ภาษาไทย
English

tnHNw2.jpg [583x426px] ฝากรูป

Week 32 : สัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์

Week 32 : สัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์

Mom : คุณแม่จะรู้สึกได้ว่ามดลูกมีการขยายใหญ่ขึ้น ศีรษะของทารกอาจเคลื่อนลง ลำตัวใหญ่จนเท้าชี้ขึ้นไปกดซี่โครงทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บ ฉะนั้นการนั่งลำตัวตรง จะช่วยลดแรงกดที่ซี่โครงได้

Baby : ทารกมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 42 เซนติเมตร และหนักประมาณ 1.6 กิโลกรัม การรับรู้เสียงของทารก ทารกจะคุ้นเคยกับเสียงภายในร่างกายของคุณแม่ ได้แก่ เสียงหัวใจเต้น เสียงจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ และกระแสเลือดที่ถูกสูบฉีดเข้าไปยังสายสะดือ นอกจากนี้ทารกยังรับรู้เสียงของคุณแม่ และเกิดความคุ้นเคยจนสามารถจำได้ เมื่อคลอดออกมา

 

ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์

         ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจมีการคลอดเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ แต่ก็ไม่ถึงกับมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากนัก ยังไงก็ต้องรอดูสัญญาณที่แน่นอนจากคุณหมอ ทารกในครรภ์กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง หลังจากสัปดาห์ไปคุณแม่เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมร่างกายให้พร้อม เพราะว่าใกล้เข้าสู่เวลาของการคลอดแล้ว

 

         สัปดาห์นี้เจ้าตัวเล็กจะเตะ ถีบ บริหารร่างกายในท้องคุณแม่กันยกใหญ่ เพราะว่ากระดูของเจ้าหนูจะแข็งแรงมากขึ้น ส่วนกระโหลกศีรษะจะยังคงนิ่มและยืดหยุ่น  เล็บก็จะเริ่มยาวมาเกินปลายเล็บแล้ว ช่วงนี้ถ้ารู้สึกว่าเจ้าตัวเล็กเคลื่อนไหวอย่างกระตุกๆ ก็อย่าเพิ่งตกใจนะคะ นั่นแสดงว่าเค้ากำลังสะอึกจากการฝึกหายใจค่ะ ซึ่งอาการนี้จะหายไปเองได้ ไม่ต้องกังวลค่ะ

 

Tip for Mom

         ช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่ต้องอดทนมากๆ กับการเจ็บปวดที่กระดูกเชิงกรานและชายโครง ท้องคุณแม่อาจจะดูบวมๆ สักหน่อย เพราะเจ้าตัวเล็กที่เริ่มโตเอาๆ จะใช้ที่ว่างทุกซอกทุกมุมในท้องของคุณแม่เพื่อขยับขยายร่างกาย บวกกับการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างจะอิสระของเจ้าตัวเล็กในครรภ์ระยะนี้ บอกได้คำเดียวว่าต้อง “อดทน” มากๆ  ค่ะ วิธีการบรรเทาง่ายๆ  คือการทำกายบริหารโดยการยกแขนข้างหนึ่งชูขึ้นเหนือศีรษะช้าๆ พร้อมกับสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆ ลดแขนลง พร้อมกับผ่อนลมหายใจออก สลับแขน แล้วหายใจแบบเดียวกัน ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง อาการจะค่อยๆ ลดลงค่ะ

 

มดลูกขยายเป็น 500 เท่า

         ในสัปดาห์นี้ ศีรษะทารกอาจเคลื่อนลง และมีลำตัวใหญ่จนเท้าชี้ขึ้นไปถึงซี่โครง และยังเป็นแรงกดจนทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บชายโครง ฉะนั้น การนั่งลำตัวตรง จะช่วยลดแรงกดที่ซี่โครงได้ นอกจากนี้ มดลูกจะเบียดเข้าไปในอวัยวะภายใน และมีการคั่งค้างของของเหลว ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดขอดและข้อศอกและนิ้วบวม ฉะนั้น คุณแม่ควรถอดแหวนและไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่คับแน่น

 

แสดงท่าทางและสีหน้า

         ลูกน้อยของคุณแม่ถึงแม้ว่าตอนนี้น้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวอยู่ในครรภ์นะคะ เพราะลูกจะชอบหมุนกลับตัวไปได้รอบด้าน บางทีลูกก็จะอยู่ในท่าที่เหมือนจะเตรียมซ้อมว่าหนูจะออกมาแล้วนะ ถ้าคุณแม่ได้ทำอัลตราซาวนด์ในช่วงสัปดาห์นี้ บางทีอาจจะเห็นว่าลูกกำลังดูดนิ้วหัวแม่มืออยู่ หรือไม่ก็ยิ้ม หรือกระทั่งการกลืนน้ำคร่ำ แหมน่าตื่นเต้นจริงๆ ที่เห็นว่าลูกมีความสุขขนาดนี้ ถ้าสังเกตดูดีๆ จะเห็นได้ว่าขนาดลำตัวลูกจะอยู่ที่ประมาณ 42 เซนติเมตรแล้วค่ะ
 

 

แหล่งที่มา นิตยสาร : Pregnancy Advisor & Diary

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : pregnancysquare

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29