ภาษาไทย
English

ฝึกทักษะแก้ข้อขัดแย้ง ป้องกันเด็กรังแกกัน

 


     สาเหตุส่วนใหญ่ที่เด็กรังแกกันมักเกิดจาก "ความขัดแย้ง" เช่น ต้องการเล่นของเล่นชิ้นเดียวกัน ควบคู่กับการขาดทักษะในการสื่อสาร หรือเด็กบางส่วนที่รังแกคนอื่นเพื่อเรียกร้องความสนใจ ขณะที่เด็กบางคนรังแกคนอื่นเพราะขาดความมั่นคงทางอารมณ์ เช่น เด็กที่ถูกผู้ใหญ่ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจหรือถูกตามใจมากเกินไป หรือเพิกเฉยไม่ตอบสนองทางอารมณ์

     เวลาที่เด็กขัดแย้งกัน พวกเขายังไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร และหวังว่าผู้ใหญ่จะเข้ามาดูแลช่วยเหลือและฝึกฝนเขาในเรื่องนี้

     แนวทางการฝึกทักษะขจัดความขัดแย้งให้เด็กนั้น ขอยกตัวอย่างกรณีแย่งของเล่นค่ะ

 - กติกาพื้นฐาน ไม่ควรกำหนดว่าใครต้องเสียสละให้ใคร เช่น "เป็นพี่ต้องยอมน้อง" เพราะจะสร้างความกดดันให้ฝ่ายที่ต้องยอมทุกครั้งและส่งผลกระทบระยะยาวได้ แต่ควรกำหนดว่า "ใครเล่นอยู่ก่อนได้เล่นต่อไป แต่ตอนนี้เพื่อนจะขอเล่น หนูจึงเล่นได้ในเวลาที่น้อยลงเพื่อแบ่งให้คนอื่นเล่นต่อ"

 - พูดคุยกับทั้งสองฝ่าย สั้นๆ กระชับ และชัดเจน กับเด็กที่เข้ามาขอเล่นต่อว่า "คุณครูรู้ว่าหนูอยากเล่นของชิ้นนั้น แต่ตอนนี้เพื่อนกำลังเล่นอยู่ หนูรอจนกว่าครูจะนับครบ (หรือตั้งนาฬิกา)" แล้วหันไปบอกเด็กที่กำลังเล่นอยู่ว่า "ตอนนี้หนูเล่นอยู่ครูให้เล่นต่อได้ แต่เพื่อนกำลังรออยู่ หนูคิดว่าจะเล่นต่ออีกจนครูนับถึง 10 หรือ 20 ดีล่ะ"

 - ทำตามที่ตกลงกันไว้ เช่น นับ 1-20 หรือตั้งเวลา เมื่อหมดเวลาให้บอกเด็กที่เล่นก่อนว่า "ตอนนี้หมดเวลาแล้ว ถึงตาเพื่อนเล่นบ้างแล้ว" หากเด็กยึกยักหรือไม่ยอมแบ่งให้เพื่อน ควรยืนกรานกับเขาว่า "ครูรู้จ้ะ ว่าหนูยังอยากเล่นอยู่ แต่ตอนนี้ถึงคิวเพื่อนแล้ว ถ้าหนูรอได้ เดี๋ยวเพื่อนก็จะแบ่งให้" แล้วดำเนินการซ้ำเหมือนเดิม

 - ตัวช่วย คุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่อาจจัดหาเครื่องตั้งเวลา (Timer) หรือใช้มือถือตั้งเวลาก็ได้ค่ะ รวมทั้งอาจมีรูปนาฬิกา รูปเด็กทุกคนในห้องไว้ใช้ในกรณีที่ของเล่นชิ้นนั้นเป็นที่ต้องการของเด็กทุกคน โดยตั้งเวลาแล้วติดรูปเด็กที่เป็นคิวต่อไปเอาไว้

 - การป้องกันก็สำคัญ ควรจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนไม่ให้แออัดเกินไป มีรูปภาพประกอบเช่น บริเวณทางเดินมีช่องแบ่งเลนหรือรอยเท้าเด็กติดไว้ จัดของเล่นให้มีเพียงพอสำหรับเด็กในห้อง จะช่วยลดการกระทบกระทั่งกัน หรือแย่งของเล่นกันจนนำไปสู่ปัญหาเด็กรังแกกันได้ค่ะ

 - กรณีที่เด็กบางคนรังแกเพื่อนซ้ำๆ หรือกระทำรุนแรง และเด็กมักถูกเพื่อนแกล้งบ่อยๆ ถือเป็นกรณ๊ที่คุณครูควรหาสาเหตุอื่นว่าเกิดจากปัญหาพัฒนาการ หรือการปรับตัวหรือมีปัญหาอื่นใดหรือไม่ โดยพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ และอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม เพื่อประเมินและรักษาค่ะ


คุณหมอแอบเล่า
 
     แนวทางฝึกเด็กให้มีทักษะในการแก้ข้อขัดแย้งตามที่แนะนำมา อาจทำได้ยากในช่วงแรก เพราะคนรอก็ไม่ยอมรอ และคนแบ่งก็ไม่ยอมแบ่ง หลายครั้งหมอก็ใช้สิทธิอำนาจของผู้ใหญ่ ด้วยการยืนหรือนั่งระหว่างเด็กทั้งคู่เพื่อไม่ให้ปะทะกัน และยืนกราน โดยบางครั้งจำเป็นต้องแงะของเล่นออกจากมือ ฝ่ายที่ไม่ยอมรับกติกา ซึ่งเมื่อทำด้วยท่าทีที่เอาจริง ทว่านุ่มนวลและสม่ำเสมอ หมอพบว่า ภายหลังเมื่อเด็กเข้าใจกติกาดังกล่าว เขาสามารถทำข้อตกลงกันได้โดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่ และลดการทำร้ายกัน (ไม่ว่าจะเป็นคู่พี่น้องหรือเพื่อนในโรงเรียน)
     สำหรับเด็กที่โตกว่านี้อาจปรับวิธีด้วยการให้เขาพูดคุยตกลงกันเองว่า "จะทำอย่างไรหากต้องการเล่นของเล่นชิ้นเดียวกัน"
ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : momchannel

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29