ภาษาไทย
English

 

Week 1 : สัปดาห์ที่ 1 ของการตั้งครรภ์

 

Week 1 : สัปดาห์ที่ 1 ของการตั้งครรภ์

 


 

          ขนาดของทารกยังเหมือนวุ้นไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว 5-7 วัน จะฝังตัวที่ผนังมดลูก (Uterus) ไข่จะเจริญอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้เราจะเรียกตัวอ่อนว่าเอ็มบริโอ (Embryo) ซึ่งจะมีการสร้าง รก (Placenta) และสายสะดือ (Umbilical Cord) เพื่อเป็นทางนำอาหารจากคุณแม่ที่รับประทานเข้าไป แล้วนำไปให้ทารกในครรภ์ ทารกจะอยู่ในถุงน้ำคร่ำ(Amniotic Sac) ซึ่งช่วยปกป้องและกันแรงกระแทกจากภายนอก รวมถึงกันแรงกระแทกจากตัวทารกเองตัว

  

ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์

         สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเริ่มไปปรึกษาแพทย์ และมีการเตรียมตัวสำหรับการฝากครรภ์ หันมาใส่ใจกับการรับประทานอาหารให้มากขึ้น โดยเฉพาะอาหารหลัก 5 หมู่ พยายามรับประทานให้ครบ เน้น ผัก ผลไม้สด และนม

 

เตรียมสุขภาพให้พร้อม

         คุณควรงดบุหรี่ และแอลกฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีผู้สูบบุหรี่อยู่ใกล้ๆ การรับประทานยาใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงของการเตรียมตัวที่จะมีลูก ที่สำคัญถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็น หรือเป็นโรคร้ายแรงอะไร คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยง ที่อาจเกิดกับการตั้งครรภ์ได้ ถ้าจะให้ดีจูงมือกันกับสามีสุดที่รักไปตรวจพร้อมๆ กันเลยจะดีที่สุด นอกจากนี้คุณควรดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรง อย่างน้อย 2 - 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์

 

         หากคุณกำลังเตรียมที่จะมีโซ่ทองคล้องใจระหว่างคุณกับสามีอยู่ละก็ เรื่องที่ควรจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกก่อนการตั้งครรภ์ก็คือ เรื่องของการพากันไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจสุขภาพ กับฉีดวัคซีนที่ยังขาดอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของโรค หรืออาการที่จะเกิดแฝงตามมาได้ขณะที่ตั้งครรภ์ นอกจากเรื่องของการตรวจสุขภาพให้พร้อมสมบูรณ์แล้ว การดูแลเรื่องอาหารการกินก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เช่นกันคะ คุณแม่ควรที่จะสอบถามจากแพทย์ที่ดูแลคุณแม่อยู่ว่า ก่อนตั้งครรภ์รวมถึงตั้งครรภ์แล้ว จะต้องทานอาหารให้เป็นไปในลักษณะใด ถึงจะดีกับร่างกายที่สุด คำแนะนำจากแพทย์ถือเป็นข้อมูลที่จำเป็นและดีต่อตัวคุณแม่และรวมถึงทารกในครรภ์ เนื่องจากการทานอาหารของคุณแม่จะสัมพันธ์กันกับทารกอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งคลอดออกมา ฉะนั้นเรื่องของการเตรียมสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากๆ ค่ะ 

 

Week 2 : สัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์

Week 2 : สัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์

         เพศของทารกจะถูกกำหนดโดยโครโมโซม 2 ตัว จากจำนวนทั้งหมด 46 โครโมโซม ซึ่งโครโมโซม 2 ตัวนี้ จะมาจากไข่และสเปิร์ม สำหรับไข่ของคุณแม่นั้นจะมีแต่โครโมโซม X เท่านั้น ส่วนสเปิร์มของคุณพ่อจะประกอบไปด้วยทั้งชนิดโครโมโซม X และ Y หากสเปิร์มโครโมโซม X เข้าไปผสมในไข่ เพศของลูกน้อยก็จะเป็นเพศหญิง ถ้าสเปิร์มโครโมโซม Y เข้าไปผสมในไข่ ก็จะได้ลูกน้อยเป็นเพศชาย จากนั้นไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวไปฝังตัวอยู่ในมดลูก ขณะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่ เซลล์จะมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณ ออกเป็น 2 เซลล์ 4 เซลล์ จนกระทั่งเป็น 32 เซลล์ ซึ่งก็คือเซลล์เริ่มต้นของอวัยวะทั้ง 32 นั่นเอง

 

ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์

         ทราบกันหรือไม่ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเป็นตัวเร่งทำให้ไข่สุก และช่วงเวลาเดียวกันกับที่ไข่สุก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งขึ้นมาเรียกว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเมื่อถูกปล่อยเข้าไปในกระแสเลือด จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกก่อตัวหนาขึ้น เพื่อคอยเวลาการฝังตัวของตัวอ่อน ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นแหล่งอาหารแรกของทารกในครรภ์ ช่วงนี้อุณหภูมิในร่างกายของคุณจะร้อนขึ้น และคุณอาจจะรู้สึกหนาวสั่นได้ จึงจำเป็นอย่างมากที่ควรจะทำร่างกายให้มีความอบอุ่นอยู่เสมอ

 

ช่วงตกไข่

         ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเป็นตัวเร่งทำให้ไข่สุก และช่วงเวลาเดียวกับที่ไข่สุก ร่างกายของคุณจะผลิตฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเมื่อถูกปล่อยเข้าไปในกระแสเลือดแล้ว จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกก่อตัวหนาขึ้น เพื่อคอยท่ารอเวลาการฝังตัวของตัวอ่อน ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นแหล่งอาหารแรกของลูกน้อยของคุณ ช่วงเวลานี้อุณหภูมิในร่างกายของคุณจะร้อนขึ้น และคุณอาจรู้สึกหนาวสั่นได้ คุณควรดูแลร่างกายให้ได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ

 

 


Week 3 : สัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์

Week 3 : สัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์

         ในแต่ละวัน ตัวอ่อนจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก เซลล์เริ่มต้นจะพัฒนาขึ้นเป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์นับร้อยในเวลา 7 วัน จากนั้นเซลล์บางกลุ่มก็จะพัฒนาเป็นตัวอ่อน บางกลุ่มก็ก่อตัวขึ้นเป็นโครงสร้างสำหรับหล่อเลี้ยงตัวอ่อน ตัวอ่อนซึ่งมีลักษณะกลวงนี้ ยังประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีของเหลวหล่อเลี้ยงอยู่ ตัวอ่อนมักจะฝังตัวอยู่บริเวณยอดมดลูก ขั้นตอนเหล่านี้เกิดขึ้นระหว่าง 4-7 วัน เซลล์จากเยื่อหุ้มรอบตัวอ่อนจะสร้างรกฝังในเยื่อบุมดลูก ซึ่งจะเป็นทางลำเลียงอาหารและของเสียระหว่างกระแสเลือดและตัวอ่อน เซลล์ของเส้นทางลำเลียงนี้จะพัฒนาขึ้นเป็นรกในเวลาต่อมา ซึ่งทำหน้าที่เป็นทางลำเลียงอาหารให้ทารกและปกป้องทารกตลอดระยะที่อยู่ในครรภ์

  

ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์

         เริ่มการปฏิสนธิ ทันทีที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะขยายเซลล์ออกไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ดังนั้นคุณต้องเอาใจใส่กับคุณภาพทารกในครรภ์ ควรเริ่มจริงจังนับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป กินอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ของตัวอ่อนมีความแข็งแรงคุณควรได้รับกรดโฟลิก และวิตามินรวมให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์

 

ช่วงฝังตัว

         หลังปฏิสนธิ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว จะเดินทางไปฝังตัวในผนังมดลูก ในช่วงระหว่างนี้อาจทำให้มีเลือดออกมาทางช่องคลอดได้ในปริมาณเล็กน้อย บางทีอาจเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ก่อนที่คุณจะรู้ตัวว่ากำลังจะได้เริ่มเป็นแม่คนแล้วซะอีก เพราะฉะนั้นอย่าตกใจไป! อ้อ!! ยังไม่สายถ้าคุณจะเริ่มรับประทานกรดโฟลิกให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัม แต่ถ้าหากในกรณีที่มีเลือดออกมามากจนผิดปกติ จนทำให้ไม่สบายใจ ก็ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการเบื้องต้นได้คะ

 

สัปดาห์ถัดไป>>

แหล่งที่มา นิตยสาร :  Pregnancy Advisor & Diary

ขอขอบคุณภาพประกอบและบทความ : pregnancysquare

Week 1-3 : สัปดาห์ที่ 1-3 ของการตั้งครรภ์
เซลล์ไข่เริ่มกลายเป็นตัวอ่อนและเจ...
2013-04-05

10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน
10 คำชมที่ลูกควรได้ยิน (จากปากเรา)...
2013-06-10

การอาบน้ำเด็กทารกอย่างถูกวิธี
วันนี้เราเลยมีวิธีที่จะทำให้เด็กส...
2013-05-21

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และของเล่นที่เหมาะสม
พัฒนาการของลูกน้อยช่วงวัย 4-6ปี และข...
2013-07-02

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ...
2013-04-25

Week 5 : สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์
สัปดาห์นี้ ควรฝากครรภ์ได้แล้วนะ...
2013-03-29

9 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังอยากจะมาบุตรต้องทำอ...
2013-06-28

การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่ควรมองข้าม
การเลือกเพลงสำหรับเด็กๆ ไม่ใช่เรื่...
2013-04-05

น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง
น้ำอสุจิ..ของเหลวสีขาวขุ่นชวนพิศวง...
2013-04-29

Week 13 : สัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์
เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น, ...
2013-03-29