ภาษาไทย
English

เลี้ยงลูกรักให้มีพัฒนาการสมวัย

       คุณหมอแนะนำ 8 ข้อ เพื่อช่วยให้เพิ่มความมั่นใจของคุณพ่อคุณแม่ ที่จะเลี้ยงลูกให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการที่ดี สมกับความรักความเอาใจใส่ที่คุณมีให้ต่อสมาชิกตัวน้อยในครอบครัว

ข้อแรก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย

       การสร้างสภาพแวดล้อมของเด็ก "มั่นคงปลอดภัย" "ตอบสมองลูกได้อย่างเหมาะสม" "คาดการณ์ได้" "มั่นคงปลอดภัย" คือ การนำสิ่งที่อาจเป็นอันตรายกับลูกได้ ออกไปจากสิ่งแวดล้อมของลูก "ตอบสนองลูกได้อย่างเหมาะสม" คือ ตอบสนองความต้องการของลูกในเวลาที่งอแง เช่น พูดคุย โอบกอด เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือให้นม "คาดการณ์ได้" คือ ดำเนินกิจวัตรประจำวันของลูกให้มีกำหนดเวลาที่แน่นอน (แต่อาจยืดหยุ่นได้บ้าง) เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่า ขณะนี้เขาจะคาดหวังอะไรได้จากโลกรอบๆ ตัวเขา

ข้อที่สอง สร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่ลูก

       สมองจะเติบโตได้ดี ถ้ามีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิม

ข้อที่สาม ดูแลโภชนาการ

       นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุด สำหรับพัฒนาการของสมองลูก แต่ต้องไม่ลืมสร้างพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม

ข้อที่สี่ พูดคุยกับลูก

       เมื่อลูกยังเป็นทารก คุณควรสบตาลูก ยิ้ม เห่กล่อมด้วยเสียงที่เป็นจังหวะอ่านหนังสือ ให้ลูกฟัง ร้องเพลง แต่เมื่อลูกโตขึ้น คุณควรพูดคุยกับเขา อธิบายเมื่อเขาถาม ตั้งคำถามด้วยคำถามที่สมวัยให้ลูกตอบ

ข้อที่ห้า จำกัดเวลาในการดูโทรทัศน์ อย่าใช้โทรทัศน์ช่วยเลี้ยงลูก

       เพราะลูกต้องการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ไม่ใช่โทรทัศน์

ข้อที่หก ส่งเสริมพัฒนาการของลูกอย่างสมดุลรอบด้าน

       อย่ามุ่งเน้นเพียงพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่ง แต่ควรคำนึงว่า พัฒนาการเด็กต้องพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคม คุณธรรม และจิตวิญญาณ จึงไม่ควรส่งเสริมลูกเพียงการอ่านหรือการเขียน เท่านั้น

ข้อที่เจ็ด ตรวจคัดกรองพัฒนาการเป็นระยะๆ

       นอกเหนือจากการวัดการเจริญเติบโตของลูก ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักหรือส่วนสูง ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในพัฒนาการทางด้านร่างกายแล้ว การประเมินพัฒนาการเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากพ่อแม่จะได้ทราบว่า ลูกมีระดับพัฒนาการสมวัยหรือไม่ ถ้าลูกมีพัฒนาการสมวัย พ่อแม่จะได้รู้แนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการขั้นต่อไป จากการศึกษา พบว่า หากมีการตรวจคัดกรองพัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่ม และในกรณีที่มีความล่าช้า ให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่ม จะช่วยให้เด็กพัฒนาได้เต็มศักยภาพของตน และมีผลดีกว่าที่จะรอ จนเด็กแสดงปัญหาทั้งด้านพัฒนาการและพฤติกรรมออกมาแล้ว

ข้อที่แปด อย่าลืมดูแลตัวคุณเอง

       พ่อแม่ที่มีความเครียดมีแนวโน้มทึ่จะส่งต่อความเครียดไปยังลูก และส่งผลเสียต่อพัฒนาการของสมองลูกรัก ดังนั้น พ่อแม่จึงควรดูแลเอาใจใส่ตนเอง หาเวลาอยู่กับตัวเองบ้าง อ่านหนังสือ หรือหาโอกาสพูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็กมาก่อน เพื่อช่วยให้คลาดความกังวลต่อการเลี้ยงลูก

 

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : bangkokhealth

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29