุนไพรได้

 

           • การนั่งถ่านอาจไม่จำเป็นสำหรับคุณแม่ที่ผ่าท้องคลอด เพราะการนั่งถ่านจะช่วยในเรื่องการสมานแผลฝีเย็บ ช่องคลอดที่ฉีกขาดขณะคลอดลูก คุณแม่อาจเลือกวิธีอื่น เช่น ประคบ หรืออบสมุนไพรแทนได้

 

           • ควรให้ข้อมูลสุขภาพของตัวเองขณะนั้นและข้อมูลการคลอดกับผู้ที่จะทำการอยู่ไฟให้ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการอยู่ไฟ และการดูแลหลังคลอดที่เหมาะกับร่างกายของคุณแม่ 

 

           • ถ้าจะซื้ออุปกรณ์เพื่อมาอยู่ไฟเองที่บ้าน จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำวิธีการทำอย่างละเอียด ถูกวิธี จากผู้ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญในเรื่องการอยู่ไฟ เพราะแม้การอยู่ไฟจะไม่เป็นอันตรายอะไร แต่ก็จะมีข้อควรระวัง ข้อห้ามและบางขั้นตอนก็ต้องการความชำนาญเฉพาะ จึงต้องศึกษาให้ดีก่อนนำกลับมาทำเอง  

 

รายละเอียด ข้อห้าม

           1. เมื่อคลอดลูก ห้ามสระผมเป็นเวลา 45 วัน หากสุดจะทนให้ทนเท่าที่ทนได้ค่ะ (สาเหตุมาจากแม่ๆที่คลอดลูกจะเสียเลือดมาก เวลาเราสระผมเลือดจะขึ้นหน้า บางคนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ) ควรหลีกเลี่ยงการสระผมเท่าที่จะทนให้ ให้ดี 45 วันจะเป็นผลดีกะตัวเองในอนาคตข้างหน้า หากทนไม่ได้ให้สระกับน้ำอุ่นที่ร้อนพอสมควร


           2. อาบน้ำกับน้ำอุ่นห้ามอาบน้ำเย็นเป็นเวลา 45 วัน


           3. ห้ามใช้สายตา ไม่ว่าอ่านหนังสือ เล่นคอม หรือทำอะไรเกี่ยวกะสายตาเป็นเวลา 45 วัน


           4. ห้ามโดนฝน อันนี้สำคัญมาก เนื่องจากเวลาเราแก่ตัวหากเจอน้ำฝนจะทำให้เราหนาวเข้ากระดูก


           5. ห้ามขับรถเป็นเวลา 45 วันเพราะอันนี้ทำให้เราหน้ามืดได้

 

           6. ห้ามนั่งยองๆ สำหรับคนที่ผ่าหรือคลอดใหม่ๆ จะทำให้มดลูกไม่เข้าอู่เร็วจ้า


           7. ห้ามกินของที่ทำให้แผลเราไม่หาย อาทิของดอง ไก่ เป็นต้น


           8. ห้ามทานน้ำเย็น สาเหตุเนื่องจากว่า ทำให้ไขมันอิ่มตัวไม่สลาย น้ำนมไม่ค่อยออก เป็นต้น


           9. ห้ามหวีผมให้เกิน 45 วันถึงหวีได้ เนื่องจากทำให้เลือดขึ้นหน้า

 
           10. ห้ามกินพวกของเย็นต่างๆๆ เนื่องจากทำให้มดลูกไม่เข้าอู่หรือเข้าอู่ช้า ไม่สามารถที่จะขับน้ำคาวปลาออกได้หมดด้วยจ้า ให้นึกถึงตอนประจำเดือนมาจ้าหากเรากินน้ำเย็นมันจะแข็งเป็นก้อน อาทิ น้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำเต้าหู้ เป็นต้น

 

 

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : mothersdigest/kapook

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29